การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้จ้ำม่ำ

December 25, 2022

ให้ลูกกินนมแม่แต่ลูกกลับตัวเล็ก ไม่จ้ำม่ำ นับเป็นปัญหาหนักใจของคุณแม่หลายๆ ท่าน และพลอยแต่จะทำให้กังวลไปอีกสารพัด ว่า “อาจเป็นเพราะนมแม่มีสารอาหารไม่เพียงพอ… น้ำหนักเกณฑ์มาตรฐานของทารก ก่อนอื่นคุณแม่ต้องรู้ก่อนว่า การเปรียบเทียบน้ำหนักลูกของตนเองกับลูกคนอื่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเด็กแต่ละคนจะมีน้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์มาตรฐานของตัวเอง ฉะนั้น หากลูกของคุณมีน้ำหนักตัวไม่เท่ากับลูกของคนอื่น แต่เป็นไปตามด้านล่างนี้ จะถือว่าสมบูรณ์ ไม่ได้มีน้ำหนักผิดปกติแต่อย่างใด วิธีเพิ่มน้ำหนักให้ทารกแรกเกิด – 4 เดือน สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ลูกตัวเล็ก อยากจะเพิ่มน้ำหนักตัวให้ลูกจ้ำม่ำขึ้น มาดูสาเหตุที่เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ทารกแรกเกิด – 4 เดือน กินนมเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนกันก่อนเลย 1. ทารกกินนมแม่ส่วนหน้ามากเกินไป  นมแม่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันนั่นก็คือนมแม่ส่วนหน้าและนมแม่ส่วนหลัง ซึ่งนมแม่ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นมแม่ส่วนหน้า(Foremilk) นมแม่ส่วนหลัง(Hindmilk) ให้สังเกตการขับถ่ายของลูก ถ้าลูกอายุเกิน 1 เดือนแล้ว แต่ยังขับถ่ายบ่อย ลูกอึกะปริบกะปรอย มีฟอง น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่าลูกอาจได้รับนมแม่ส่วนหน้ามากเกินไป ดังนั้น ให้คุณแม่นักปั๊ม ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าทุก 2-3 ชั่วโมง นมส่วนหลังจะขยับมาทางด้านหน้ามากขึ้น ให้ลูกกินนมแม่ส่วนหลัง ส่วนนมส่วนหน้าที่่ปั๊มออกมาก่อน ให้สต็อกเก็บเอาไว้ให้ลูกกินทีหลัง  แต่สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมจากเต้า แนะนำให้คุณแม่บีบน้ำนมส่วนหน้าออกก่อนประมาณ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด 2-3 อาทิตย์

December 25, 2022

เข้าใจพัฒนาการเด็กทารกแรกเกิดในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกของลูกน้อย เข้าใจพฤติกรรมของทารกน้อยในช่วง 1 เดือนแรก และการเลี้ยงดู.. พัฒนาการลูกวัยเบบี๋แรกเกิด 2 – 3 สัปดาห์แรก  ช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกน้อยเกิดมาเป็นเวลาที่ลูกต้องปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่ มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติ ทารกเกิดมาพร้อมกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่การมองเห็นจะดีขึ้นและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ลูกจะกำมือแน่นเมื่อใส่ของในมือและจะหันไปหาทันทีเมื่อถูกเขี่ยที่แก้ม รวมทั้งจะดูดของที่เข้าไปในปาก  วิธีสื่อสาร  วิธีหลักของลูกน้อยในช่วงนี้ก็คือ การร้องไห้ ยิ่งคุณตอบสนองลูกเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้ลูกว่ามีคนรับฟังและใส่ใจดูแลอยู่ ทำให้ทารกรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น แล้วไม่นานคุณก็จะเรียนรู้เองว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร  การมองเห็น ทารกแรกเกิดยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก โดยสามารถมองเห็นได้ในระยะ 8-10 นิ้ว หรือช่วงห่างระหว่างสายตาลูกกับใบหน้าแม่ขณะอุ้มให้นมลูก และต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน สายตาจึงจะพัฒนาได้เต็มที่จนสามารถมองเห็นความลึกของวัตถุและเห็นสีสันต่างๆ ได้ การนวดสัมผัสทารกแรกเกิด การนวดสัมผัสเป็นวิธีที่ดีมากในการช่วยให้ลูกน้อยแรกเกิดของคุณผ่อนคลาย อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ทางใจระหว่างคุณกับลูก เริ่มต้นด้วยการนวดเบาๆอย่างอ่อนโยน ลูกจะแสดงอาการให้คุณทราบถ้ารู้สึกไม่สบายตัว ส่วนใหญ่ลูกมักจะผลอยหลับไประหว่างการนวดหรือทันทีที่นวดเสร็จ ดังนั้น จึงเหมาะที่จะนวดให้ลูกก่อนเวลานอนหรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ ควรใช้แต่น้ำมันบริสุทธิ์ตามธรรมชาติเพราะลูกอาจเผลอดูดกลืนน้ำมันเข้าไปได้ เช่น น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ซึ่งปลอดภัยและอ่อนโยนสำหรับผิวทารกและที่สำคัญเป็นน้ำมันที่ใช้รับประทานได้​

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง

December 23, 2022

สัญญาณอันตรายของทารก พ่อแม่รู้ไหมว่าอาการแบบไหนที่อันตราย ลูกมีลักษณะแบบไหนควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน รวมถึงวิธีการสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด สัญญาณอันตรายของทารก ที่ต้องพาไปพบแพทย์ด่วน สัญญาณอันตรายของทารก พ่อแม่รู้ไหมว่าอาการแบบไหนที่อันตราย ลูกมีลักษณะแบบไหนควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน รวมถึงวิธีการสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด 1.ริมฝีปากเขียว คนทั่วไปจะมีริมฝีปากสีชมพู แต่ถ้าลูกของคุณมีริมผีปากเป็นสีเขียว ลิ้นเขียว หรือแม้แต่เล็บออกเขียวคล้ำปนม่วง แสดงว่าลูกน้อยของคุณอาจเกิดภาวะเขียว หรือ ซัยยาโนสิส (cyanosis) เนื่องจากเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดได้ค่ะ สำหรับเด็กเล็กอาจจะมีสีเขียวคล้ำได้เมื่อถูกความเย็น แต่พอร่างกายอบอุ่นควรจะกลับมาเป็นสีชมพู หรือเวลาที่ลูกร้องจะมีหน้าตาจะเขียวคล้ำพอสงบลงก็จะกลับมาเป็นปกติ ถ้าเป็นแบบนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ หากลูกมีสีซีดไม่ยอมหาย และตัวเขียวทั่วตัว อาจเป็นไปได้ว่าเขามีปัญหาที่หัวใจหรือปอดได้ค่ะ สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย หากพบว่าวิ่งเล่นแล้วเหนื่อยง่าย และมีลิ้นเขียว ปากเขียว เล็บเขียว ก็พึงพาเด็กไปปรึกษาหมอโดยด่วน 2.หายใจถี่เร็ว การหายใจของลูกบ่งบอกถึงอันตรายได้ เช่น ถ้าลูกหายใจเหมือนนกหวีด แสดงว่ามีนมอุดตันที่จมูก ถ้าไอแหบ อาจเกิดเสมหะในหลอดลม ถ้าหายใจแหลมสูงแสดงว่าหลอดลมตีบ ซึ่งอันตรายควรพบแพทย์โดยด่วน ไอหนักระหว่างหายใจ เกิดจากหลอดลมอุดตัน หายใจเร็วอาจเกิดเสมหะในปอด หรือเกิดการติดเชื้อ หายใจเหนื่อยหอบ เกิดจากหลอดลมอุดตัน หากปล่อยไว้จะทำให้ลูกเป็นหอบเมื่อโตขึ้นได้ค่ะ โดยปกติแล้วทารกจะหายใจตามปกติที่ประมาณ 20 – 40 ครั้งต่อนาทีในขณะที่ลูกหลับ หากลูกหยุดหายใจนาน […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 2 เดือน

December 19, 2022

ดูแลให้ลูกน้อยได้เคลื่อนไหวและขยับร่างกายบนพื้นที่ว่างเป็นประจำทุกวัน เพื่อเสริมทักษะการเคลื่อนไหว และควรระวังเป็นพิเศษหากคุณมีสัตว์เลี้ยง ลูกน้อยวัย 2 เดือนคุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 เพราะคุณพ่อและคุณแม่ต่างปรับตัวได้แล้ว และเริ่มเข้าใจลูกน้อยมากขึ้นตามลำดับ ขณะที่ลูกน้อยเองก็เริ่มโต้ตอบกับคุณได้มากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงสีหน้า แน่นอนว่ารอยยิ้มของลูกน้อยทำให้คุณพ่อและคุณแม่ชื่นใจได้มาก ลูกน้อยจะสื่อสารด้วยเสียงอ้อแอ้ของเค้าออกมา ขั้นตอนง่ายๆ ในการแสดงความรักให้ลูกน้อยรับรู้ได้ คือ การสบตาและพูดกับเค้าด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน ค่อยๆ ขยับปากให้เค้าเห็นชัดๆ ใกล้ๆ และเมื่อลูกน้อยยิ้มให้คุณ พยายามสัมผัสให้เค้ารับรู้ว่าคุณเห็นและเข้าใจสิ่งที่เค้าพยายามสื่อสารกับคุณแล้ว นี่คือช่วงเวลาแห่งความผูกพันระหว่างพ่อ แม่และลูกน้อยที่มีคุณค่าและวิเศษที่สุด การให้นมลูกน้อยลูกน้อยในวัยนี้แสดงอาการหิวได้ชัดเจนขึ้น เป็นช่วงที่เค้าพยายามกำหนดช่วงเวลาการกินนมด้วยตัวเอง คุณเพียงแต่ทำตามและป้อนนมเมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยให้สัญญาณ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ อาจจะต้องสลับเต้านมทั้งสองข้างในการป้อนลูกรัก การให้นมลูกช่วงเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยยังตื่นขึ้นมากินนมในตอนกลางคืนอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาวนานกว่าเดิม เป็น 5-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนนานขึ้นด้วย การนอนของเจ้าตัวเล็กลูกน้อยเริ่มนอนอย่างมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานขึ้นจากเดิมที่นอนทุกๆ 1-3 ชั่วโมง ลูกน้อยจะเริ่มงีบหลังจากกินนมอิ่มแล้วประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่ช่วยเตรียมลูกน้อยด้วยการจัดที่นอนสบายๆ และสร้างบรรยากาศการนอนหลังป้อนนมแล้ว เด็กวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนนานขึ้นเป็น 9-18 ชั่วโมงต่อวัน พฤติกรรมของหนูช่วงที่คุณพ่อและคุณแม่หนักใจมากที่สุด คือ การที่ลูกน้อยเริ่มร้องไห้บ่อยขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ ลูกน้อยวัยนี้ใช้การร้องเพื่อสื่อถึงความต้องการบางอย่าง […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

คำแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

December 17, 2022

ควรอาบน้ำและสระผมให้เด็กด้วยน้ำอุ่นทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วงระหว่างมื้อนม (ช่วงหลังทานนมไปแล้วประมาณ 2ชั่วโมง เพื่อป้องกันเด็กอาเจียน หรือ … ข้อปฏิบัติ..ในการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ สามารถให้เด็กดูดได้ทุกๆ 3 ชั่วโมง โดยดูดจากทั้ง 2 เต้า ข้างละประมาณ 10-15 นาที ในมื้อถัดไปให้เริ่มดูดข้างที่ดูดสุดท้ายของมื้อที่แล้วก่อน การสังเกตว่าจะมีน้ำนมเพียงพอต่อบุตรหรือไม่ ดูได้จากขณะที่เด็กดูดนมข้างใดข้างหนึ่งจะมีน้ำนมออกจากเต้าอีกข้างด้วย และดูเวลานอนของเด็กถ้าเด็กนอนได้ 2-3ชั่วโมงในแต่ละมื้อ แสดงว่าน้ำนมมารดามีความเพียงพอสำหรับลูกแล้ว สุดท้ายก็ดูจากน้ำหนักของเด็กเมื่อมาตรวจร่างกายตามนัด ข้อปฏิบัติ..ในการเลี้ยงลูกด้วยนมผง นมแม่เป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ถ้าแม่ไม่สามารถให้นมเองได้หรือน้ำนมไม่เพียงพอ อาจจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้.. ส่วนผสมของนม : นม 1 ช้อน ต่อ น้ำต้มสุก 1 ออนซ์ หรือ นม 1 ช้อน ต่อ น้ำต้มสุก 2 ออนซ์ แล้วแต่ชนิดของนมผง วิธีการชง : นำน้ำต้มสุกที่อุ่นใส่ขวดนมให้ได้ปริมาณออนซ์ที่ถูกต้อง จากนั้นปิดจุกขวดนมแล้วเขย่าให้นมละลาย ก่อนให้เด็กดูดทดสอบโดยหยดลงบนหลังมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับนมที่ร้อนเกินไป ข้อปฏิบัติ..เกี่ยวกับเวลาในการให้นมบุตร […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกหลังคลอด

December 15, 2022

ทารกแรกเกิด คือ ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 28 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับตัวอย่างมาก. จากสภาพแวดล้อมจากบรรยากาศที่อบอุ่นในครรภ์มารดา ออกมา  เรื่องพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอดลูกน้อย ขณะกำลังพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลถึงวิธีการดูแลทารกในขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของทารกแรกเกิด และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของทารกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ รวมไปถึงเรียนรู้รายละเอียดสำคัญและพื้นฐานต่าง ๆ ในการดูแลเด็กแรกเกิดดังนี้ การอุ้ม การอุ้มทารกด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสเกิดอันตราย และการสัมผัสยังช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและความอบอุ่นระหว่างผู้ดูแลและทารกด้วย ซึ่งวิธีการอุ้มที่ถูกต้องมีดังนี้ การให้นมทารก ทารกอาจต้องการดูดนมมากเป็นพิเศษในช่วงแรกเกิด คุณแม่อาจต้องให้นมบ่อยครั้ง หรือควรให้นมในปริมาณที่เด็กต้องการ ในสัปดาห์แรก ๆ ควรให้นมประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยสังเกตอาการหิวของทารกได้จากการอมนิ้วหรืออยู่ไม่สุข ขณะให้นมทารกจะอยู่นิ่งและมีท่าทีผ่อนคลาย โดยคางของทารกจะต้องสัมผัสกับหน้าอก ปากล่างจะอยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็นและจมูกของทารกจะต้องไม่กดทับไปกับหน้าอก หากทารกอิ่มจะสังเกตได้ว่าเด็กจะถอยห่างออกจากเต้านม หน้าอกของคุณแม่จะนุ่มขึ้น ทารกอาจมีท่าทีผ่อนคลายหรือง่วงหลังการให้นม ทั้งนี้การเข้าอบรมก่อนคลอดจะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดท่าทางขณะให้นมได้อย่างถูกต้อง รู้ถึงวิธีการกระตุ้นให้น้ำนมไหลรวมถึงจัดการกับปัญหาในการให้นมบุตรได้ โดยในช่วงสัปดาห์แรก น้ำหนักตัวของทารกจะลดลงก่อนจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การไล่ลม ลมจำนวนมากจะเข้าสู่ร่างกายของทารกจากการกลืนลมในระหว่างการให้นม ในบางครั้งอาจเกิดได้จากระบบการย่อยอาหารอีกด้วย ซึ่งลมจำนวนมากในท้องอาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว ดิ้นและร้องไห้ จึงควรไล่ลมทุก ๆ การดื่มนมขวดประมาณ 2 ออนซ์หรือทุกครั้งหลังดูดนมจากเต้า ซึ่งผู้ดูแลสามารถไล่ลมให้ทารกได้ด้วยวิธีและท่าทางการอุ้มต่าง ๆ ดังนี้  หากทารกไม่เรอภายในเวลา 2-3 […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิด

December 11, 2022

เด็กทารก, ทารกแรกเกิด, การดูแล, พัฒนาการทารก, นมแม่, ดูแลลูกน้อยแรกเกิด, คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ … ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน … การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่และคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอดจะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่  เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้

December 11, 2022

การดูแลทารกแรกเกิดอาจเป็นเรื่องน่ากังวลใจสำหรับพ่อแม่มือใหม่ และการเตรียมพร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ไม่น้อย ทั้งการวางแผนคลอด เสื้อผ้า เรื่องพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอดลูกน้อย ขณะกำลังพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลถึงวิธีการดูแลทารกในขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของทารกแรกเกิด และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของทารกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ รวมไปถึงเรียนรู้รายละเอียดสำคัญและพื้นฐานต่าง ๆ ในการดูแลเด็กแรกเกิดดังนี้ การอุ้ม การอุ้มทารกด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสเกิดอันตราย และการสัมผัสยังช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและความอบอุ่นระหว่างผู้ดูแลและทารกด้วย ซึ่งวิธีการอุ้มที่ถูกต้องมีดังนี้ การให้นมทารก ทารกอาจต้องการดูดนมมากเป็นพิเศษในช่วงแรกเกิด คุณแม่อาจต้องให้นมบ่อยครั้ง หรือควรให้นมในปริมาณที่เด็กต้องการ ในสัปดาห์แรก ๆ ควรให้นมประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยสังเกตอาการหิวของทารกได้จากการอมนิ้วหรืออยู่ไม่สุข ขณะให้นมทารกจะอยู่นิ่งและมีท่าทีผ่อนคลาย โดยคางของทารกจะต้องสัมผัสกับหน้าอก ปากล่างจะอยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็นและจมูกของทารกจะต้องไม่กดทับไปกับหน้าอก หากทารกอิ่มจะสังเกตได้ว่าเด็กจะถอยห่างออกจากเต้านม หน้าอกของคุณแม่จะนุ่มขึ้น ทารกอาจมีท่าทีผ่อนคลายหรือง่วงหลังการให้นม ทั้งนี้การเข้าอบรมก่อนคลอดจะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดท่าทางขณะให้นมได้อย่างถูกต้อง รู้ถึงวิธีการกระตุ้นให้น้ำนมไหลรวมถึงจัดการกับปัญหาในการให้นมบุตรได้ โดยในช่วงสัปดาห์แรก น้ำหนักตัวของทารกจะลดลงก่อนจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การไล่ลม ลมจำนวนมากจะเข้าสู่ร่างกายของทารกจากการกลืนลมในระหว่างการให้นม ในบางครั้งอาจเกิดได้จากระบบการย่อยอาหารอีกด้วย ซึ่งลมจำนวนมากในท้องอาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว ดิ้นและร้องไห้ จึงควรไล่ลมทุก ๆ การดื่มนมขวดประมาณ 2 ออนซ์หรือทุกครั้งหลังดูดนมจากเต้า ซึ่งผู้ดูแลสามารถไล่ลมให้ทารกได้ด้วยวิธีและท่าทางการอุ้มต่าง ๆ ดังนี้  หากทารกไม่เรอภายในเวลา 2-3 นาทีหลังการไล่ลมควรเปลี่ยนท่าอุ้มไล่ลมแล้วค่อยให้ทารกกินนมต่อ ควรไล่ลมให้ทารกทุกครั้งหลังให้นมเสร็จและควรจัดท่าทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 2 เดือน

December 2, 2022

เด็กทารกวัย 2 เดือนต้องการอะไร พัฒนาการทารกในวัย 2 เดือนนี้ มีการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง ต้องรับมือเรื่องอาหาร วิธีการให้นม การเลี้ยงดู และการสื่อสารกับลูกวัย … ลูกน้อยวัย 2 เดือนคุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 เพราะคุณพ่อและคุณแม่ต่างปรับตัวได้แล้ว และเริ่มเข้าใจลูกน้อยมากขึ้นตามลำดับ ขณะที่ลูกน้อยเองก็เริ่มโต้ตอบกับคุณได้มากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงสีหน้า แน่นอนว่ารอยยิ้มของลูกน้อยทำให้คุณพ่อและคุณแม่ชื่นใจได้มาก ลูกน้อยจะสื่อสารด้วยเสียงอ้อแอ้ของเค้าออกมา ขั้นตอนง่ายๆ ในการแสดงความรักให้ลูกน้อยรับรู้ได้ คือ การสบตาและพูดกับเค้าด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน ค่อยๆ ขยับปากให้เค้าเห็นชัดๆ ใกล้ๆ และเมื่อลูกน้อยยิ้มให้คุณ พยายามสัมผัสให้เค้ารับรู้ว่าคุณเห็นและเข้าใจสิ่งที่เค้าพยายามสื่อสารกับคุณแล้ว นี่คือช่วงเวลาแห่งความผูกพันระหว่างพ่อ แม่และลูกน้อยที่มีคุณค่าและวิเศษที่สุด การให้นมลูกน้อยลูกน้อยในวัยนี้แสดงอาการหิวได้ชัดเจนขึ้น เป็นช่วงที่เค้าพยายามกำหนดช่วงเวลาการกินนมด้วยตัวเอง คุณเพียงแต่ทำตามและป้อนนมเมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยให้สัญญาณ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ อาจจะต้องสลับเต้านมทั้งสองข้างในการป้อนลูกรัก การให้นมลูกช่วงเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยยังตื่นขึ้นมากินนมในตอนกลางคืนอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาวนานกว่าเดิม เป็น 5-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนนานขึ้นด้วย การนอนของเจ้าตัวเล็กลูกน้อยเริ่มนอนอย่างมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานขึ้นจากเดิมที่นอนทุกๆ 1-3 ชั่วโมง ลูกน้อยจะเริ่มงีบหลังจากกินนมอิ่มแล้วประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่ช่วยเตรียมลูกน้อยด้วยการจัดที่นอนสบายๆ และสร้างบรรยากาศการนอนหลังป้อนนมแล้ว เด็กวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนนานขึ้นเป็น 9-18 […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิด

November 28, 2022

ทารกแรกเกิดแหวะนมเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นภาวะปกติ เพราะหูรูดของกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง ควรปรับการให้นมใหม่ โดยให้ทารกดูดนมในปริมาณน้อยๆ แต่ดูดบ่อยขึ้น และอุ้มเรอ  การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่  เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอด และให้ดูด 8-12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว การให้นมลูกควรให้ในสถานที่ที่สงบและสะอาด ควรนวดเต้านมและลานหัวนมให้นิ่ม และบีบน้ำนมออกประมาณ 2-3 หยดก่อนให้ลูกดูด จัดท่าทางให้สบาย โดยคุณแม่อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัว ให้ปากของลูกอยู่ตรงหัวนม มืออีกข้างประคองเต้านม แล้วใช้หัวนมกระตุ้นริมฝีปากลูกให้ลูกอ้าปาก […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 1 เดือน

November 26, 2022

ในช่วงเดือนแรก ควรป้อนนมทารกอย่างน้อย 6 ครั้งในแต่ละวัน หรือ 12 ครั้งต่อวันถ้าให้นมแม่ ระวังอย่าป้อนนมลูกในแต่ละครั้งมากเกินไป คอยสังเกตอาการของลูกน้อย ลูกน้อยวัย 1 เดือนเมื่อมีสมาชิกตัวน้อยๆ เพิ่มเข้ามาในครอบครัว ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบ้าน แทบจะเรียกได้ว่าทุกวินาทีที่ผ่านไปรวดเร็วจนอาจจะตั้งตัวไม่ทัน และบางครั้งก็อาจทำให้คุณแม่กังวลมากจนแทบจะไม่มีเวลาทำสิ่งอื่นนอกจากการดูแลลูก ลูกน้อยวัย 1 เดือน ต้องการการดูแลใกล้ชิดอย่างมาก เพราะยังหัดทำอะไรเป็นตารางเวลาไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องการนอน ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมการนอนและตื่นได้ ลูกน้อยจะตื่นมาหลังจากนอนได้เพียง 2-3 ชั่วโมง และพร้อมกินนมก่อนจะนอนหลับต่อในเวลาต่อมาไม่นาน การให้นมลูกน้อยในช่วงเดือนแรก ควรป้อนนมทารกอย่างน้อย 6 ครั้งในแต่ละวัน หรือ 12 ครั้งต่อวันถ้าให้นมแม่ ระวังอย่าป้อนนมลูกในแต่ละครั้งมากเกินไป คอยสังเกตอาการของลูกน้อยเมื่อรู้สึกอิ่ม เพื่อปรับปริมาณและเวลาที่ป้อนนมให้เหมาะสม การนอนเดือนแรกนี้ลูกน้อยจะใช้เวลานอนค่อนข้างมาก เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเริ่มง่วง ควรให้ลูกนอนพักในเปลหรือเตียง ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มง่วงและหลับสนิทหลังจากการป้อนนมได้ไม่นานนัก คุณแม่อาจจะเห็นลูกน้อยวัย 1 เดือนยิ้มเป็นครั้งแรกในช่วงวัยนี้ แต่สิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นเพียงการแสดงออกของกล้ามเนื้อบนใบหน้ามากกว่า ซึ่งรอยยิ้มของลูกน้อยจริงๆ จะมีต่อเมื่อผ่าน 6 สัปดาห์ไปแล้ว และทารกบางคนอาจจะมีอาการโคลิกหรือร้องกวนมากขึ้นเพื่อฝึกการทำงานของปอด อาการร้องไห้ไม่หยุดนี้ทำให้พ่อแม่มือใหม่หลายคนกังวลใจมาก เพราะไม่รู้วิธีรับมือกับเรื่องนี้ สิ่งที่ทำได้ง่ายมากๆ คือ การปลอบลูกน้อยด้วยความอ่อนโยน พัฒนาการของทารกเมื่อแรกเกิดลูกน้อยจะจ้องมองหน้าแม่และหันตามได้ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การรับมือกับทารกแรกเกิด

November 26, 2022

การรับมือกับทารกแรกเกิด : นมแม่คือลูกคือสุดยอดอาหารสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าลูกควรได้รับนมแม่ตลอดช่วงหกเดือนแรกจนถึงอายุ 2 ปีหรือกว่าแม่จะ… การรับมือกับทารกแรกเกิด มีความท้าทายอยู่มากมายเลยค่ะสำหรับการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นการพักฟื้นหลังคลอด การให้นมและการกล่อมลูกน้อย สิ่งเหล่านี้นำไปคุณพ่อคุณแม่ไปสู่การอดหลับอดนอนและเหนื่อยล้า มีผลให้คุณพ่อคุณแม่มีอาการสมองตื้อและอารมณ์แปรปรวนได้ค่ะ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้การสร้างความผูกพันธ์กับลูกน้อยต้องใช้เวลานานกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คาดการณ์ไว้นั่นเอง นอกเหนือจากการปรับตัวให้เข้ากับลูกน้อยแล้ว คุณแม่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนความรู้สึก และดูแลรูปลักษณ์ของตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ในขณะที่ต้องหาเวลามาดูแลเจ้าตัวน้อยไปด้วยในเวลาเดียวกัน อีกทั้งคุณแม่ยังจะต้องปรับตัวกับความสัมพันธ์ในชีวิตที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ไม่ใช่แค่คุณพ่อนะคะ รวมไปถึงคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการกับจัดการกับมันสักหน่อย และในช่วงเวลาที่เลี้ยงลูกน้อยอาจก่อให้เกิดความเครียดและสร้างความกดดันให้กับคุณแม่ได้ค่ะ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความท้าทายส่วนหนึ่งที่คุณแม่หลายคนต้องเผชิญค่ะ แต่บ่อยครั้งที่คุณแม่ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเลี้ยงดูลูก หรือ ขอคำปรึกษาด้านอารมณ์ในช่วงแรก ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ตามมาภายหลัง ทำให้คุณพ่อ คุณแม่และลูกน้อยต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะความเครียดที่มากขึ้นค่ะ แต่อย่าพึ่งกังวลไปนะคะ เพราะยังมีเคล็ดลับและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยจัดการให้ช่วงเวลาของการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีดังต่อไปนี้ • หาเวลาพักผ่อนให้กับตัวเองบ้างนะคะ ในช่วงเวลาที่ลูกหลับอาจให้คนในบ้านมาช่วยแทนมือสักครู่ ออกไปนั่งพัก ทานข้าว อาบน้ำ หรือนอนหลับสักงีบจะได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ• พยายามอย่ากดดันตัวเองว่าจะต้องเป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดมากเกินไปนะคะ ความสะอาดและความปลอดภัยย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อย หากแต่บางครั้งคุณแม่คุณพ่อมือใหม่อาจยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงรู้สึกว่าทุกๆอย่างจะต้องดีที่สุด พาลให้คุณพ่อคุณแม่กังวลไปสารพัดทำให้คนรอบข้างที่อยากช่วยเหลือจะรู้สึกอึดอัดในการยื่นมือเข้าช่วยด้วยนะคะ • การเลี้ยงลูกไม่มีอะไรเป็นสูตรตายตัว ดังนั้นหากเราให้คนที่บ้านช่วยเลี้ยง หรือพ่อแม่เราช่วยเลี้ยง ค่อยพูดค่อยจาถ้อยทีถ้อยอาศัย […]