Tag: เด็กแรกเกิด

ลูกกิน ’นมแม่’ พร้อมด้วย ’อาหารตามวัย’
การเตรียมตัวเองและคนรอบข้างให้พร้อม รวมทั้งความตั้งใจที่เข้มแข็ง และเชื่อมั่นว่าร่างกายคุณแม่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นาน 6 เดือน & กินนมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ หรือ นานกว่านั้น จัดการชีวิตตนเอง & ครอบครัว 1. ปรึกษาและสร้างความเข้าใจกับสามี ญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงานให้เข้าใจ และขอแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง 2. ณ จุดนี้ คุณพ่อจะเป็นกำลังสำคัญ ทั้งแรงกาย และกำลังใจ ยืนหยัดเคียงคู่คุณแม่ตลอดระยะก่อนและหลังคลอด ชักชวนคุณพ่อให้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมกับคุณแม่ เพื่อให้คุณพ่อเตรียมตัว อาทิ การเข้าไปในห้องคลอดพร้อมกับคุณแม่ในช่วงคลอด การดูแลคุณแม่ระยะหลังคลอด การช่วยให้นมลูกด้วยการป้อนด้วยภาชนะเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน 3. วางแผนจัดการเรื่องงานบ้าน และเรื่องราวต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และต้องหาคนช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน โดยเฉพาช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด การฝากครรภ์ […]

6 เดือน มหัศจรรย์ นมแม่ต้องห้ามพลาด
6 เดือน มหัศจรรย์ นมแม่ต้องห้ามพลาด สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อยไปทั้งชีวิต “นมแม่” ถือเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีเยี่ยม ประหยัด และปลอดภัย ถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาวะ (Healthy food & nutrition) ที่สำคัญที่สุด การได้รับนมแม่และการเลี้ยงดูที่เหมาะสมอย่างมีคุณภาพ เป็นรากฐานที่จะพัฒนาให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง พัฒนาการสมวัย และส่งผลดี รอบด้าน แม้ว่านมแม่จะเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญ แต่กลับพบว่า ประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ต่ำกว่ามาตรฐานโลกเกินครึ่ง พบว่าแม่ยังมีความรู้ไม่ถูกต้องในการให้นมทารกขาดระบบช่วยเหลือแม่หลังคลอด สสส.ผนึก มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ลุย รณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เข้มข้นด้วยสารอาหาร-สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งเป้าเพิ่มเด็กไทยได้รับนมแม่ล้วน 50% ภายในปี 68 […]

การดูแลทารกแรกเกิดหลังคลอด
3. หลังเกิด มีอาการอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องสังเกต และอาจต้องพาลูกมาพบแพทย์ภาวะปกติที่พบได้บ่อย เช่น สะอึก บิดตัว หายใจครืดคราดคล้ายมีน้้ามูกในจมูก อาจไม่ต้องรักษาแต่คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้โดย ใช้ลูกยางแดง ช่วยดูดน้้ามูกออก เนื่องจากทารกจะยังสั่งน้้ามูกไม่ได้ แต่หากมีอาการครืดคราดมาก หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น หอบเหนื่อย เขียว ร่วมด้วย มักต้องพามาพบแพทย์ 4. นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว มีภาวะตัวเหลือง ที่ต้องสังเกตร่วมด้วยใช่หรือไม่ใช่แล้วค่ะ ทารกหลังเกิด จะมีอาการตัวเหลืองได้ โดยมักพบในสัปดาห์แรกหลังเกิด การที่ผิวหนังมีสีเหลือง เกิดจากสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” คุณแม่จะสังเกตดูตัวเหลืองได้ โดยดูที่ตา และผิวหนังของลูก ถ้าระดับความเหลืองมากอาจจะเห็นว่าเหลืองทั้งตัว ทำไมเด็กแรกเกิดจึงตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดเม็ดเลือดแดงจะอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่ท้าให้มีการสร้างสาร“บิลิรูบิน”มากขึ้น ประกอบกับตับของเด็กแรกเกิดยังท้างานไม่เต็มที่ท้าให้ขับบิลิรูบินออกได้ไม่หมด(โดยเฉพาะในเด็กที่เกิดก่อนก้าหนดจะพบมีอาการตัวเหลืองได้มาก)

คำแนะนำสำหรับบิดา มารดา ในการดูแลทารกที่บ้าน
การทำความสะอาดร่างกายทารก ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง หลังจากทารกปัสสาวะ หรืออุจจาระ การให้นมและอาหารเสริมแก่ทารก ทารกควรได้รับเฉพาะนมมารดาจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นถึงจะให้รับประทานอาหารเสริมตามอายุของทารก อาการทั่วไปที่มักพบในเด็กทารก ขี้กลากน้ำนม คือลักษณะผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผืนแดงและบางที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เริ่มเป็นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง และกระจายไปทั่วใบหน้า การป้องกัน อาการสะอึก อาจพบภายหลังดูดนมเนื่องจากการทำงานของกระบังลม ยังไม่เป็นปกติหรือส่วนยอดของกระเพาะอาหารที่ขยายตัวจากน้ำนมและลมที่กลืนลงกระเพาะ สัมผัสกับกะบังลม หากทำการไล่ลมโดยจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที ภายหลังทารกดูดนมจนอิ่มแล้งยังมีอาการสะอึก ถือว่าเกิดจากกระบังลมทำงานไม่ปกติซึ่งไม่ต้องทำการรักษาใดๆ อาการจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น การถ่ายอุจจาระบ่อย ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว เด็กอาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอยขณะดูดนมแม่ บิดตัวหรือผายลมก็จะมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่าท้องเดินบางครั้งทารกถ่าย 7-10 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองมีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุจากนมแม่มีนมเหลือง Colostrum เจือปน ช่วยระบายท้อง กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นอาการปกติ […]

ทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัย สำหรับทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี
การทานอาหารที่เหมาะสมในช่วงวัยแรกเกิด – 1 ปี สำหรับลูกน้อย มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างมาก หากได้รับอาหารไม่เหมาะสมอาจทำให้ลูกน้อยขาดธาตุเหล็ก น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สังคม และอารมณ์ การใส่ใจในเรื่องอาหารสำหรับเด็กช่วงวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เน้นนมแม่…ตามคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ควรให้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความรัก ความผูกพัน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิด ซึ่งจากผลวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินประมาณ 7 จุด เพราะการดูดนมแม่สามารถช่วยกระตุ้นสมองของลูกน้อยได้อย่างดี รู้หรือไม่? แม่ชอบกินอาหารซ้ำๆ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงแพ้อาหาร ในช่วงที่คุณแม่กำลังให้นมลูก แพทย์แนะนำให้กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องงดอาหารใดๆ เพราะการกินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารชนิดนั้นไปด้วยยกเว้นอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น ของหมัก/ดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมนั้น จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและกิจกรรมของลูกน้อย ดังนี้… หลักโภชนาการสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย 6 เดือนแรก […]

ทำความเข้าใจการนอนของทารกและการกล่อมลูกให้หลับเร็ว
เด็กแรกเกิดจะนอนบ่อย แต่จะนอนครั้งละไม่นาน โชคดีที่ยังมีหลายวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดของคุณนอนหลับเป็นเวลา โดยที่มีช่วงเวลาที่สงบเงียบอยู่ด้วยกันที่คุณจะสามารถสัมพันธ์ประสาทรับรู้ของเขา ซึ่งจะนำไปสู่การที่ลูกสามารถนอนหลับได้มากขึ้นและมีพัฒนาการทางสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ช่วงสัปดาห์แรกๆ ในชีวิตของลูกเป็นช่วงของการปรับตัว สำหรับทั้งลูก และตัวคุณเอง ยังเร็วเกินไปที่จะหวังให้การนอนของลูกมีรูปแบบที่แน่นอน เพราะฉะนั้น คุณต้องปรับตัวตามลูก ทารกแรกเกิดจะตื่นนอน – บ่อยมาก ในช่วง 2-3 เดือนแรก ลูกน้อยของคุณจะหลับๆ ตื่นๆ อยู่ตลอดวัน (และตลอดคืน) ทารกแรกเกิดจะนอนหลับรวมๆ กันแล้วหลายชั่วโมง (10-18 ชั่วโมงต่อวัน) และจะนอนเป็นช่วงเท่าๆ กันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างการนอนกลางวัน และนอนกลางคืนนัก เด็กทารกอาจจะนอนยาวตั้งแต่ 2-5 ชั่วโมง อย่าลืมตอบสนองต่อลูกน้อยของคุณทุกเมื่อที่เขาส่งสัญญาณ เพราะเขาอาจต้องการดูดนม…และเปลี่ยนผ้าอ้อม ทำไมลูกน้อยของคุณถึงตื่นอยู่เรื่อยๆ ทารกแรกเกิดมักจะตื่นขึ้นมาเพราะหิวหรือต้องการให้เปลี่ยนผ้าอ้อม ควรใส่ใจการเปลี่ยนรูปแบบการนอนหลับของลูกน้อยอย่างกะทันหัน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกอาการเจ็บป่วย หรืออยู้ในช่วงเติบโตเร็วเนื่องจากการหิวง่าย โรค SIDS (การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ควรให้ลูกนอนหงายอยู่เสมอ อย่านอนคว่ำ ลูกน้อยของคุณควรนอนบนที่นอนแข็ง ไม่ใช่แบบฟูหรือนุ่มเบา อย่าให้มีตุ๊กตาสัตว์แบบมีขน หรือหมอนใกล้ๆ สอนให้รู้จักกลางวันและกลางคืน ช่วงที่ลูกน้อยของคุณนอนหลับในตอนกลางวัน เปิดให้มีแสงและเสียงดังในระบบปกติ […]

การดูแลทารกแรกเกิด 10 วิธี
การดูแลทารกแรกเกิด 10 วิธีดูแลลูกน้อยง่าย ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เจ้าตัวน้อยใกล้คลอดเข้ามาทุกที สร้างความตื่นเต้นดีใจให้คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลย แต่ในความดีใจนั้นก็อาจแฝงความกังวลไว้ด้วย กังวลว่าจะดูแลลูกไม่ดี ไม่รู้ต้องเตรียมอะไรก่อนหลังบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำวิธีเลี้ยงลูกฉบับ การดูแลทารกแรกเกิด มาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ 1. ให้กินนมแม่ อาหารดีที่สุดของลูก สำหรับลูกน้อยวัยทารกแล้ว อาหารที่ดีที่สุดของเขาคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารครบถ้วนและยังสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้ลูกแบบที่หาจากนมไหน ๆ ไม่ได้อีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลังจากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมอื่น ๆ จนถึงอายุ 2 ปี รับรองลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัยแน่นอนค่ะ2. ลูกต้องนอนหลับให้เพียงพอ ทารกแรกเกิด ถึง 6 เดือนแรก เป็นวัยแห่งการนอนหลับ ซึ่งการนอนที่เพียงพอจะส่งผลให้สมองและร่างกายมีพัฒนาการเต็มที่จึงควรให้ลูกวัยนี้นอนหลับวันละ 18-20 ชั่วโมง โดยปกติเขาจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน ช่วงกลางคืนจะหลับ 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นมากินนม อิ่มแล้วก็นอนต่อ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะดูอิดโรยก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ก็ควรหลับไปพร้อมกับลูกด้วย จะได้มีแรงดูแลลูกอย่างเต็มที่ค่ะ 3. ดูแลสะดือน้อย ๆ ให้สะอาดเสมอ […]

เรื่องน่ารู้ของเด็กวัย 1-3 เดือน
ช่วง 3 เดือนแรกตั้งแต่ลูกน้อยกำเนิดมาบนโลกนี้ถือเป็น “ช่วงเวลาปรับตัว” ที่คุณแม่หลายท่านยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าเกิดทุกความรู้สึกปะปนกันทั้งความสุข สนุก ตื่นเต้น ชื่นใจ สมหวัง ผิดหวัง ท้อแท้ หวาดกลัว และเหน็ดเหนื่อย แต่ทุกความรู้สึกนี้ก็ถูกปูพื้นฐานไว้ด้วยความรักและความตั้งใจที่ดีซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่และคุณลูกปรับตัวและเติบโตไปด้วยกันในทุกๆ วันค่ะ ความพิเศษของการเลี้ยงดูทารกในช่วงวัย 1-3 เดือนก็คือ ร่างกายของลูกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงมีรายละเอียดที่ควรระมัดระวังและใส่ใจหลายอย่าง เรามีเคล็ดลับน่ารู้ที่มักเกิดขึ้นกับเด็กวัย 1-3 เดือนมาฝาก เพื่อให้คุณแม่ได้ทำความรู้จักธรรมชาติของเจ้าตัวน้อย และปรับตัวให้รู้ทันความต้องการด้านต่างๆ ของลูกได้มากที่สุดค่ะ เรื่องการกิน ช่วง 3 เดือนแรกทารกต้องการกินนมบ่อยเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะขนาดกระเพาะอาหารที่มีขนาดเล็ก ทำให้ทานนมได้ครั้งละไม่มาก อิ่มง่าย แต่หิวบ่อย ความถี่ของการดื่มนมอาจอยู่ในราวทุก 1-3 ชั่วโมง (แตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน) ซึ่งระบบการกินนี้ก็มักจะสัมพันธ์กับระบบการนอนด้วย ทารกมักนอนหลับหลังทานนมอิ่ม และมักจะตื่นเมื่อหิว ฉะนั้น เมื่อลูกยิ่งโต กระเพาะยิ่งจุนมได้มากขึ้น ก็จะส่งผลต่อระยะเวลาการนอนที่ยาวนานขึ้นตามไปตามลำดับด้วยค่ะ เรื่องการอึ คุณแม่มือใหม่หลายท่านตกใจกับการที่ลูกในช่วงวัยนี้ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ และบ่อยครั้งมาก จนดูเหมือนอาการท้องเสียของผู้ใหญ่ แต่นั่นเป็นธรรมชาติที่ปกติของทารกในช่วงวัยนี้ค่ะ การถ่ายเหลวเช่นนี้ไม่ใช่อาการท้องเสีย แต่เป็นเพราะระบบย่อยอาหารและน้ำย่อยของลูกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ลูกจึงถ่ายแทบทุกครั้งหลังทานนม ที่สำคัญ ความถี่ในการถ่ายอุจจาระยังเป็นตัวประเมินว่าลูกทานนมได้ดีหรือไม่อีกด้วยนะคะ โดยเฉพาะเด็กที่ทานนมจากเต้า […]

เข้าใจพัฒนาการลูก จากทารกสู่วัยรุ่น
การเลี้ยงลูก โดยเฉพาะกับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่เลี้ยงเด็กทารกเป็นครั้งแรก ถือเป็นประสบการณ์ที่สร้างความสุขและความท้าทายไปพร้อมๆกัน เด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กวัยรุ่น พัฒนาการของเด็กได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ดังนั้นการเลี้ยงเด็กในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพตามพันธุกรรมได้อย่างเต็มที่ เราสามารถแบ่งพัฒนาการของเด็กออกเป็น 6 ระยะด้วยกัน คือ เด็กแรกเกิด เด็กวัยทารก เด็กวัยเตาะแตะ เด็กวัยก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียนและเด็กวัยรุ่น เด็กแรกเกิด (Newborn)ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหนึ่งเดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่างๆโดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม กำนิ้วมือหรือนิ้วเท้าเมื่อมีสิ่งของวางบนฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ในระยะนี้ เด็กสามารถเห็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ เช่น ใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ จำกลิ่นบางอย่างได้ ยิ้มและร้องไห้เพื่อสื่อสารถึงความต้องการ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยใส่ใจว่าเสียงร้องของลูกหมายความว่าอย่างไร เพื่อตอบสนองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ควรสบตา มองหน้า พูดคุยกับลูกในเวลากลางวันเพื่อให้เด็กตื่นอย่างสดชื่นและช่วยพัฒนาทางด้านภาษาให้แก่เด็ก เด็กทารก (Infant)เด็กที่มีอายุระหว่าง 1-12 เดือนจะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ๆ เมื่อเด็กมีอายุ 3-6 เดือนเด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ นั่งศีรษะนิ่ง คอไม่อ่อนพับไปมา(sit with head steady) พลิกคว่ำหงายได้ จดจำใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่และคนใกล้ชิดได้ เด็กเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6-9 […]

13 เคล็ดลับการดูแลทารกแรกเกิด
ความท้าทายมีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก วิธีให้อาหารเด็กอย่างเหมาะสม และตัวเลือกอื่นๆ อีกมากมายสำหรับผู้ปกครองในการเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด … แนวทางพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิดกุมารแพทย์บางคนเสนอ “การนัดพบก่อนคลอด” ซึ่งผู้ปกครองสามารถกำหนดแผนการคลอดและการดูแลโดยละเอียดภายใต้คำแนะนำของแพทย์ คำแนะนำทั่วไปบางส่วนมีดังนี้ ตามแนวทางปฏิบัติของสมาคมโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก โรคตับ และโภชนาการแห่งอเมริกาเหนือ (NASPGHAN) ปี 2018 สำหรับภาวะกรดไหลย้อนในเด็ก ขั้นตอนแรกในการลดความถี่ของการไหลย้อนในทารกแรกเกิดคือการหลีกเลี่ยงการให้อาหารมากไป (1)(2) วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการป้อนมากเกินไปคือการลดปริมาณการป้อนแต่ละครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความถี่ในการป้อน มิฉะนั้น ไม่มีทางที่ผิดในการเรอทารก อุ้มลูกน้อยของคุณนั่งบนตักหรือคุกเข่า ประคองหน้าอกและศีรษะของลูกน้อยด้วยมือเดียว ประคองคางของทารกไว้ในอุ้งมือ ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อมือตามภาพด้านล่างเพื่อลูบหลังลูกน้อย ตำแหน่งมือเพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณเรอตามที่พ่อแม่หลายๆ คนรายงานว่า เมื่อทารกเรอ เขา/เธอมีโอกาสน้อยที่จะสำรอกหรือกรดไหลย้อน แต่ในความเป็นจริง การเรอบ่อยๆ นั้นเป็นไปได้มาก เพราะจะทำให้ทารกมีเวลามากขึ้นในการประมวลผลการดูดนม ในขณะเดียวกัน การเรอบ่อยจะทำลายปริมาณการให้อาหารแต่ละครั้ง ทำให้มีเวลาย่อยอาหารมากขึ้น เจ้าหน้าที่พยาบาลมักจะสอนวิธีการอาบน้ำฟองน้ำที่ถูกต้องให้กับทารกแรกเกิด การอาบน้ำฟองน้ำทารกครั้งแรกควรเกิดขึ้นที่หรือหลัง 24 ชั่วโมงของชีวิตทารก (ตามระเบียบการของ WHO) เพื่อป้องกันความเครียดจากความเย็น (3) โฆษณา เพื่อลดความเสี่ยงของ SIDS เพิ่มเติม แนวปฏิบัติของ American Academy of Pediatrics (AAP) […]

การดูแลทารกแรกเกิด
การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อน… การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่และคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอดจะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม […]

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด
การบริหารร่างกายหลังคลอด · การให้นมบุตร · ท่าอุ้มในการให้นม ควรนั่งเก้าอี้อยู่ในท่าสบาย ทั้งแขนและหลัง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง และอาการอ่อนล้าจากการให้นมบุตร การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในระยะหลังคลอด อวัยวะต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จะเริ่มกลับคืนมาสู่สภาวะปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิมได้ เช่น ท้องลาย รูปร่าง ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังคลอดใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่คุณแม่หลังคลอดทำได้ คุณแม่หลังคลอดสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังนี้ การบริหารร่างกายหลังคลอด การวางแผนครอบครัว ปกติควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และปรึกษาการวางแผนครอบครัว เมื่อกลับมาตรวจหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ห่วงอนามัย หรือถุงยางอนามัย หรือ ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดทันทีในกรณีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือกลับมาทำภายหลังคือ ผ่าตัดทำหมันผ่านกล้อง ซึ่งเจ็บตัวน้อยและฟื้นตัวไว