Tag: การเลี้ยงลูก

ลูกกิน ’นมแม่’ พร้อมด้วย ’อาหารตามวัย’
การเตรียมตัวเองและคนรอบข้างให้พร้อม รวมทั้งความตั้งใจที่เข้มแข็ง และเชื่อมั่นว่าร่างกายคุณแม่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นาน 6 เดือน & กินนมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ หรือ นานกว่านั้น จัดการชีวิตตนเอง & ครอบครัว 1. ปรึกษาและสร้างความเข้าใจกับสามี ญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงานให้เข้าใจ และขอแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง 2. ณ จุดนี้ คุณพ่อจะเป็นกำลังสำคัญ ทั้งแรงกาย และกำลังใจ ยืนหยัดเคียงคู่คุณแม่ตลอดระยะก่อนและหลังคลอด ชักชวนคุณพ่อให้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมกับคุณแม่ เพื่อให้คุณพ่อเตรียมตัว อาทิ การเข้าไปในห้องคลอดพร้อมกับคุณแม่ในช่วงคลอด การดูแลคุณแม่ระยะหลังคลอด การช่วยให้นมลูกด้วยการป้อนด้วยภาชนะเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน 3. วางแผนจัดการเรื่องงานบ้าน และเรื่องราวต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และต้องหาคนช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน โดยเฉพาช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด การฝากครรภ์ […]

6 เดือน มหัศจรรย์ นมแม่ต้องห้ามพลาด
6 เดือน มหัศจรรย์ นมแม่ต้องห้ามพลาด สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อยไปทั้งชีวิต “นมแม่” ถือเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีเยี่ยม ประหยัด และปลอดภัย ถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาวะ (Healthy food & nutrition) ที่สำคัญที่สุด การได้รับนมแม่และการเลี้ยงดูที่เหมาะสมอย่างมีคุณภาพ เป็นรากฐานที่จะพัฒนาให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง พัฒนาการสมวัย และส่งผลดี รอบด้าน แม้ว่านมแม่จะเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญ แต่กลับพบว่า ประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ต่ำกว่ามาตรฐานโลกเกินครึ่ง พบว่าแม่ยังมีความรู้ไม่ถูกต้องในการให้นมทารกขาดระบบช่วยเหลือแม่หลังคลอด สสส.ผนึก มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ลุย รณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เข้มข้นด้วยสารอาหาร-สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งเป้าเพิ่มเด็กไทยได้รับนมแม่ล้วน 50% ภายในปี 68 […]

คุณเป็นพ่อแม่ประเภทใด
สิ่งแวดล้อมและการอบรมเลี้ยงดูลูกตลอดจนทัศนคติของ พ่อแม่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของลูกมาก ฉะนั้นการที่เด็กจะเติบโตขึ้นมีบุคลิกภาพเช่นใดนั้น นอกจากพันธุกรรมแล้ว การอบรมเลี้ยงดูเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมาก ถ้าเด็ก ถูกเลี้ยงเลี้ยงดูมาอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะทำให้เขามีบุคลิกภาพที่ดีมีการปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีอารมณ์ที่มั่นคง แต่ในทางตรงข้าม ถ้าเด็กถูกเลี้ยงดูอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการ ทางบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อการปรับตัวและเป็นผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ง่าย การที่พ่อแม่จะอบรมเลี้ยงดูลูกอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพอารมณ์ของพ่อแม่ ความสัมพันธ์ในชีวิตสมรสของพ่อแม่ ลักษณะเฉพาะของลูก เหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตครอบครัวนั้นๆประสบการณ์ที่พ่อแม่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาและจากการเลี้ยงดูลูกคนแรกด้วยปัจจัย ดังกล่าวจะเห็นว่าเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการทางบุคลิกภาพไม่เหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุดังกล่าว ฉะนั้น วิธีการอบรมเลี้ยงดูลูกที่ไม่ถูกต้องของพ่อแม่ เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่ทำให้เด็ก มีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสมดังนั้น ท่านที่คิดว่าตัวท่านเองเป็นพ่อแม่ประเภทใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ ก็อย่างเพิ่งตกใจหรือกังวลใจ เรามาลองดูกันหน่อยดีไหมค่ะ จะเห็นว่าการเลี้ยงลูกประเภทดังกล่าวทั้ง 5 แบบนี้ ทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กเป็นไปในทางที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้น พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการอบรมเลี้ยงดูลูกที่จะทำให้เกิดผลเสียดังกล่าว แต่ควรปฏิบัติเลี้ยงดูลูกโดยทางสายกลางเป็นสิ่งที่ดีที่สุด คือไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ควรอบรมเลี้ยงดูลูกให้เหมาะสมกับความสามารถและวัยของเด็ก ไม่ควรใช้อารมณ์แต่ควรอบรมสั่งสอนลูกอย่างมีเหตุผล มีวินัยที่ดีแต่ต้องไม่เข้มงวดจนเกินไป และไม่ควรตามใจเด็กจนเกินไป หรือปล่อยปละละเลย จนเกินไป ควรให้ความรักอย่างเหมาะสมและมีเหตุผล ไม่ใช่รักมากอย่างไม่มีขอบเขต ตลอดจนพ่อแม่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เลียนแบบ ความผาสุกในชีวิตแต่งงานของพ่อแม่ การปฏิบัติต่อกันของพ่อแม่ด้วยความรัก ความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจกันจะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น มั่นคงอันจะเป็นรากฐานของการที่เด็กจะเจริญเติบโตมาด้วยความสุขและความพอใจอันจะมีผลดีทั้งต่อตัวเด็กเอง และสังคมต่อไปในอนาคต

ของเล่น กับ การเล่น เล่นอย่างไรให้ดี และปลอดภัย
เรามาทำความรู้จักคำว่า ของเล่น กับ การเล่น (Play and Toys) กันก่อนว่าทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ของเล่น (Toys) คือ สิ่งของที่ให้เด็กเล่น เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน การเล่น (Play) เป็นหัวใจของการเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก เด็กมีการเรียนรู้ผ่านการเล่น ทุกครั้งที่เด็กเล่นจะเป็นการเรียนทีมีความสนุกสนาน การเล่นจะช่วยให้เด็กรู้จักศักยภาพของตัวเอง เกิดการพัฒนาทักษะด้านต่างๆผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ การมองเห็น การจับสัมผัส การชิมเพื่อรับรส การดมกลิ่น และการฟังเสียงต่างๆ สิ่งสำคัญของการเล่น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู เป็นบุคคลที่สำคัญต่อการเล่นของเด็กๆ โดยพ่อแม่ควรเข้าใจลูก มีเวลาในการเล่นกับลูก ให้ความรักความเอาใจใส่ ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับของเล่นตามลำพัง การเล่นกับลูกแบบนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้ของเล่นเกิดประโยชน์ และมีคุณค่าสูงสูดต่อเด็ก ประโยชน์ที่ได้จากการเล่น การเลือกของเล่น การเลือกของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย เพราะเด็กอาจะไม่สนใจของเล่นที่พ่อแม่เห็นว่าเหมาะกับลูก โดยหลักการของเล่นที่ดี คือ ของเล่นที่เด็กสนใจที่จะเล่น เล่นแล้วเล่นอีก ไม่จำเป็นต้องเป็นของเล่นที่ทันสมัยหรือราคาแพง อาจให้เด็กมีโอกาสได้เลือกของเล่นตามความชอบของตัวเอง หรือพิจารณาของเล่นให้เหมาะกับวัยและระดับพัฒนาการ สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีความปลอดภัย หาง่าย เล่นแล้วส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดู มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก ไม่เลือกของเล่นตามคำโฆษณา หลีกเลี่ยงของเล่นที่อาจส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรง เช่น ปืนหรือมีด ถ้าเป็นเกมส์คอมพิวเตอร์ ควรจำกัดเวลาไม่เกิน […]

6 สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกเริ่มขึ้น และการดูแลลูกเมื่อฟันขึ้น
ฟันน้ำนมของลูกเริ่มขึ้น ตอนลูกอายุประมาณ 6 เดือน อาจเร็วหรือช้ากว่านี้นิดหน่อย และฟันน้ำนมของลูกจะขึ้นเต็มทั้งปากประมาณ 24 เดือน เมื่อฟันลูกเริ่มขึ้น คุณจะสังเกตได้ว่ามีน้ำลายไหลออกมาตลอดเวลาประมาณ 1 สัปดาห์และฟันก็จะเริ่มงอกออกมาให้เห็นค่ะ ฟันน้ำนมของลูกจะเริ่มขึ้นจากตรงกลางก่อนประมาณ 2 ซี่ เริ่มขึ้นจากด้านบน ต่อมาก็ขึ้นด้านล่าง ฟันน้ำนมลูกจะขึ้นตามเวลาดังนี้ สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกเริ่มขึ้นคือ 1.ต้องการแทะ เคี้ยว หรือกัดอะไรบางอย่างตลอดเวลา 2.เหงือกบวมแดง คุณจะสังเกตได้จากเหงือกว่ามีอาการแดงหรือบวมมากกว่าปกติ คุณสามารถเช็คได้จากการให้ลูกอ้าปากและใช้มือลูบเบา ๆ จะรู้สึกว่าเหงือกแข็งขึ้นค่ะ 3.น้ำลายไหลมากกว่าปกติ ถ้าลูกมีอาการน้ำลายไหลมากกว่าปกติคิดไว้ก่อนว่าอาจเกิดจากฟันกำลังจะขึ้นค่ะ 4.ตอนกลางคืนกินนมมากกว่าปกติ ในตอนกลางคืนลูกอาจจะรู้สึกปวดเหงือก ทำให้มีอาการหงุดหงิด อยากจะกัด หรือเคี้ยว สิ่งของเพื่อบรรเทาอาการนี้ จึงทำให้อยากกินนมมากกว่าปกติค่ะ 5.อาจมีอาการเจ็บบริเวณช่วงหู ถ้าฟันที่กำลังจะขึ้นอยู่บริเวณแถวขากรรไกร ซึ่งใกล้กับบริเวณหูอาจทำให้ลูกมีอาการเจ็บหูได้ค่ะ 6.อยากเปลี่ยนอาหารที่เคยกิน เด็ก ๆ ที่ฟันเริ่มขึ้นจะอยากกินแต่อาหารที่มีลักษณะแข็งขึ้น เช่น เคยกินแต่ข้าวต้มก็อยากกินข้าวผัด หรือ ข้าวสวยกับอาหารธรรมดาที่ไม่ต้องต้มหรือตุ๋น ซึ่งอาจเกิดจากอาการคันเหงือกนั้นเองค่ะ การดูแลลูกเมื่อฟันขึ้น เมื่อฟันลูกเริ่มขึ้นเด็กบางคนจะคันเหงือกหรือปวดเหงือกมาก คุณแม่สามารถหาของเล่น หรือ ผักที่มีลักษณะแข็ง ๆ เช่น แครอท […]

การดูแลทารกแรกเกิดหลังคลอด
3. หลังเกิด มีอาการอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องสังเกต และอาจต้องพาลูกมาพบแพทย์ภาวะปกติที่พบได้บ่อย เช่น สะอึก บิดตัว หายใจครืดคราดคล้ายมีน้้ามูกในจมูก อาจไม่ต้องรักษาแต่คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้โดย ใช้ลูกยางแดง ช่วยดูดน้้ามูกออก เนื่องจากทารกจะยังสั่งน้้ามูกไม่ได้ แต่หากมีอาการครืดคราดมาก หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น หอบเหนื่อย เขียว ร่วมด้วย มักต้องพามาพบแพทย์ 4. นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว มีภาวะตัวเหลือง ที่ต้องสังเกตร่วมด้วยใช่หรือไม่ใช่แล้วค่ะ ทารกหลังเกิด จะมีอาการตัวเหลืองได้ โดยมักพบในสัปดาห์แรกหลังเกิด การที่ผิวหนังมีสีเหลือง เกิดจากสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” คุณแม่จะสังเกตดูตัวเหลืองได้ โดยดูที่ตา และผิวหนังของลูก ถ้าระดับความเหลืองมากอาจจะเห็นว่าเหลืองทั้งตัว ทำไมเด็กแรกเกิดจึงตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดเม็ดเลือดแดงจะอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่ท้าให้มีการสร้างสาร“บิลิรูบิน”มากขึ้น ประกอบกับตับของเด็กแรกเกิดยังท้างานไม่เต็มที่ท้าให้ขับบิลิรูบินออกได้ไม่หมด(โดยเฉพาะในเด็กที่เกิดก่อนก้าหนดจะพบมีอาการตัวเหลืองได้มาก)

5 วิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน หนึ่งในกลไกการทำงานของร่างกายที่มีหน้าที่ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อต่างๆ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค นอกจากนี้ การมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและมีประสิทธิภาพ ยังทำให้รู้สึกชีวิตมีพลัง เกิดความกระปรี้กระเปร่า และแลดูอ่อนเยาว์สดใสอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเราสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงได้ด้วย 5 วิธีง่ายๆ ในการชีวิตประจำวัน ดังนี้ 1.หายใจให้เต็มปอด หายใจในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ โดยใช้เวลาขณะท้องว่างสัก 5 นาทีในแต่ละวัน นั่งหรือยืนในท่าที่สบาย หลังตรง หน้ามองตรง วางมือทั้งสองที่หน้าท้องบริเวณกระบังลม ใช้จมูกหายใจเข้า โดยให้ท้องป่องออกจนสุด กลั้นไว้สัก 1-2 วินาทีแล้วหายใจออกให้ท้องแฟบลง ทำอย่างผ่อนคลายแต่ให้รู้สึกถึงการผ่านของอากาศไปช่องอก การเพิ่มลมหายใจเข้าออกให้ยาวขึ้น ปอดจะได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ หากคุณรู้สึกเครียด ให้ลองหายใจโดยใช้นิ้วอุดรูจมูกข้างหนึ่งไว้ แล้วหายใจเข้ายาวๆ ด้วยจมูกอีกข้างจนสุดลม สลับการอุดรูจมูกแล้วค่อยเริ่มหายใจออก ทำสลับกันแบบนี้ 10 ครั้ง จะรู้สึกถึงความผ่อนคลาย 2.กินอาหารให้สมดุล […]

คำแนะนำสำหรับบิดา มารดา ในการดูแลทารกที่บ้าน
การทำความสะอาดร่างกายทารก ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง หลังจากทารกปัสสาวะ หรืออุจจาระ การให้นมและอาหารเสริมแก่ทารก ทารกควรได้รับเฉพาะนมมารดาจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นถึงจะให้รับประทานอาหารเสริมตามอายุของทารก อาการทั่วไปที่มักพบในเด็กทารก ขี้กลากน้ำนม คือลักษณะผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผืนแดงและบางที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เริ่มเป็นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง และกระจายไปทั่วใบหน้า การป้องกัน อาการสะอึก อาจพบภายหลังดูดนมเนื่องจากการทำงานของกระบังลม ยังไม่เป็นปกติหรือส่วนยอดของกระเพาะอาหารที่ขยายตัวจากน้ำนมและลมที่กลืนลงกระเพาะ สัมผัสกับกะบังลม หากทำการไล่ลมโดยจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที ภายหลังทารกดูดนมจนอิ่มแล้งยังมีอาการสะอึก ถือว่าเกิดจากกระบังลมทำงานไม่ปกติซึ่งไม่ต้องทำการรักษาใดๆ อาการจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น การถ่ายอุจจาระบ่อย ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว เด็กอาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอยขณะดูดนมแม่ บิดตัวหรือผายลมก็จะมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่าท้องเดินบางครั้งทารกถ่าย 7-10 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองมีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุจากนมแม่มีนมเหลือง Colostrum เจือปน ช่วยระบายท้อง กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นอาการปกติ […]

ทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัย สำหรับทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี
การทานอาหารที่เหมาะสมในช่วงวัยแรกเกิด – 1 ปี สำหรับลูกน้อย มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างมาก หากได้รับอาหารไม่เหมาะสมอาจทำให้ลูกน้อยขาดธาตุเหล็ก น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สังคม และอารมณ์ การใส่ใจในเรื่องอาหารสำหรับเด็กช่วงวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เน้นนมแม่…ตามคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ควรให้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความรัก ความผูกพัน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิด ซึ่งจากผลวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินประมาณ 7 จุด เพราะการดูดนมแม่สามารถช่วยกระตุ้นสมองของลูกน้อยได้อย่างดี รู้หรือไม่? แม่ชอบกินอาหารซ้ำๆ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงแพ้อาหาร ในช่วงที่คุณแม่กำลังให้นมลูก แพทย์แนะนำให้กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องงดอาหารใดๆ เพราะการกินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารชนิดนั้นไปด้วยยกเว้นอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น ของหมัก/ดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมนั้น จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและกิจกรรมของลูกน้อย ดังนี้… หลักโภชนาการสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย 6 เดือนแรก […]

เคล็ดลับดูแลบุตรหลาน สู่การเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ แบบปลอดภัย
เคล็ดลับดูแลบุตรหลาน สู่การเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ แบบปลอดภัย ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทั้งผู้ปกครองและบุตรหลานพากันไปใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น การศึกษาวิจัยล่าสุดโดยแคสเปอร์สกี้พบอัตราการเพิ่มจำนวนชั่วโมงออนไลน์นับได้ถึงสองชั่วโมงต่อวัน ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่าผู้ปกครองในภูมิภาคคิดเป็น 63% เห็นด้วยว่าลูกหลานของตนกำลังหันมาใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยเร่ง เช่น คลาสออนไลน์ การสอนเวอร์ชวล อีเกมมิ่ง และช่องทางความบันเทิงต่างๆ เพื่อหลีกหนีความน่าเบื่อหน่าย แม้แต่ก่อนช่วงล็อกดาวน์ เด็กๆ ก็รู้จักเทรนด์ยอดฮิตของ “influencers” ตามอินเตอร์เน็ตกันมาแล้ว ที่จริงการสำรวจโดย Morning Consult เมื่อปี 2019 เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวนมากถึง 86% ช่วงอายุ 13-38 ปี ใฝ่ฝันที่จะเป็นผู้มีอิทธิพลทางอินเตอร์เน็ต (influencer) มีความเป็นไปได้ที่ตอนนี้ตัวเลขน่าจะสูงกว่านี้แล้ว เนื่องจากเป็นช่องทางที่มีผู้มาคอยติดตามชมทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น แต่การจะฟูมฟักหรือก้าวขึ้นมาครองตำแหน่งดาวของ Youtube หรือ Instagram นั้นต้องใช้อะไรกันบ้างล่ะ งานวิจัยแคสเปอร์สกี้ ชื่อ “More Connected Than Ever Before: How We Build Our Digital Comfort […]

6 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่
6 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่ เรื่องกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คือกลัวลูกไม่สบาย ติดเชื้อ และโรคยอดฮิตอย่างภูมิแพ้ นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่เจริญเต็มที่ และข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ก็คือ 70%ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ที่ลำไส้ ดังนั้นหนึ่งในวิธีป้องกันไม่ให้ลูกป่วยคือการสร้างสมดุลให้กับจุลินทรีย์ประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหารให้ทำหน้าที่ปกป้องลูกจากเชื้อโรค และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเริ่มสร้างได้ตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรรภ์ และสามารถเสริมสร้างอย่างต่อเนื่องหลังคลอด เป็นวิธีการง่ายๆ แต่สำคัญ และสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1. เริ่มต้นที่แม่ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช รวมถึงอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ เช่น โยเกิร์ต นอกจากจะมีคุณประโยชน์ต่อคุณแม่ ยังส่งต่อคุณค่าสู่ลูกน้อยได้ ทั้งระหว่างการคลอดตามธรรมชาติและการให้นมแม่ โดยจุลินทรีย์ชนิดดีจากแม่เข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยลงไปอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 2. สัมผัสแห่งรักหลังคลอดทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรดูแลลูกด้วยการสัมผัสโอบกอดแบบเนื้อแนบเนื้อ (Kangaroo care) โดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ ที่คลอดนอกจากจะช่วยให้ลูกได้รับความอบอุ่นแล้ว ยังทำให้ร่างกายของลูกเริ่มเรียนรู้และทำความรู้จักกับจุลินทรีย์จากผิวหนังพ่อแม่ ซึ่งจำเป็นต่อการเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันของลูก 3. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แน่นอนว่านมแม่คือสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งอุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโต และยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกที่เรียกว่า Human Milk Oligosaccharides (HMOs) โดยปัจจุบันมีหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์มากมายที่ชี้ชัดถึงประโยชน์ของ HMOs โดยเฉพาะ HMOs ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ ได้แก่ 2’-FL พบว่ามีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร […]

5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน
รู้หรือเปล่าว่าทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องเข้าโรงพยาบาลในแต่ละปีนับล้านๆ คน เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ จนทำให้พ่อแม่เคร่งเครียดกับการดูแลและระมัดระวังลูกให้มากขึ้น แต่อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะเราได้รวบรวม 5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน มาฝากไว้ให้พ่อแม่อ่านแล้วลองไปสำรวจภายในบ้านกันดู เพราะนี่คือสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เด็กเจ็บตัว และต้องเข้าห้องฉุกเฉินกันทุกปี 1. เก้าอี้กินข้าวทารกที่ไม่ปลอดภัย เชื่อไหมว่ามีเด็กมากมายตกจากเก้าอี้กินข้าวทารก เพราะเก้าอี้กินข้าวนั้นไม่ปลอดภัย พ่อแม่จึงต้องคอยสังเกตลูกที่นั่งเก้าอี้กินข้าวทารกบ่อยๆ ทั้งตอนกินข้าวในบ้าน หรือนั่งเก้าอี้กินข้าวตามร้านอาหารต่างๆ และเพื่อความปลอดภัยภายในบ้าน ต้องเลือกใช้เก้าอี้กินข้าวทารกเฉพาะเวลาที่กินข้าวต่อหน้าพ่อแม่เท่านั้น ที่สำคัญคือการเลือกซื้อเก้าอี้กินข้าวที่มีเข็มขัดรัดอย่างแน่นหนาและปลอดภัย 2. ระวังจุกหลอกและถ้วยหัดดื่ม สงสัยกันใช่ไหมคะว่า จุกหลอดและถ้วยหัดดื่ม อันตรายอย่างไร ปกติแล้วถ้าลูกนั่งเล่นนิ่งๆ ก็ไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อลูกลุกขึ้นเดินไปมาพร้อมกับ 2 สิ่งนี้นี่สิอันตรายในบ้านของแท้! เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะเป็นเพราะลูกเริ่มหัดเดินเตาะแตะ แล้วล้มลงขณะที่มีจุกหลอกอยู่ในปาก แค่คิดก็น่าหวาดเสียวแล้วละ พ่อแม่จึงต้องเช็กทุกครั้งว่าลูกไม่ได้อมอะไรอยู่ในปากตอนที่กำลังเริ่มหัดเดิน 3. ต้องระวังถ่านเล็กใส่นาฬิกา ถ่านก้อนเล็กๆ ที่ใช้ใส่ในนาฬิกา หรือของเล่นต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะเด็กเริ่มหยิบจับของเล็กๆ ใส่ปาก มักจะคิดว่านี่คือขนมหวานทานได้ ด้วยขนาดของแบตเตอรี่ทรงกลม ก้อนเท่าเม็ดกระดุม ทำให้พ่อแม่หลงลืมไปว่า มันเป็นอันตราย และมักจะถูกใส่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย จึงจำเป็นจะต้องเช็กให้ละเอียดว่า […]