การทำแท้ง และการดูแลบุตร

ท้องไม่พร้อม ก่อนยุติตั้งครรภ์

November 24, 2022

อายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ ให้หน่วยบริการฯ ให้ดำเนินการ “ดูแลช่วยเหลือ” หรือ “รับการจัดสวัสดิการสังคม” ที่เหมาะสมแก่การตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตรต่อ… จากกรณี กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศหลักเกณฑ์ให้คำปรึกษาในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 โดยได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อที่ 26 ก.ย. 65 และจะมีผลบังคับเมื่อพ้น 30 วันนับแต่วันประกาศ โดยประกาศฉบับนี้ เพื่อแก้ปัญหาทำแท้งผิดกฎหมาย หญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ ไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่ต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อายุครรภ์ ที่สามารถยุติตั้งครรภ์ได้ สำหรับผู้ที่มั่นใจว่าตัวเองตั้งครรภ์ และไม่พร้อมที่จะมีบุตร เนื่องด้วยปัจจัยใดๆ ก็ตาม สามารถแจ้งความประสงค์ต่อหน่วยบริการ ซึ่งกรมอนามัยจะประกาศรายชื่อให้ทราบต่อไป โดยแจ้งผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง เช่น ด้วยตนเอง เป็นหนังสือ ทางโทรศัพท์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทั้งนี้ หากหน่วยบริการฯ ดำเนินการตรวจวินิจฉัยอายุครรภ์แล้ว ปรากฏว่า ก่อนยุติตั้งครรภ์ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

ยุติการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาอย่างปลอดภัย

September 17, 2022

ยุติการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาอย่างปลอดภัย:อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ ‘ผู้หญิงท้องไม่พร้อม’ การยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย จากรายงานสถานการณ์ และสถิติการทำแท้งในประเทศไทย  พบว่ามีการทำแท้งประมาณปีละ 300,000 คน และผู้หญิงประมาณ 300 คน ต่อ 100,000 คน ได้รับอันตรายจากการทำแท้ง ในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการณ์ว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้ง จำนวน 123.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมความสูญเสียทางจิตใจ นอกจากนี้ เครือข่ายท้องไม่พร้อมร่วมกับเครือข่ายแพทย์อาสา R-SA เผยข้อมูลเชิงตัวเลขว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์  หลายกรณี เกิดจากการป้องกันที่ผิดพลาดและไม่พร้อมมีบุตร บางกรณีอาจเกิดจากฝ่ายชายไม่ยอมป้องกันและไม่รับผิดชอบลูกในท้อง หรือปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถดูแลสมาชิกใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ การยุติการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาในผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ อย่างปลอดภัย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรนำมาศึกษาหรือพูดคุยกันอย่างจริงจังเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจ เรื่องสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้หญิงว่า ผู้หญิงควรจะมีสิทธิเลือกว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของตนเองได้หรือไม่ การทำแท้งภายใต้ระบบกฎหมายไทย ตามกฎหมายไทย การยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งเป็นความผิดทางอาญา  หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูก มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

ท้องแล้วแท้ง สู้กับการมีบุตรยากระยะสุดท้าย

September 13, 2022

หมั่นสังเกตตัวเอง โดยปกติเลือดที่ไหลออกจากช่องคลอดจะลดลงเรื่อยๆ และหยุดไหลภายใน 1-2 สัปดาห์ อาการปวดท้องน้อยจะค่อยๆ บรรเทาลง หากพบว่าเลือดไม่ … เมื่อรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ก่อนจะจินตนาการวาดฝันไปไกลถึงครอบครัวที่อบอุ่นในอนาคต สิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ความปลอดภัยของทั้งตัวแม่และลูกในท้อง เพราะเมื่อคุณตั้งครรภ์นั้นเท่ากับว่าคุณกำลังแบกชีวิตน้อยๆอีก 1 ชีวิตไปกับคุณด้วยทุกๆ ที่  หากคุณแม่ดูแลตัวเองได้ไม่ดี ก็อาจนำไปสู่ความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ที่ไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เกิดขึ้นอย่างการแท้งบุตร การแท้งบุตรเกิดขึ้นได้ 15-25%ของการตั้งครรภ์ 80% จะเกิดในไตรมาสแรก ในประเทศไทยจะใช้เกณฑ์การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ หรือน้ำหนักทารกน้อยกว่า 1000 กรัม เป็นเกณฑ์การแท้ง ส่วนองค์การอนามัยโลกจะใช้เกณฑ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ หรือน้ำหนักทารกน้อยกว่า 500 กรัม อย่างไรก็ตามบางสถาบันการแพทย์อาจใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกันออกไปตามศักยภาพในการดูแลทารกของสถาบันนั้นๆ ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการแท้ง 1.การแท้งบุตรที่เกิดจากทารก กว่า 60% ของการแท้งทั้งหมด มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติทางด้านโครโมโซมของทารกในครรภ์ โดยอาจจะเช่นลักษณะที่ไม่พบตัวอ่อนในถุงการตั้งครรภ์เลยเรียกว่าภาวะไข่ฝ่อ (blighted ovum) หรืออาจเห็นตัวอ่อนในถุงการตั้งครรภ์แล้ว แต่ไม่มีการทำงานของหัวใจ 2.การแท้งที่มีสาเหตุจากมารดา การติดเชื้อต่างๆไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เป็นการติดเชื้อทั่วร่างกาย หรือเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ โรคประจำตัวของมารดา เช่น โรคเบาหวาน ไทรอยด์เป็นพิษ SLE […]

การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

September 7, 2022

สังคมควรทำให้การท้องทุกท้อง ไม่ว่าจะท้องพร้อมหรือไม่พร้อมเป็นเรื่องปกติก่อน การมองว่าถ้าท้องไม่พร้อมแล้วเป็นปัญหาส่งผลให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล กฤตยาแสดงทัศนะว่า สังคมควรทำให้การท้องทุกท้อง ไม่ว่าจะท้องพร้อมหรือไม่พร้อมเป็นเรื่องปกติก่อน การมองว่าถ้าท้องไม่พร้อมแล้วเป็นปัญหาส่งผลให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก แต่หากมองว่าท้องทุกท้องไม่ว่าจะตั้งใจ ไม่ตั้งใจ หรือเกิดความผิดพลาด เป็นท้องที่สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะด้วยการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม ประการต่อมาคือต้องทำให้การท้องที่ไม่พร้อมมีทางเลือกและทางเลือกทุกทางนั้นต้องปลอดภัย ถูกกฎหมาย และให้คนทุกกลุ่มทุกเหล่าเข้าถึงบริการได้’ จาก-ท้องในวัยรุ่น ‘ปัญหา’ ของวัยรุ่น หรือ ‘ปัญหา’ ของผู้ใหญ่? เราเปิดด้วยทัศนะของกฤตยา อาชวานิจกุล นายกสมาคมเพศวิถีศึกษา เพื่อวางแนวคิดเบื้องต้นกันก่อนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นที่รู้กันดีว่า ‘การทำแท้ง’ เป็นคำแสลงในสังคมไทยที่มักมี ‘ศีลธรรมอันดีของประชาชน’ ห้อยท้ายกฎหมายเสมอ ขณะที่อิทธิพลของศาสนาพุทธ การทำแท้งถูกปลูกฝังลงในความคิดของคนทั่วไปว่าเป็นบาปหนักและจะส่งผลเลวร้ายต่อผู้หญิงไปชั่วชีวิต (ว่าแต่ทำไมผู้ชายไม่บาปเท่ากับผู้หญิง?) เหตุนี้ เมื่อต้องพูดถึงการทำแท้งในประเทศไทยจึงต้องใช้คำที่อ่อนโยนลงอย่างคำว่า การยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งมีทั้งแบบที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย และนี่คือประเด็นที่เราจะคุยกัน กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการทำแท้ง กฎหมายอาญาของไทยระบุความผิดในการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งว่า หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูก มีความผิดตามมาตรา 301 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ทำให้หญิงแท้งลูกโดยความยินยอมมีความผิดตามมาตรา 302 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 […]

ร่างกายของเธอ สิทธิของเธอ ในการเข้าถึง ‘การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย’

ร่างกายของเธอ สิทธิของเธอ ในการเข้าถึง ‘การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย’

September 5, 2022

‘กฤตยาแสดงทัศนะว่า สังคมควรทำให้การท้องทุกท้อง ไม่ว่าจะท้องพร้อมหรือไม่พร้อมเป็นเรื่องปกติก่อน การมองว่าถ้าท้องไม่พร้อมแล้วเป็นปัญหาส่งผลให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก แต่หากมองว่าท้องทุกท้องไม่ว่าจะตั้งใจ ไม่ตั้งใจ หรือเกิดความผิดพลาด เป็นท้องที่สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะด้วยการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม ประการต่อมาคือต้องทำให้การท้องที่ไม่พร้อมมีทางเลือกและทางเลือกทุกทางนั้นต้องปลอดภัย ถูกกฎหมาย และให้คนทุกกลุ่มทุกเหล่าเข้าถึงบริการได้’ จาก-ท้องในวัยรุ่น ‘ปัญหา’ ของวัยรุ่น หรือ ‘ปัญหา’ ของผู้ใหญ่? เราเปิดด้วยทัศนะของกฤตยา อาชวานิจกุล นายกสมาคมเพศวิถีศึกษา เพื่อวางแนวคิดเบื้องต้นกันก่อนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นที่รู้กันดีว่า ‘การทำแท้ง’ เป็นคำแสลงในสังคมไทยที่มักมี ‘ศีลธรรมอันดีของประชาชน’ ห้อยท้ายกฎหมายเสมอ ขณะที่อิทธิพลของศาสนาพุทธ การทำแท้งถูกปลูกฝังลงในความคิดของคนทั่วไปว่าเป็นบาปหนักและจะส่งผลเลวร้ายต่อผู้หญิงไปชั่วชีวิต (ว่าแต่ทำไมผู้ชายไม่บาปเท่ากับผู้หญิง?) เหตุนี้ เมื่อต้องพูดถึงการทำแท้งในประเทศไทยจึงต้องใช้คำที่อ่อนโยนลงอย่างคำว่า การยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งมีทั้งแบบที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย และนี่คือประเด็นที่เราจะคุยกัน กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการทำแท้ง กฎหมายอาญาของไทยระบุความผิดในการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งว่า หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูก มีความผิดตามมาตรา 301 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ทำให้หญิงแท้งลูกโดยความยินยอมมีความผิดตามมาตรา 302 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากการทำแท้งเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส […]

การทำแท้ง

ยุติการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยาอย่างปลอดภัย:อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับ ‘ผู้หญิงท้องไม่พร้อม’

August 19, 2022

ตามกฎหมายไทย การยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งเป็นความผิดทางอาญา หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูก มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ขณะเดียวกัน ผู้ทำให้หญิงแท้งลูกโดยความยินยอมก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 302 ต้องรับโทษจำคุกไม่เกินห้าปีปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากการทำแท้งเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส ผู้ทำให้หญิงแท้งลูกมีโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกิน 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากการทำแท้งเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้ทำให้หญิงแท้งต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท อย่างไรก็ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 ก็ยกเว้นความผิดของมาตราหญิงที่ทำแท้งและผู้ทำแท้งเอาไว้ ในกรณีผู้ทำแท้งเป็นแพทย์ผู้มีใบอนุญาต และเป็นการทำแท้งด้วยความจำเป็นด้านสุขภาพของหญิง กรณีที่หญิงตั้งครรภ์เพราะถูกข่มขืนกระทำชำเรา กรณีที่หญิงคนที่ตั้งครรภ์อายุไม่ถึง 15 ปี รวมทั้งกรณีที่การตั้งครรภ์เกิดจากการถูกล่อลวง บังคับ ข่มขู่ เพื่อทำอนาจารสนองความใคร่ นอกจากประมวลกฎหมายอาญา ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ ก็ระบุเงื่อนไขที่แพทย์ทำแท้งให้หญิงโดยไม่มีความผิดไว้ว่า นอกจากการทำแท้งที่เป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 (1) และ (2) แล้ว ในกรณีที่หญิงมีปัญหาสุขภาพทางจิต หรือหญิงมีความเครียดอย่างรุนแรงเพราะพบว่าทรกในครรภ์มีหรือมีความเสี่ยงที่จะพิการอย่างรุนแรง หรือเป็นหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมอย่างรุนแรง ก็สามารถทำแท้งให้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายทั้งแพทย์ผู้ทำแท้งและหญิงที่ถูกทำให้แท้ง การยุติการตั้งครรภ์ […]