Tag: ทำแท้ง

MDs’ LIFE | ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง
เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

ทัศนะของแพทย์ต่อการทำแท้ง
การที่จะตั้งคำถามแบบนี้ขึ้นมาได้นั้น อาจจะต้องมีคำถามนำมาก่อนหน้านี้ นั่นคือ กว่าจะสร้างแพทย์ได้สักหนึ่งคนนั้น คนคนนั้นจะต้องผ่านการปลูกฝัง อบรม และถูกเพาะบ่มมาจากที่ใดบ้าง ในบริบทพื้นฐานก็คงจะหนีไม่พ้นครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ช่วยกันเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานคนนี้มา โดยที่ไม่รู้หรอกว่าเขาจะกลายมาเป็นหมอในอนาคตหรือไม่ การอบรมสั่งสอนก็เพื่อมุ่งเน้นให้ลูกเป็นคนดีของสังคม และการเป็นคนดีได้นั้น ครอบครัวก็คงได้รับการสืบต่อมาจากสังคม ศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชนอีกต่อหนึ่ง แต่จะเห็นว่า สังคมก็ไม่ใช่ว่าจะได้เด็กดีเสมอไปจากการเลี้ยงดูของครอบครัว นั่นก็เพราะว่า เบ้าหลอมที่สำคัญอีกเบ้าหนึ่งก็คือ โรงเรียน คุณครูและเพื่อนพ้อง เราจะเริ่มสูญเสียคนดีไปในช่วงนี้ได้จำนวนหนึ่ง ใช่ไหมครับ สังคมล่ะครับ มีส่วนที่จะกำหนดความดีชั่วได้หรือไม่ คำตอบน่าจะตอบว่า “ใช่” ดังที่เราจะได้เห็นข่าว อ่านหน้าจั่วหัวอยู่แทบทุกวัน ว่าใครดีใครเลว ฝ่ายไหนดีฝ่ายไหนเลว หญิงคนไหนชั่วที่ทิ้งลูก สาวคนไหนเลวที่รีดมารหัวขนออกมาทิ้งในคูน้ำ นั่นจะเห็นการตัดสินความดีความเลวกันจะจะอยู่ทุกวัน ใช่ไหมครับ มาถึงเรื่องของแพทย์(เข้าเรื่องเสียที) เบ้าหลอมที่สำคัญกับการกำหนดตัวตนของหมอแต่ละคนนั้น ส่วนใหญ่จึงตกเป็นภาระของโรงเรียนแพทย์นั่นเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า เขาเป็นผู้สอน ผู้อบรม ผู้กำหนดกรอบของหลักสูตรการเรียน การวางผังชีวิตทางด้านจริยธรรมทางการแพทย์และการประกอบวิชาชีพ ใช่ไหมครับ แล้วบังเอิญผู้ที่สอนนั้นเป็นครูในใจของลูกศิษย์ หมอคนนั้นก็จะจดจำไปว่า “การทำแท้งเป็นสิ่งผิดจริยธรรม” ถ้าโรงเรียนแพทย์แห่งใดเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้คิดถึงที่มาที่ไปของการตั้งท้องที่ไม่พร้อมเปิดโอกาสให้ได้รับทราบว่า บางครั้งการยุติการตั้งครรภ์ […]

ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’
ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’ สรุปพอดแคสต์จาก “กลุ่มทำทาง” ว่าด้วยเรื่อง ‘ภาษา’ ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมวิธีคิดต่อการทำแท้งในสังคมไทย “ภาษาที่ใช้มันก็สื่อถึงทัศนคติที่มันฝังอยู่ในค่านิยม ในสังคม [ไทย]” นี่เป็นประโยคหนึ่งในพอดแคสต์ของกิจกรรมการพูดคุยในหัวข้อเรื่อง “ ‘การใช้คำ’ เรื่องทำแท้ง” ใน ‘Twitter Space’ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาษานั้นก็เป็นเรื่องที่พวกเราควรสนใจเช่นกันเมื่อพูดถึงเรื่องการทำแท้ง ซึ่งผู้ร่วมพูดคุยในพอดแคสต์นี้คือคุณนุ่ม สุไลพร ชลวิไลและคุณชมพู่ สุพีชา เบาทิพย์ จาก คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง กลุ่มที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมาย ให้คำปรึกษา และสร้างความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการทำแท้งปลอดภัย และคุณเม คุณมี่ คุณหยา จากแอดมิน The Pillow Talks โดยวันนี้เราจะมาสรุปประเด็นต่าง ๆ บางส่วนที่น่าสนใจจากพอดแคสต์นี้ให้อ่านกัน การใช้คำสำคัญอย่างไร? – เพราะภาษาที่ใช้ในการทำแท้งแสดงถึงทัศนคติและค่านิยมที่ฝังลึกในสังคมไทย บางครั้งเวลาเราใช้คำต่าง ๆ พวกนี้ พวกเราไม่ได้ตระหนักถึงความหมายโดยนัยของคำที่ใช้ ซึ่งคำส่วนใหญ่ที่ใช้มันไม่ได้เป็นกลางทางความหมาย แล้วพอใช้กันต่อไปเรื่อย ๆ จึงเกิดความหมายแฝงที่อาจจะกดทับหรือประณามผู้ตั้งครรภ์โดยที่พวกเราไม่รู้ตัว การพาดหัวข่าวของสื่อที่ตีตราผู้ตั้งครรภ์ – […]

แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่
สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” ซึ่งจัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ทาง Facebook Page : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากร ดำเนินรายการโดย ผู้สรุปสาระสำคัญและเรียบเรียง ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล : กล่าวว่า สำหรับกฎหมายเรื่องการทำแท้งที่ออกมาใหม่ ตนมองว่าการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ตอบโจทย์สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมทั้งหมด ตลอดจนเฉพาะความคิดต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศ.ดร. สุรศักดิ์นำเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ประเด็นแรก เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นในการแก้ไขกฎหมาย คือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเรารู้จักทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่แรกเกิด รู้พัฒนาการในทุกช่วงของทารกตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 4 สำหรับประเด็นปัญหาแต่เดิมที่มีการถกเถียงกัน คือกฎหมายไทยอนุญาตให้ทำแท้งเพียง 2 กรณี ได้แก่ กรณีสุขภาพของมารดา และกรณีมารดาถูกกระทำความผิดทางอาญาแล้วตั้งครรภ์ แต่สำหรับกรณีทารกผิดปกติ ก็เคยเป็นประเด็นในการสู้คดี ซึ่งกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำแท้ง ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีการพยายามแก้ไขโดยเพิ่มเหตุการณ์เรื่องสุขภาพของทารก […]

“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน
“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน เด็กเกิดใหม่ ต้องมีคุณภาพ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสังคมไทยในรอบ 60 ปี เกี่ยวกับการ “ทำแท้งถูกกฎหมาย” หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำสู่การปรับแก้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานทำแท้งที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2499 เอื้อประโยชน์การทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ รองรับมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายแก้ไขให้เปิดกว้างเพียงใด การทำแท้งยังเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย ทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ศีลธรรม จรรยาบรรณ ฯลฯ สำหรับสาระของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา […]

MDs’ LIFE ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง
เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

ทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีความผิด มีเหตุผลอะไรบ้าง เช็กกฎหมายยุติการตั้งครรภ์
การทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ นับเป็นประเด็นที่ผู้คนต่างพากันจับตามองและให้ความสนใจ เนื่องจากมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศ เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่หญิงนั้น ต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ซึ่งทางสำนักงานกิจการยุติธรรม เองก็ได้ออกมาเปิดเผยข้อกฎหมายแบบละเอียดสำหรับหญิงที่จำเป็นต้องการทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ สำหรับ 5 เหตุผลทำแท้งตามกฎหมาย ไม่มีความผิด ถ้าทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหญิงยินยอมดำเนินการตามข้อบังคับแพทย์สภา 1. มีครรภ์ต่อไปแล้วจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย/จิตใจ2. มีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ3. มีความเสี่ยงมาก/มีเหตุผลทางการแพทย์ที่เชื่อได้ว่าถ้าคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง4. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และหญิงยืนยันทำแท้ง5. อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขประกาศกำหนดฯและหญิงยืนยันทำแท้ง ทั้งนี้ หากหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน […]

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด
สถานพยาบาลไฟสลัวในตึกแถวเก่า ๆ ย่านชานเมือง อบอวลไปด้วยด้วยกลิ่นเหม็นสาบและคราบสกปรก มีเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของหญิงสาวดังกึกก้องจากห้องตรวจ สร้างความหวาดหวั่นให้กับหญิงสาวคนอื่นที่นั่งรออยู่ด้านนอก นี่คือภาพจำของ “การทำแท้ง” ที่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคมไทย บวกกับทัศนคติและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ผีเด็ก” ที่ติดตามผู้หญิงที่เคยทำแท้ง หรือความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่เคยทำแท้ง “ทำอะไรก็ไม่เจริญ” เพราะบาปกรรมจากการฆ่าลูก รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง ทำให้ทุกครั้งที่พูดถึงการทำแท้ง คนทั่วไปมักคิดถึงภาพความน่ากลัวและการกระทำที่ไร้ศีลธรรมเสมอ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี แต่ประเด็นการทำแท้งก็จุดกระแสการถกเถียงในสังคมได้เสมอ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง และยกเรื่องศีลธรรมขึ้นมาอ้าง อีกฝ่ายก็มองไปถึงเรื่องของความจำเป็นในชีวิตและสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวเองและสังคม ที่จริงแล้ว กฎหมายทำแท้งและทัศนคติของคนต่อเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร Sanook คุยกับ “กลุ่มทำทาง” กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานให้คำปรึกษาผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และทำงานขับเคลื่อนเรื่องการทำแท้งปลอดภัยมานานกว่า 10 ปี เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ “กลุ่มทำทาง” เพื่อ “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิง ย้อนกลับไปในปี 2553 ข่าวการพบซากทารกมากกว่า 2,000 ศพ ในบริเวณวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เป็นข่าวดังที่ทั้งสะเทือนใจคนไทยและส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อระดับศีลธรรมของคนในสังคม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “กลุ่มทำทาง” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานของสังคมต่อเรื่องการทำแท้งที่รุนแรง […]

หลัก 4 S สกัดปัญหาท้องไม่พร้อม
หลัก 4 S สกัดปัญหาท้องไม่พร้อม เข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย 6 กระทรวง ใช้หลัก 4 S ลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และปัญหาการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย พร้อมแนะทางออกให้กับหญิงไทยที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เข้าถึงบริการเพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสม นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากที่มีการนำเสนอข่าววัยรุ่นใช้ยาเหน็บเพื่อทำแท้งจนเด็กหลุดออกมาเสียชีวิตนั้น กรณีนี้นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมและเลือกใช้วิธีการที่เสี่ยงและอันตราย ซึ่งอาจเป็นได้ว่าวัยรุ่นดังกล่าวไม่ทราบช่องทางการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย จนนำไปสู่การทำแท้งในที่สุด ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ยึดหลักการยุติตั้งครรภ์ที่ถูกกฏหมาย เพื่อแก้ปัญหาหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งผลักดันร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องพัฒนาองค์ประกอบรองรับด้วยหลัก 4 S คือ Safe Virgin โดยผลักดันเพศสุขภาพวิถีศึกษา Safe Sex โดยสามารถเข้าถึงยาคุมกำเนิดโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ Safe Abortion คือ ยุติการตั้งครรภ์ทีปลอดภัยผ่านเครือข่าย RSA (เครือข่ายอาสาส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย) และ Safe Mom คือกรณีให้คำปรึกษาหญิงที่เปลี่ยนใจเห็นว่าควรตั้งครรภ์ต่อ ได้รับสิทธิ์ดูแลครรภ์ตามมาตรฐานฟรี รวมถึงการสงเคราะห์ดูแลด้านอื่น ๆ โดยมีกลไกการทำงานร่วมกัน 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “นอกจากนี้ ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้บริการยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่อยู่ในภาวะหลังคลอดหรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิดในทุกสิทธิสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ […]

เปิดกฎหมายยุติตั้งครรภ์หญิงอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์
ทำแท้ง : เปิดกฎหมายยุติตั้งครรภ์หญิงอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ และทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ปี 2565 เมื่อ 26 ก.ย. ระบุว่าให้หญิงตั้งครรภ์เกิน 12-20 สัปดาห์ ตรวจและรับปรึกษาก่อนยุติการตั้งครรภ์ นับเป็นกฎหมายอีกฉบับที่กำหนดแนวปฏิบัติของการยุติการตั้งครรภ์ของสตรีไทย หลังจากมีการแก้ไขกฎหมายทำแท้งเมื่อต้นปี 2564 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกินกว่า 12 สัปดาห์ ยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยไม่เป็นความผิดทางอาญา นี่ไม่ใช่การออกกฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ แต่ทว่า ประกาศของ สธ. ฉบับนี้ เป็นแนวปฏิบัติที่ระบุรายละเอียดของผู้หญิง ที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ที่ต้องการทำแท้ง “เป็นหลักเกณฑ์ส่วนขยายของ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 มาตรา 301 และ 305” นพ. บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผอ. สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข […]

เปิดประสบการณ์การทำแท้งมามากกว่า 1,200 คนของอดีตคุณหมอ
อดีตคุณหมอชาวอเมริกันเคย “ทำแท้ง” ให้ผู้หญิงมามากกว่า 1,200 คน ได้ออกมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการทำแท้งเพื่อให้เป็นอุทาหรณ์กับใครหลายๆ คนที่คิดจะทำ โดยในปี 1980 เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจบริการทำแท้ง แต่ในปัจจุบันทั้งแพทย์ และนักกฎหมายหลายคนยุติการทำแท้งกันแล้ว วิธีแรก:การทำแท้งด้วย “ยา” การทำแท้งด้วยการทานยา ซึ่งวิธีนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์จะต้องทานยาทั้งหมด 2 เม็ด ยาจะออกฤทธิ์ทำให้เด็กที่อยู่ในครรภ์เสียชีวิตก่อน หลังจากนั้นยาก็จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เด็กหลุดออกมา โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด ยาแท้ง หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ RU-486 ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์โดยต้านการฝังตัวของทารกในครรภ์ และหยุดจ่ายฮอร์โมนเพศที่เข้าไปดูแลการทำงานของมดลูก จนทำให้เด็กในครรภ์ไม่มีอากาศหายใจและไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงร่ายกาย ในที่สุดทารกในครรภ์ก็จะเสียชีวิต หลังจากเมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้มดลูกไม่สามารถรองรับการตั้งครรภ์และเริ่มมีการขับเซลล์เลือดออกมา และเด็กก็จะเสียชีวิต หลังจากทานยาแล้ว 1-2 วัน ให้ผู้ตั้งครรภ์ทานยา “Misoprostol” ตาม ยานี้จะออกฤทธิ์ทำให้มดลูกหดตัว จนขับเลือดและทารกออกมา สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการใช้วิธีนี้ก็คือ หลังจากที่ทานยาแท้งทั้งสองชนิดนี้แล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์อาจจะขับออกมาได้ตลอดเวลา โดยที่มีสามารถรู้เวลาแน่นอนได้ เวลาที่เด็กทารกที่เสียชีวิตแล้วจะหลุดออกมา ผู้ตั่งครรภ์อาจจะเห็นตัวเด็กแค่เล็กๆ แต่บางกรณีที่เด็กมีอายุครรภ์มากแล้ว เวลาที่ขับออกมาก็จะเห็นแขนขามือเท้าอย่างชัดเจน ดังนั้นในกรณีนี้ตัวผู้ทำแท้งจะเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดท้อง, ปวดศีรษะ, อาเจียน หรือเลือดออกมากเกินไป 1% ของผู้ทำแท้งอาจจะต้องเข้าผ่าตัดอีกรอบ “การทำแท้งด้วยการทานยา”

ทำแท้ง อันตรายอย่างไร ไม่จำเป็นอย่าเสี่ยง
ควรหรือไม่กับการทำแท้ง ยังคงเป็นปัญหาที่โต้แย้งกันในสังคมไทย การทำแท้งจากการท้องไม่พร้อมถือว่าผิดกฎหมาย แต่ก็ยังมีบริการทำแท้งเถื่อนที่เสี่ยงอันตรายสูงเปิดให้เห็นเป็นจำนวนมาก จากการคาดการณ์อุบัติการณ์ของการทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ก่อนคลอดทั่วโลกในปี 2010-2014 เผยแพร่โดยสถาบัน Guttmacher ซึ่งเป็นองค์กรที่ศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่ามีการทำแท้งเกิดขึ้นทั้งหมด 56.3 ล้านครั้ง ในจำนวนนี้เป็นการทำแท้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว 6.7 ล้านครั้ง และในประเทศกำลังพัฒนาถึง 49.6 ล้านครั้ง สำหรับในประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดในการทำแท้ง หญิงตั้งครรภ์จะสามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายก็ต่อเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่ามีความจำเป็นเท่านั้น นั่นคือเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่ ซึ่งหากไม่ทำแท้งอาจทำให้แม่เกิดอันตรายถึงชีวิต ผู้เป็นแม่มีอาการผิดปกติทางจิต หรือกรณีตั้งครรภ์จากการถูกกระทำชำเรา เช่น ถูกข่มขืนหรือการมีเพศสัมพันธ์ในเชื้อสายเดียวกัน ซึ่งต้องให้แพทย์ในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น ในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมาย ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและรักษาพยาบาลก่อนและหลังทำแท้ง โดยมีการตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติครรภ์ วิธีการดูแลตัวเอง ไปจนถึงวิธีติดตามสังเกตอาการของตนเองเพื่อกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง ซึ่งวิธีการทำแท้งในบทความนี้มีไว้เฉพาะเพื่อให้ข้อมูลการทำแท้งโดยแพทย์ที่ถูกกฎหมายในกรณีที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น วิธีการทำแท้ง หรือยุติการตั้งครรภ์มี 2 วิธีหลักด้วยกัน ได้แก่ การใช้ยา และวิธีการที่มีหัตถการทางการแพทย์ร่วมด้วยโดยการดูดหรือขูดมดลูก ทำแท้งด้วยการใช้ยา การใช้ยาช่วยให้แท้งจะทำได้เมื่อผู้เป็นแม่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ โดยยาที่ใช้จะช่วยให้ปากมดลูกนิ่มและเปิดออก กระตุ้นการหดตัวของมดลูก ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ สั่งจ่ายได้เฉพาะในโรงพยาบาลโดยแพทย์เท่านั้น ทำแท้งโดยมีหัตถการทางแพทย์ร่วมด้วย แพทย์อาจดูดมดลูกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ หรือใช้วิธีขยายและขูดมดลูก ซึ่งวิธีการในแต่ละอายุครรภ์ก็แตกต่างกันไป […]