การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เด็กทารก เด็กแรกเกิด กินนมเท่าไหร่

September 18, 2022

สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ที่เริ่มเลี้ยง เด็กทารก เด็กแรกเกิด เป็นครั้งแรก จะต้องมีคำถามแรกคล้าย ๆ กันอย่างแน่นอน คือ ในหนึ่งมื้อ จะต้องให้ลูกน้อยของเรา … จริง ๆ แล้วความต้องการของเด็กทารกแต่ละคนไม่เท่ากัน แตกต่างกันไปตามอายุและน้ำหนักตัวของแต่ละคน เพราะฉะนั้นคุณพ่อ คุณแม่ ไม่ต้องกังวลใจไป ถ้าลูกของเรากินนมไม่เท่ากับลูกของคนอื่น ตราบใดที่ลูกของเรามีการเจริญเติบโตที่ดี มีขนาดและน้ำหนักกี่เป็นไปตามเกณฑ์ ก็ถือว่าลูกของเราได้รับปริมาณน้ำนมที่เพียงพอแล้ว  หลักการง่าย ๆ เลยที่เราจะรู้ว่าปริมาณน้ำนมที่เราให้ลูกของเรานั้นพอหรือไม่ เรื่องง่าย ๆ คือการสังเกตลูกของเราเอง เพราะลูกของเราจะเป็นคนบอกเองว่า ต้องการนมมากแค่ไหน อิ่มแล้วหรือยัง และจะหยุดให้เมื่อไหร่  วิธีสังเกตว่า เด็กทารก กินนมเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอ สังเกตภาษากายของลูกเรา ว่าเมื่อหิวแล้วจะมีท่าทางอย่างไรที่แสดงว่าหิว และพยายามให้ลูกได้กินนมก่อนที่จะมีอาการโมโห และร้องไห้งอแง  ให้ลูกได้กินนมตามที่ลูกต้องการ เพราะเมื่อลูกของเราพอแล้ว เขาจะผละออกเองจากอกแม่ ซึ่งตามเวลาปกติแล้ว จะใช้เวลากินนมต่อเต้าประมาณข้างละ 10-20 นาที  และเมื่อทราบแล้วว่า การแสดงของลูกน้อยสามารถบอกได้ว่าอยากกินนมเมื่อไหร่ และต้องพอเมื่อไหร่ แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรล่ะว่า ลูกน้อยของเราจะได้กินนมเพียงพอต่อการเจริญเติบโต  วิธีสังเกตว่า เด็กแรกเกิด ว่าได้รับปริมาณนมเพียงพอต่อการเจริญเติมโตหรือไม่  ลูกน้อยมีการเจริญเติบโตดี ร่าเริง สุขภาพดี และตอบสนองต่อสิ่งเร้า  น้ำหนักของลูกเพิ่มขึ้นเรือย ๆ  ลูกจะกินนมถี่มากในช่วงเดือนแรก หลังจากนั้นจะจะลดความถี่ลง  ผ้าอ้อมของทารกจะเปียกชื้น วันละ 6-8 ชิ้น โดยประมาณ  ซึ่งการเติบโตของทารกแต่ละคนนั้น จะเติบโตเร็วมากน้อยไม่เท่ากัน เพียงคุณพ่อ คุณแม่สังเกตการเจริญเติบโตของลูกตามตัวอย่างที่แนะนำให้ทางด้านบน ก็พอที่จะบอกได้ว่า ลูกน้อยของเรานั้นได้รับนมแม่เพียงพอ และเติบโตสมวัยหรือไม่  แต่ถ้าสามารถจะเพิ่มความมั่นใจให้ได้ว่า ลูกของเราควรจะกินนมปริมาณเท่าไหร่ให้เหมาะสมกับวัย ก็มีวิธีการคำนวนประมาณนี้  การคำนวณปริมาณน้ำนมที่เหมาะสมกับวัยของลูกน้อย  1. อายุ แรกเกิด- 1 วัน ในช่วงแรกเกิดวันแรก ลูกน้อยของเราต้องการดื่มนมเพียง 1 ช้อนชา หรือ  5-7 ซีซี ต่อมื้อ โดยแบ่งเป็นมื้อประมาณ 8 –10 ครั้ง เพราะยังอยู่ในช่วงปรับตัวของทั้งลูก และคุณแม่ คุณแม่เองก็ยังสามารถผลิตน้ำนมได้น้อย อีกทั้งลูกน้อยก็ยังมีกระเพาะที่ขนาดเล็กอยู่ จุดสำคัญคือการให้ลูกได้ดูดนมจากแม่บ่อย ๆ ทุก 2-3 ชั่วโมง เพื่อเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมของคุณแม่ จำนวนอาจจะเพิ่มเป็น 0.75 – 1 ออนซ์ หรือ 25-27 ซีซี ในช่วงวันที่ 3   2. อายุ 1 สัปดาห์ จะเพิ่มปริมาณเป็น 1.5-2 ออนซ์ หรือ 45-60 ซีซี ต่อมื้อ 8-10 ครั้ง/วัน ทุก 2-3 ชั่วโมง ซึ่งน้ำนมของคุณแม่จะเริ่มผลิตปริมาณที่มากขึ้น และเปลี่ยนสีเป็นสีขาวนวล ควรให้ลูกน้อยดื่มนมทั้งสองเต้า ข้างละ 15-20 นาที  3. อายุ 1 เดือน ปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการในช่วงนี้ประมาณมื้อละ 2.5-4 ออนซ์ หรือ 80-120 ซีซี ต่อมื้อ 7-8ครั้ง/วัน ทุก 3-4 ชั่วโมง หรือคำนวณจาก น้ำหนักลูกน้อย (กก.) คูณ 120 ซีซี แล้วหาร 30 ช่วงนี้ลูกน้อยจะเริ่มนอนหลับได้ยาวขึ้นในช่วงกลางคืน จะทานนมทุก 4 ชั่วโมง และในเวลากลางวันก็ยังอาจจะต้องการทานนมบ่อยเท่าเดิมเป็นทุก 2-3 ชั่วโมงได้  4. อายุ 2-6 เดือน ปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการในช่วงนี้ประมาณมื้อละ 4-6 ออนซ์ หรือ 120-180 ซีซี ต่อมื้อ 5-6 ครั้ง/วัน ลูกน้อยจะเริ่มหลับได้นานขึ้นในช่วงกลางคืน ซึ่งอาจหลับได้นานถึง 4-5 ชั่วโมง ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกว่าลูกดื่มนมได้น้อยอย เพราะในวัยนี้ลูกจะเริ่มห่วงเล่นมากขึ้น  5. อายุ 6-9 เดือน ลูกน้อยต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนมมากขึ้นเป็น 6-8 ออนซ์ หรือ 180-240 ซีซี ต่อมื้อ 4-5ครั้ง/วัน หรือคำนวณจาก น้ำหนักลูกน้อย (กก.) คูณ 110 ซีซี แล้วหาร 30   6. อายุ 9-12 เดือน ปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการในช่วงนี้ประมาณมื้อละ 6-8 ออนซ์ หรือ 180-240 ซีซี ต่อมื้อ 4-5ครั้ง/วัน หรือคำนวณจาก น้ำหนักลูกน้อย (กก.) คูณ 110 ซีซี แล้วหาร 30 ลูกจะนอนยาวในเวลากลางคืน 6-8 ชั่วโมง อาจจะยังตื่นมาทานนมน้อยลงแค่ 1-2 ครั้ง/คืน เริ่มทานอาหาร 2-3 มื้อ มื้อนมเหลือ 4-5 ครั้ง  7. อายุ 1 ขวบขึ้นไป เมื่ออายุของลูกน้อยของเราครบหนึ่งขวบแล้ว เด็กควรเริ่มที่จะต้องการอาหารหลักครบ 3 มื้อแล้ว และจึงเสริมด้วยนมครั้งละ 6-8 ออนซ์ หรือ 180-240 ซีซี ต่อมื้อ วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหาร และไม่จำเป็นต้องตื่นขึ้นมากินนมกลางดึกอีกแล้ว  ลูกน้อยของเราในแต่ละช่วงเวลามีปริมาณความต้องการนมที่แตกต่างกัน ในช่วงครึ่งปีแรกลูกน้อยของเราจะต้องการดื่มนมถี่มาก การปั้มน้ำนมเก็บไว้ให้ลูก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะเป็นการเก็บน้ำนมให้เพียงพอต่อความต้องการแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการสร้างน้ำนมของคุณแม่อย่างต่อเนื่อง  

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

September 18, 2022

อุ้มเด็กขึ้นให้ลำตัวด้านซ้ายอยู่ติดกับผู้อุ้มและลูบหลังเบา ๆ เพื่อช่วยในเรื่องการทำงานของลำไส้และท้อง หากทารกหลับให้พาไปนอนหงายในเปล · เปิดเสียงที่ช่วยให้เกิด … การดูแลทารกแรกเกิดอาจเป็นเรื่องน่ากังวลใจสำหรับพ่อแม่มือใหม่ และการเตรียมพร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ไม่น้อย ทั้งการวางแผนคลอด เสื้อผ้า และของใช้ หรือการจัดเตรียมห้องไว้สำหรับลูกน้อยโดยเฉพาะ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการเรียนรู้ในการดูแลทารกแรกเกิดที่กำลังจะกลายมาเป็นสมาชิกใหม่ของครอบครัวได้อย่างถูกวิธี โดยทั่วไปข้อมูลเบื้องต้นที่ควรทราบจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการนอนหลับ การให้นม การร้องไห้ รวมไปถึงวิธีการที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลทารกในช่วงแรกหลังกลับจากโรงพยาบาลได้ดี บทความนี้มีข้อแนะนำและวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยคลายกังวลในการดูแลทารกแรกเกิดดังนี้ เรื่องพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอดลูกน้อย ขณะกำลังพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลถึงวิธีการดูแลทารกในขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของทารกแรกเกิด และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของทารกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ รวมไปถึงเรียนรู้รายละเอียดสำคัญและพื้นฐานต่าง ๆ ในการดูแลเด็กแรกเกิดดังนี้ การอุ้ม การอุ้มทารกด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสเกิดอันตราย และการสัมผัสยังช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและความอบอุ่นระหว่างผู้ดูแลและทารกด้วย ซึ่งวิธีการอุ้มที่ถูกต้องมีดังนี้ ก่อนการอุ้มทารกทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด เนื่องจากร่างกายของทารกยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย  ประคองหัวและคอของทารกอยู่เสมอทั้งขณะยกขึ้นอุ้มและวางลง เนื่องจากหัวเป็นบริเวณที่มีน้ำหนักมากที่สุดในร่างกายของทารก และกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรงจนกว่าจะเข้าช่วงเดือนที่สี่ ท่าอุ้มไกวเปล (Cradle Hold) เป็นท่าพื้นฐานที่อุ้มทารกได้ง่าย โดยเริ่มจากใช้มือข้างหนึ่งช้อนคอและประคองหัวเพื่อยกทารกขึ้น ส่วนมืออีกข้างประคองส่วนก้น จากนั้นอุ้มทารกขึ้นไว้ในระดับอก ลำตัวของทารกแนบไปกับร่างกายคุณแม่ในแนวนอน ส่วนหัวของทารกอยู่บริเวณข้อพับศอก  หากต้องการเปลี่ยนไปเป็นการอุ้มพาดบ่า (Shoulder Hold) ใช้มือข้างหนึ่งประคองหัวและคอของทารกให้สูงระดับไหล่ อีกมือประคองส่วนก้นไว้ แล้วพาดไว้ที่ไหล่ โดยลำตัวทารกจะอยู่ในลักษณะแนวตั้งตรงท้องแนบกับลำตัวคุณแม่  ห้ามเขย่าตัวทารกเนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกในสมอง รวมทั้งไม่ควรโยนเด็กหรือเล่นกับเด็กด้วยความรุนแรง […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

พัฒนาการทารกแรกเกิด

September 15, 2022

สัปดาห์แรกของเด็กแรกเกิด เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญ ทารกแรกเกิดจะมีพัฒนาการอะไรบ้าง และคุณแม่จะช่วยได้อย่างไร ไปดูกัน… พัฒนาการเด็กแรกเกิด – 1 ปี ในแต่ละเดือน ลูกน้อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง พร้อมวิธีส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละช่วงวัย ที่พ่อแม่ควรรู้ เมื่อลูกน้อยออกมาลืมตาดูโลก สิ่งที่พ่อแม่อย่างเรา ๆ  อยากรู้คงไม่พ้น แต่ละเดือนลูกมีพัฒนาการอย่างไร ลูกเราพัฒนาการช้ากว่าลูกบ้านอื่นไหม อยากให้ลูกมีพัฒนาการเด็กที่ดี ควรดูแลส่งเสริมพัฒนาการกันอย่างไร วันนี้เรานำข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทารกช่วงแรกเกิดจนถึง 1 ปี มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ พัฒนาการเด็กวัย 1 สัปดาห์ ด้านร่างกาย และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็กวัย 1 สัปดาห์ ลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 2.7 – 3.3 กก. ส่วนสูงประมาณ 46 – 50.5 ซม. บริเวณไขมันบนผิวของลูกเริ่มหลุด ลูกจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าอัตโนมัติ และสามารถขยับแขน ขยับขาได้ การดูแล ควรให้ลูกกินแต่นมแม่เท่านั้น เพราะในนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกครบถ้วน ลูกควรได้รับวัคซีน BCG และ ไวรัสตับอักเสบ บี (ครั้งที่ 1) ควรปรับอุณหภูมิบ้านให้เหมาะสมกับทารก […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

วิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่

September 12, 2022

ไม่ยากอย่างที่คิด วิธีเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือนแรก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เคล็ดลับการเลี้ยงเด็กแรกเกิด และการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้อง อย่างคุณแม่มืออาชีพ 4 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือนแรกสำหรับคุณแม่มือใหม่ 1. วิธีจับลูกเรอ วิธีจับลูกเรอ หรือการทำให้ทารกเรอทุกครั้งหลังทานนม มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน เพราะเป็นการช่วยเอาลมออกจากกระเพาะอาหารของทารก เนื่องจากกระเพาะของทารกนั้นมีเนื้อที่จำกัด และในขณะทานนมทารกจะกลืนลมเข้าไปด้วย ทำให้มีพื้นที่สำหรับนมน้อยลง ทานนมได้ลดลง นอกจากนี้การมีลมในกระเพาะมากยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกสำรอกนมได้ง่ายและบ่อยขึ้น วิธีจับลูกเรอจึงเป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และทำให้ท้องว่างซึ่งสามารถรับนมได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งวิธีจับลูกเรอสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ • วิธีจับลูกเรอด้วยท่านั่งบนตัก ทำได้โดยอุ้มทารกนั่งบนตักใช้มือประคองคางทารกไว้ ให้คางอยู่ระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้โดยมือจะอยู่บริเวณหน้าอกและลิ้นปี่พอดี ยกมือ ยืดตัวลูกให้ตรงเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้• วิธีจับลูกเรอด้วยการอุ้มพาดต้นแขน โดยอุ้มทารกนั่งบนตักให้คางทารกพาดบนท่อนแขนโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้• วิธีจับลูกเรอด้วยการอุ้มพาดไหล่ โดยอุ้มทารกขึ้นศีรษะพาดบ่า ตะแคงหน้าทารกไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้• วิธีจับลูกเรอด้วยท่านอนนบนอก โดยอุ้มทารกแนบลำตัวมารดาตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยมารดาอยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้านหลังจากเอวขึ้นมาถึงต้นคอ จะเป็นการไล่ลมขึ้นมาได้ 2. การจัดท่านอนทารกแรกเกิดคุณแม่เคยสังเกตท่านอนทารกกันมั้ย? ท่านอนทารกบางท่า อาจทำให้เกิดอันตรายจากโรค […]

การดูแลทารกแรกเกิด

การดูแลทารกแรกเกิด

September 8, 2022

การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่และคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอดจะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่  เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอด […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลบุตรแรกเกิด

September 6, 2022

การดูแลทารกแรกเกิดง่าย ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ บอกเลย 10 ข้อนี้สำคัญสุด ๆ รู้แล้วจะทำให้การเลี้ยงลูกคนแรกง่ายขึ้นเยอะ  เจ้าตัวน้อยใกล้คลอดเข้ามาทุกที สร้างความตื่นเต้นดีใจให้คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลย แต่ในความดีใจนั้นก็อาจแฝงความกังวลไว้ด้วย กังวลว่าจะดูแลลูกไม่ดี ไม่รู้ต้องเตรียมอะไรก่อนหลังบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำ วิธีเลี้ยงลูก ฉบับ การดูแลทารกแรกเกิด มาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ 1. ให้กินนมแม่ อาหารดีที่สุดของลูก          สำหรับลูกน้อยวัยทารกแล้ว อาหารที่ดีที่สุดของเขาคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารครบถ้วนและยังสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้ลูกแบบที่หาจากนมไหน ๆ ไม่ได้อีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลังจากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมอื่น ๆ จนถึงอายุ 2 ปี รับรองลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัยแน่นอนค่ะ2. ลูกต้องนอนหลับให้เพียงพอ           ทารกแรกเกิด ถึง 6 เดือนแรก เป็นวัยแห่งการนอนหลับ ซึ่งการนอนที่เพียงพอจะส่งผลให้สมองและร่างกายมีพัฒนาการเต็มที่จึงควรให้ลูกวัยนี้นอนหลับวันละ 18-20 ชั่วโมง โดยปกติเขาจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน ช่วงกลางคืนจะหลับ 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นมากินนม อิ่มแล้วก็นอนต่อ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะดูอิดโรยก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ก็ควรหลับไปพร้อมกับลูกด้วย จะได้มีแรงดูแลลูกอย่างเต็มที่ค่ะ […]

อาหารสำหรับเด็กทารกแรกเกิด

อาหารสำหรับเด็กทารกแรกเกิด

August 30, 2022

องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอด และให้ดูด 8-12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว การให้นมลูกควรให้ในสถานที่ที่สงบและสะอาด ควรนวดเต้านมและลานหัวนมให้นิ่ม และบีบน้ำนมออกประมาณ 2-3 หยดก่อนให้ลูกดูด จัดท่าทางให้สบาย โดยคุณแม่อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัว ให้ปากของลูกอยู่ตรงหัวนม มืออีกข้างประคองเต้านม แล้วใช้หัวนมกระตุ้นริมฝีปากลูกให้ลูกอ้าปาก จากนั้นเคลื่อนลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็ว ให้ลูกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม และลิ้นอยู่ใต้ลานนม เมื่อลูกอิ่มแล้วจะถอนปากออกจากหัวนมเอง แต่ถ้าอิ่มแล้วยังอมหัวนมอยู่ ให้คุณแม่ใช้นิ้วกดคางเบาๆ หรือใช้นิ้วก้อยสอดเข้ามุมปากของลูกเล็กน้อย แล้วจึงดึงหัวนมออก