Tag: ทารก

ลูกกิน ’นมแม่’ พร้อมด้วย ’อาหารตามวัย’
การเตรียมตัวเองและคนรอบข้างให้พร้อม รวมทั้งความตั้งใจที่เข้มแข็ง และเชื่อมั่นว่าร่างกายคุณแม่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นาน 6 เดือน & กินนมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ หรือ นานกว่านั้น จัดการชีวิตตนเอง & ครอบครัว 1. ปรึกษาและสร้างความเข้าใจกับสามี ญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงานให้เข้าใจ และขอแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง 2. ณ จุดนี้ คุณพ่อจะเป็นกำลังสำคัญ ทั้งแรงกาย และกำลังใจ ยืนหยัดเคียงคู่คุณแม่ตลอดระยะก่อนและหลังคลอด ชักชวนคุณพ่อให้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมกับคุณแม่ เพื่อให้คุณพ่อเตรียมตัว อาทิ การเข้าไปในห้องคลอดพร้อมกับคุณแม่ในช่วงคลอด การดูแลคุณแม่ระยะหลังคลอด การช่วยให้นมลูกด้วยการป้อนด้วยภาชนะเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน 3. วางแผนจัดการเรื่องงานบ้าน และเรื่องราวต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และต้องหาคนช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน โดยเฉพาช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด การฝากครรภ์ […]

โรคเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็ก (SUDDEN INFANT DEATH SYNDROME)
โรคเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) ปัญหาการนอนหลับผิดปกติในเด็กทารกที่พบมากที่สุด คือ ภาวะการหยุดหายใจ โดยแนะนำให้สังเกตอาการโรคจากการหลับในทารกว่าทารกที่เป็นมักจะหายใจแผ่ว หากหายใจแผ่วบ่อยหรือหยุดหายใจ มีอาการตัวเขียว หายใจเสียงดัง ถือว่าเป็นอาการผิดปกติ ต้องนำทารกไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ วิธีการสังเกตทารก คือ หากหายใจเสียงดังทั้งขณะหลับ ขณะตื่น หรือขณะดื่มนม ทารกรายนี้อาจมีปัญหาการนอนหลับผิดปกติ และหากน้ำหนักของทารกไม่ขึ้นตามเกณฑ์ที่สมควร มีอาการดูดนมสำลักบ่อยหรืออาเจียน หรือในรายที่อาการรุนแรง อาจพบอาการตัวเขียว ริมฝีปากคล้ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที ปัจจัยเสี่ยงของโรคจากการหลับในทารก ได้แก่ เมื่อทารกที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคจากการหลับในทารก แพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยวัดออกซิเจนขณะเด็กนอนหลับ ถ้าผลออกซิเจนโดยรวมน้อยกว่ามาตรฐาน จะวินิจฉัยในขั้นตอนต่อไป ที่ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งมีอุปกรณ์ในการช่วยวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดูว่าสมองทำงานอย่างไร เกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจหรือไม่ สาเหตุของการนอนไม่หลับมาจากอะไร และวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดคืออะไร พ่อแม่ควรฝึกให้ทารกนอนได้ด้วยตนเอง อาจจะนอนบนเปลหรือบนเตียง ทารกควรเรียนรู้ที่จะหลับด้วยตนเองและควรฝึกให้ทารกหลับเช่นนี้ตั้งแต่แรกคลอดให้ทารกสามารถหลับโดยไม่ต้องกล่อม อุ้มแนบตัว หรือทำกิจกรรมอื่นที่อาจขัดการนอนหลับ นอกจากนี้ ยังควรฝึกกิจวัตรการนอนและสิ่งแวดล้อมการนอนที่ดีให้แก่ทารก และลูกน้อย เช่น – ตั้งเวลาการนอนที่เป็นกิจวัตรให้ลูกนอนเป็นเวลา เพื่อให้เรียนรู้ว่าถึงเวลาเข้านอนแล้วและสามารถหลับตามเวลาที่เขาคุ้นเคยได้ […]

เคล็ดลับพาลูกน้อยเที่ยว อย่างไรให้ปลอดภัย
โลกภายนอกเต็มไปด้วยทิวทัศน์ เสียง และสิ่งต่างๆ มากมายให้สัมผัสและสำรวจ การใช้เวลาข้างนอกกับลูกน้อยของคุณสามารถช่วยทั้งพัฒนาการของเขาโดยการทำให้ประสาทสัมผัสของเขาได้ทำงานและช่วยปลูกฝังความรักในธรรมชาติในระยะยาว คุณและลูกน้อยสามารถออกไปข้างนอกได้ทันที กุมารแพทย์หลายคนแนะนำให้เด็กแรกเกิดหลีกเลี่ยงสถานที่พลุกพล่านซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อโรค แต่ตราบใดที่คุณระมัดระวังเป็นอย่างดี การเดินเล่นข้างนอกนั้นเป็นสิ่งดีสำหรับทุกๆ คน โดยเฉพาะกับผู้ปกครองที่กำลังเหนื่อยล้า! เมื่อใดที่อากาศร้อน หนาว และชื้นเกินไปที่จะพาเด็กทารกออกไปข้างนอก? นี่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดบางวิธีในการเตรียมตัวสำหรับอากาศหน้าร้อน อากาศชื้น หรืออากาศหนาว ลมและหิมะ ให้กับลูกน้อยของคุณ อากาศหน้าร้อน: ออกไปในเวลาเช้าหรือก่อนพลบค่ำเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่สูงที่สุดของวัน ให้ลูกน้อยของคุณสวมหมวกและใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายสีอ่อน หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรงและหาร่มเงา พกขวดสเปรย์น้ำสำหรับคลายร้อนได้อย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าการเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ ทะเลสาบ หรือลำธารกับลูกน้อยของคุณก็ทำให้สดชื่นได้เช่นกัน! อากาศชื้นหรืออากาศหนาว: แต่งตัวลูกน้อยของคุณด้วยผ้าบางหลายๆ ชั้น หมวกอุ่นๆ ถุงมือ และรองเท้าหรือถุงเท้าที่ป้องกันความเย็น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณจะไม่ร้อนจนเกินไป ทาบมือที่ผิวใต้เสื้อผ้าของเขาและถอดเสื้อบางชั้นหากจำเป็น หลักพื้นฐานสำหรับทารกที่โตขึ้นมาเล็กน้อยและเด็กเล็กคือการแต่งตัวให้พวกเขามากกว่าหนึ่งชั้นกว่าที่ผู้ใหญ่จะสวมใส่ในแบบเดียวกัน ลม: หากลูกน้อยของคุณดูไม่สบายตัว และคุณไม่สามารถกันเขาจากลมได้ พาเขากลับเข้าไปข้างใน หิมะ:เกล็ดหิมะคือเวทย์มนตร์ โดยเฉพาะสำหรับเด็กทารก สวมใส่ชุดกันหิมะให้กับลูกน้อย เพื่อที่เขาจะไม่ได้พลาดความสนุกสนาน คำใบ้: หาชุดกันหิมะที่ร้านมือสอง โอกาสคือชุดต่างๆ อาจถูกใช้ไปเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ฉันจะป้องกันลูกของฉันจากแสงแดดได้อย่างไร? ดวงอาทิตย์เป็นเพื่อนของเรา ดวงอาทิตย์ทำให้พืชเติบโต ทำให้เราอบอุ่น และช่วยให้เรามองเห็นโลกรอบๆ ตัวเรา นี่เป็นเคล็ดลับบางประการในการช่วยป้องกันลูกน้อยของคุณจากแสงแดด: แต่ธรรมชาตินั้นช่าง…สกปรก! […]

ทำความเข้าใจการนอนของทารกและการกล่อมลูกให้หลับเร็ว
เด็กแรกเกิดจะนอนบ่อย แต่จะนอนครั้งละไม่นาน โชคดีที่ยังมีหลายวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดของคุณนอนหลับเป็นเวลา โดยที่มีช่วงเวลาที่สงบเงียบอยู่ด้วยกันที่คุณจะสามารถสัมพันธ์ประสาทรับรู้ของเขา ซึ่งจะนำไปสู่การที่ลูกสามารถนอนหลับได้มากขึ้นและมีพัฒนาการทางสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ช่วงสัปดาห์แรกๆ ในชีวิตของลูกเป็นช่วงของการปรับตัว สำหรับทั้งลูก และตัวคุณเอง ยังเร็วเกินไปที่จะหวังให้การนอนของลูกมีรูปแบบที่แน่นอน เพราะฉะนั้น คุณต้องปรับตัวตามลูก ทารกแรกเกิดจะตื่นนอน – บ่อยมาก ในช่วง 2-3 เดือนแรก ลูกน้อยของคุณจะหลับๆ ตื่นๆ อยู่ตลอดวัน (และตลอดคืน) ทารกแรกเกิดจะนอนหลับรวมๆ กันแล้วหลายชั่วโมง (10-18 ชั่วโมงต่อวัน) และจะนอนเป็นช่วงเท่าๆ กันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างการนอนกลางวัน และนอนกลางคืนนัก เด็กทารกอาจจะนอนยาวตั้งแต่ 2-5 ชั่วโมง อย่าลืมตอบสนองต่อลูกน้อยของคุณทุกเมื่อที่เขาส่งสัญญาณ เพราะเขาอาจต้องการดูดนม…และเปลี่ยนผ้าอ้อม ทำไมลูกน้อยของคุณถึงตื่นอยู่เรื่อยๆ ทารกแรกเกิดมักจะตื่นขึ้นมาเพราะหิวหรือต้องการให้เปลี่ยนผ้าอ้อม ควรใส่ใจการเปลี่ยนรูปแบบการนอนหลับของลูกน้อยอย่างกะทันหัน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกอาการเจ็บป่วย หรืออยู้ในช่วงเติบโตเร็วเนื่องจากการหิวง่าย โรค SIDS (การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ควรให้ลูกนอนหงายอยู่เสมอ อย่านอนคว่ำ ลูกน้อยของคุณควรนอนบนที่นอนแข็ง ไม่ใช่แบบฟูหรือนุ่มเบา อย่าให้มีตุ๊กตาสัตว์แบบมีขน หรือหมอนใกล้ๆ สอนให้รู้จักกลางวันและกลางคืน ช่วงที่ลูกน้อยของคุณนอนหลับในตอนกลางวัน เปิดให้มีแสงและเสียงดังในระบบปกติ […]

5 วิธีขจัดความเครียดแม่ท้องเพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์อารมณ์ดี
ความเครียดของแม่ท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกลัวและความกังวลในช่วงตั้งครรภ์ ความไม่สบายตัว ความปวดเมื่อยร่างกาย อาการเจ็บป่วยต่างๆ ช่วงตั้งครรภ์ แรงกดดันจากคนรอบข้าง รวมถึงความเครียดจากการกลัวการคลอดด้วย ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์โดยตรง เพราะลูกในท้องจะสัมผัสอารมณ์ของแม่ได้และแสดงอาการออกมาหลายแบบ เช่น ถ้าแม่เครียดมาก นอนไม่หลับ ลูกในท้องก็อาจจะไม่ดิ้น ไม่ขยับตัวเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้นหากแม่ท้องไม่มีความเครียดทารกในครรภ์ก็จะไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลายสบายตัว เขาจะอยากขยับตัวเคลื่อนไหวเหมือนกำลังว่ายน้ำในท้องแม่อย่างสบายใจ ดังนั้นหากแม่ท้องมีความเครียดจะต้องรีบกำจัดด้วย 5 วิธีต่อไปนี้ค่ะ 2. หาคนคุยด้วยการอยู่คนเดียวอาจไม่ใช้ทางออกที่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เสมอไป หากมีสิ่งที่อึดอัดหรือความกังวลเรื่องต่างๆ ลองหาคนพูดคุยด้วย อย่างเช่น สามี คนในครอบครัว เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยกัน วิธีนี้นอกจากจะได้ระบายสิ่งที่กังวล ยังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกด้วย 3. นึกถึงลูกในครรภ์ความเครียดความกังวลทุกอย่างจะผ่อนคลายไปได้ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์นึกถึงความปลอดภัยและทำทุกอย่างเพื่ทารกในครรภ์ สังเกตได้ว่าเมื่อคุณแม่ได้ลูบท้อง ได้พูดคุยกับลูกในท้อง คุณแม่จะผ่อนคลายและนึกถึงทุกครั้งว่าเมื่อไหร่ที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อยเสียที 4. สร้างความสุขให้ตัวเองเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์เครียด บางทีการสร้างความสุขให้ตัวเองก็เป็นทางออกที่ดีนะคะ เช่น การเดินช้อปปิ้งบ้าง การออกไปทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัว ซื้อของที่อยากได้มานานแสนนานเป็นรางวัลให้กับตัวเอง วิธีนี้ก็สามารถขจัดความเครียดได้เช่นกัน 5. ปล่อยวางการนั่งสมาธิปล่อยวางความเครียดเป็นสิ่งที่ดีมากต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เมื่อคุณแม่ฝึกนั่งสมาธิบ่อยๆ ลูกน้อยในครรภ์จะได้ความสงบและสบายใจซึ่งส่งผลถึงพัฒนาการที่ดีทั้งด้านสมองและจิตใจ เมื่อลูกลืมตาดูโลกจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของลูกไปในทางที่ดีแน่นอนค่ะ