Tag: การดูแลเด็กแรกเกิด

13 เคล็ดลับการดูแลทารกแรกเกิด
ความท้าทายมีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก วิธีให้อาหารเด็กอย่างเหมาะสม และตัวเลือกอื่นๆ อีกมากมายสำหรับผู้ปกครองในการเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด … แนวทางพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิดกุมารแพทย์บางคนเสนอ “การนัดพบก่อนคลอด” ซึ่งผู้ปกครองสามารถกำหนดแผนการคลอดและการดูแลโดยละเอียดภายใต้คำแนะนำของแพทย์ คำแนะนำทั่วไปบางส่วนมีดังนี้ ตามแนวทางปฏิบัติของสมาคมโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก โรคตับ และโภชนาการแห่งอเมริกาเหนือ (NASPGHAN) ปี 2018 สำหรับภาวะกรดไหลย้อนในเด็ก ขั้นตอนแรกในการลดความถี่ของการไหลย้อนในทารกแรกเกิดคือการหลีกเลี่ยงการให้อาหารมากไป (1)(2) วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการป้อนมากเกินไปคือการลดปริมาณการป้อนแต่ละครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความถี่ในการป้อน มิฉะนั้น ไม่มีทางที่ผิดในการเรอทารก อุ้มลูกน้อยของคุณนั่งบนตักหรือคุกเข่า ประคองหน้าอกและศีรษะของลูกน้อยด้วยมือเดียว ประคองคางของทารกไว้ในอุ้งมือ ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อมือตามภาพด้านล่างเพื่อลูบหลังลูกน้อย ตำแหน่งมือเพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณเรอตามที่พ่อแม่หลายๆ คนรายงานว่า เมื่อทารกเรอ เขา/เธอมีโอกาสน้อยที่จะสำรอกหรือกรดไหลย้อน แต่ในความเป็นจริง การเรอบ่อยๆ นั้นเป็นไปได้มาก เพราะจะทำให้ทารกมีเวลามากขึ้นในการประมวลผลการดูดนม ในขณะเดียวกัน การเรอบ่อยจะทำลายปริมาณการให้อาหารแต่ละครั้ง ทำให้มีเวลาย่อยอาหารมากขึ้น เจ้าหน้าที่พยาบาลมักจะสอนวิธีการอาบน้ำฟองน้ำที่ถูกต้องให้กับทารกแรกเกิด การอาบน้ำฟองน้ำทารกครั้งแรกควรเกิดขึ้นที่หรือหลัง 24 ชั่วโมงของชีวิตทารก (ตามระเบียบการของ WHO) เพื่อป้องกันความเครียดจากความเย็น (3) โฆษณา เพื่อลดความเสี่ยงของ SIDS เพิ่มเติม แนวปฏิบัติของ American Academy of Pediatrics (AAP) […]

การดูแลทารกแรกเกิด
การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อน… การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่และคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอดจะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม […]

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด
การบริหารร่างกายหลังคลอด · การให้นมบุตร · ท่าอุ้มในการให้นม ควรนั่งเก้าอี้อยู่ในท่าสบาย ทั้งแขนและหลัง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง และอาการอ่อนล้าจากการให้นมบุตร การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในระยะหลังคลอด อวัยวะต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จะเริ่มกลับคืนมาสู่สภาวะปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิมได้ เช่น ท้องลาย รูปร่าง ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังคลอดใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่คุณแม่หลังคลอดทำได้ คุณแม่หลังคลอดสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังนี้ การบริหารร่างกายหลังคลอด การวางแผนครอบครัว ปกติควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และปรึกษาการวางแผนครอบครัว เมื่อกลับมาตรวจหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ห่วงอนามัย หรือถุงยางอนามัย หรือ ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดทันทีในกรณีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือกลับมาทำภายหลังคือ ผ่าตัดทำหมันผ่านกล้อง ซึ่งเจ็บตัวน้อยและฟื้นตัวไว

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้จ้ำม่ำ
ให้ลูกกินนมแม่แต่ลูกกลับตัวเล็ก ไม่จ้ำม่ำ นับเป็นปัญหาหนักใจของคุณแม่หลายๆ ท่าน และพลอยแต่จะทำให้กังวลไปอีกสารพัด ว่า “อาจเป็นเพราะนมแม่มีสารอาหารไม่เพียงพอ… น้ำหนักเกณฑ์มาตรฐานของทารก ก่อนอื่นคุณแม่ต้องรู้ก่อนว่า การเปรียบเทียบน้ำหนักลูกของตนเองกับลูกคนอื่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเด็กแต่ละคนจะมีน้ำหนักตัวเป็นเกณฑ์มาตรฐานของตัวเอง ฉะนั้น หากลูกของคุณมีน้ำหนักตัวไม่เท่ากับลูกของคนอื่น แต่เป็นไปตามด้านล่างนี้ จะถือว่าสมบูรณ์ ไม่ได้มีน้ำหนักผิดปกติแต่อย่างใด วิธีเพิ่มน้ำหนักให้ทารกแรกเกิด – 4 เดือน สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ลูกตัวเล็ก อยากจะเพิ่มน้ำหนักตัวให้ลูกจ้ำม่ำขึ้น มาดูสาเหตุที่เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ทารกแรกเกิด – 4 เดือน กินนมเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนกันก่อนเลย 1. ทารกกินนมแม่ส่วนหน้ามากเกินไป นมแม่แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันนั่นก็คือนมแม่ส่วนหน้าและนมแม่ส่วนหลัง ซึ่งนมแม่ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นมแม่ส่วนหน้า(Foremilk) นมแม่ส่วนหลัง(Hindmilk) ให้สังเกตการขับถ่ายของลูก ถ้าลูกอายุเกิน 1 เดือนแล้ว แต่ยังขับถ่ายบ่อย ลูกอึกะปริบกะปรอย มีฟอง น้ำหนักไม่ขึ้น แสดงว่าลูกอาจได้รับนมแม่ส่วนหน้ามากเกินไป ดังนั้น ให้คุณแม่นักปั๊ม ปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าทุก 2-3 ชั่วโมง นมส่วนหลังจะขยับมาทางด้านหน้ามากขึ้น ให้ลูกกินนมแม่ส่วนหลัง ส่วนนมส่วนหน้าที่่ปั๊มออกมาก่อน ให้สต็อกเก็บเอาไว้ให้ลูกกินทีหลัง แต่สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมจากเต้า แนะนำให้คุณแม่บีบน้ำนมส่วนหน้าออกก่อนประมาณ […]

เลี้ยงเด็กทารกแรกเกิด 2-3 อาทิตย์
เข้าใจพัฒนาการเด็กทารกแรกเกิดในช่วง 2-3 อาทิตย์แรกของลูกน้อย เข้าใจพฤติกรรมของทารกน้อยในช่วง 1 เดือนแรก และการเลี้ยงดู.. พัฒนาการลูกวัยเบบี๋แรกเกิด 2 – 3 สัปดาห์แรก ช่วงสัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกน้อยเกิดมาเป็นเวลาที่ลูกต้องปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับโลกใหม่ มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติ ทารกเกิดมาพร้อมกับปฏิกิริยาสะท้อนกลับตามธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นก่อนที่การมองเห็นจะดีขึ้นและกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ลูกจะกำมือแน่นเมื่อใส่ของในมือและจะหันไปหาทันทีเมื่อถูกเขี่ยที่แก้ม รวมทั้งจะดูดของที่เข้าไปในปาก วิธีสื่อสาร วิธีหลักของลูกน้อยในช่วงนี้ก็คือ การร้องไห้ ยิ่งคุณตอบสนองลูกเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้ลูกว่ามีคนรับฟังและใส่ใจดูแลอยู่ ทำให้ทารกรู้สึกมั่นคงปลอดภัยมากขึ้น แล้วไม่นานคุณก็จะเรียนรู้เองว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร การมองเห็น ทารกแรกเกิดยังมองเห็นได้ไม่ชัดนัก โดยสามารถมองเห็นได้ในระยะ 8-10 นิ้ว หรือช่วงห่างระหว่างสายตาลูกกับใบหน้าแม่ขณะอุ้มให้นมลูก และต้องใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน สายตาจึงจะพัฒนาได้เต็มที่จนสามารถมองเห็นความลึกของวัตถุและเห็นสีสันต่างๆ ได้ การนวดสัมผัสทารกแรกเกิด การนวดสัมผัสเป็นวิธีที่ดีมากในการช่วยให้ลูกน้อยแรกเกิดของคุณผ่อนคลาย อีกทั้งยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ทางใจระหว่างคุณกับลูก เริ่มต้นด้วยการนวดเบาๆอย่างอ่อนโยน ลูกจะแสดงอาการให้คุณทราบถ้ารู้สึกไม่สบายตัว ส่วนใหญ่ลูกมักจะผลอยหลับไประหว่างการนวดหรือทันทีที่นวดเสร็จ ดังนั้น จึงเหมาะที่จะนวดให้ลูกก่อนเวลานอนหรือหลังอาบน้ำเสร็จใหม่ๆ ควรใช้แต่น้ำมันบริสุทธิ์ตามธรรมชาติเพราะลูกอาจเผลอดูดกลืนน้ำมันเข้าไปได้ เช่น น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ ซึ่งปลอดภัยและอ่อนโยนสำหรับผิวทารกและที่สำคัญเป็นน้ำมันที่ใช้รับประทานได้

สัญญาณอันตรายของทารก อาการผิดปกติของทารกที่พ่อแม่ควรระวัง
สัญญาณอันตรายของทารก พ่อแม่รู้ไหมว่าอาการแบบไหนที่อันตราย ลูกมีลักษณะแบบไหนควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน รวมถึงวิธีการสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด สัญญาณอันตรายของทารก ที่ต้องพาไปพบแพทย์ด่วน สัญญาณอันตรายของทารก พ่อแม่รู้ไหมว่าอาการแบบไหนที่อันตราย ลูกมีลักษณะแบบไหนควรพาไปพบแพทย์โดยด่วน รวมถึงวิธีการสังเกตอาการลูกอย่างละเอียด 1.ริมฝีปากเขียว คนทั่วไปจะมีริมฝีปากสีชมพู แต่ถ้าลูกของคุณมีริมผีปากเป็นสีเขียว ลิ้นเขียว หรือแม้แต่เล็บออกเขียวคล้ำปนม่วง แสดงว่าลูกน้อยของคุณอาจเกิดภาวะเขียว หรือ ซัยยาโนสิส (cyanosis) เนื่องจากเป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดได้ค่ะ สำหรับเด็กเล็กอาจจะมีสีเขียวคล้ำได้เมื่อถูกความเย็น แต่พอร่างกายอบอุ่นควรจะกลับมาเป็นสีชมพู หรือเวลาที่ลูกร้องจะมีหน้าตาจะเขียวคล้ำพอสงบลงก็จะกลับมาเป็นปกติ ถ้าเป็นแบบนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ หากลูกมีสีซีดไม่ยอมหาย และตัวเขียวทั่วตัว อาจเป็นไปได้ว่าเขามีปัญหาที่หัวใจหรือปอดได้ค่ะ สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย หากพบว่าวิ่งเล่นแล้วเหนื่อยง่าย และมีลิ้นเขียว ปากเขียว เล็บเขียว ก็พึงพาเด็กไปปรึกษาหมอโดยด่วน 2.หายใจถี่เร็ว การหายใจของลูกบ่งบอกถึงอันตรายได้ เช่น ถ้าลูกหายใจเหมือนนกหวีด แสดงว่ามีนมอุดตันที่จมูก ถ้าไอแหบ อาจเกิดเสมหะในหลอดลม ถ้าหายใจแหลมสูงแสดงว่าหลอดลมตีบ ซึ่งอันตรายควรพบแพทย์โดยด่วน ไอหนักระหว่างหายใจ เกิดจากหลอดลมอุดตัน หายใจเร็วอาจเกิดเสมหะในปอด หรือเกิดการติดเชื้อ หายใจเหนื่อยหอบ เกิดจากหลอดลมอุดตัน หากปล่อยไว้จะทำให้ลูกเป็นหอบเมื่อโตขึ้นได้ค่ะ โดยปกติแล้วทารกจะหายใจตามปกติที่ประมาณ 20 – 40 ครั้งต่อนาทีในขณะที่ลูกหลับ หากลูกหยุดหายใจนาน […]

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 2 เดือน
ดูแลให้ลูกน้อยได้เคลื่อนไหวและขยับร่างกายบนพื้นที่ว่างเป็นประจำทุกวัน เพื่อเสริมทักษะการเคลื่อนไหว และควรระวังเป็นพิเศษหากคุณมีสัตว์เลี้ยง ลูกน้อยวัย 2 เดือนคุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 เพราะคุณพ่อและคุณแม่ต่างปรับตัวได้แล้ว และเริ่มเข้าใจลูกน้อยมากขึ้นตามลำดับ ขณะที่ลูกน้อยเองก็เริ่มโต้ตอบกับคุณได้มากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงสีหน้า แน่นอนว่ารอยยิ้มของลูกน้อยทำให้คุณพ่อและคุณแม่ชื่นใจได้มาก ลูกน้อยจะสื่อสารด้วยเสียงอ้อแอ้ของเค้าออกมา ขั้นตอนง่ายๆ ในการแสดงความรักให้ลูกน้อยรับรู้ได้ คือ การสบตาและพูดกับเค้าด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน ค่อยๆ ขยับปากให้เค้าเห็นชัดๆ ใกล้ๆ และเมื่อลูกน้อยยิ้มให้คุณ พยายามสัมผัสให้เค้ารับรู้ว่าคุณเห็นและเข้าใจสิ่งที่เค้าพยายามสื่อสารกับคุณแล้ว นี่คือช่วงเวลาแห่งความผูกพันระหว่างพ่อ แม่และลูกน้อยที่มีคุณค่าและวิเศษที่สุด การให้นมลูกน้อยลูกน้อยในวัยนี้แสดงอาการหิวได้ชัดเจนขึ้น เป็นช่วงที่เค้าพยายามกำหนดช่วงเวลาการกินนมด้วยตัวเอง คุณเพียงแต่ทำตามและป้อนนมเมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยให้สัญญาณ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ อาจจะต้องสลับเต้านมทั้งสองข้างในการป้อนลูกรัก การให้นมลูกช่วงเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยยังตื่นขึ้นมากินนมในตอนกลางคืนอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาวนานกว่าเดิม เป็น 5-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนนานขึ้นด้วย การนอนของเจ้าตัวเล็กลูกน้อยเริ่มนอนอย่างมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานขึ้นจากเดิมที่นอนทุกๆ 1-3 ชั่วโมง ลูกน้อยจะเริ่มงีบหลังจากกินนมอิ่มแล้วประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่ช่วยเตรียมลูกน้อยด้วยการจัดที่นอนสบายๆ และสร้างบรรยากาศการนอนหลังป้อนนมแล้ว เด็กวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนนานขึ้นเป็น 9-18 ชั่วโมงต่อวัน พฤติกรรมของหนูช่วงที่คุณพ่อและคุณแม่หนักใจมากที่สุด คือ การที่ลูกน้อยเริ่มร้องไห้บ่อยขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ ลูกน้อยวัยนี้ใช้การร้องเพื่อสื่อถึงความต้องการบางอย่าง […]

คำแนะนำการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน
ควรอาบน้ำและสระผมให้เด็กด้วยน้ำอุ่นทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง ในช่วงระหว่างมื้อนม (ช่วงหลังทานนมไปแล้วประมาณ 2ชั่วโมง เพื่อป้องกันเด็กอาเจียน หรือ … ข้อปฏิบัติ..ในการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ สามารถให้เด็กดูดได้ทุกๆ 3 ชั่วโมง โดยดูดจากทั้ง 2 เต้า ข้างละประมาณ 10-15 นาที ในมื้อถัดไปให้เริ่มดูดข้างที่ดูดสุดท้ายของมื้อที่แล้วก่อน การสังเกตว่าจะมีน้ำนมเพียงพอต่อบุตรหรือไม่ ดูได้จากขณะที่เด็กดูดนมข้างใดข้างหนึ่งจะมีน้ำนมออกจากเต้าอีกข้างด้วย และดูเวลานอนของเด็กถ้าเด็กนอนได้ 2-3ชั่วโมงในแต่ละมื้อ แสดงว่าน้ำนมมารดามีความเพียงพอสำหรับลูกแล้ว สุดท้ายก็ดูจากน้ำหนักของเด็กเมื่อมาตรวจร่างกายตามนัด ข้อปฏิบัติ..ในการเลี้ยงลูกด้วยนมผง นมแม่เป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ถ้าแม่ไม่สามารถให้นมเองได้หรือน้ำนมไม่เพียงพอ อาจจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้.. ส่วนผสมของนม : นม 1 ช้อน ต่อ น้ำต้มสุก 1 ออนซ์ หรือ นม 1 ช้อน ต่อ น้ำต้มสุก 2 ออนซ์ แล้วแต่ชนิดของนมผง วิธีการชง : นำน้ำต้มสุกที่อุ่นใส่ขวดนมให้ได้ปริมาณออนซ์ที่ถูกต้อง จากนั้นปิดจุกขวดนมแล้วเขย่าให้นมละลาย ก่อนให้เด็กดูดทดสอบโดยหยดลงบนหลังมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับนมที่ร้อนเกินไป ข้อปฏิบัติ..เกี่ยวกับเวลาในการให้นมบุตร […]

การดูแลทารกหลังคลอด
ทารกแรกเกิด คือ ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 28 วัน ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับตัวอย่างมาก. จากสภาพแวดล้อมจากบรรยากาศที่อบอุ่นในครรภ์มารดา ออกมา เรื่องพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอดลูกน้อย ขณะกำลังพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลถึงวิธีการดูแลทารกในขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของทารกแรกเกิด และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของทารกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ รวมไปถึงเรียนรู้รายละเอียดสำคัญและพื้นฐานต่าง ๆ ในการดูแลเด็กแรกเกิดดังนี้ การอุ้ม การอุ้มทารกด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสเกิดอันตราย และการสัมผัสยังช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและความอบอุ่นระหว่างผู้ดูแลและทารกด้วย ซึ่งวิธีการอุ้มที่ถูกต้องมีดังนี้ การให้นมทารก ทารกอาจต้องการดูดนมมากเป็นพิเศษในช่วงแรกเกิด คุณแม่อาจต้องให้นมบ่อยครั้ง หรือควรให้นมในปริมาณที่เด็กต้องการ ในสัปดาห์แรก ๆ ควรให้นมประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยสังเกตอาการหิวของทารกได้จากการอมนิ้วหรืออยู่ไม่สุข ขณะให้นมทารกจะอยู่นิ่งและมีท่าทีผ่อนคลาย โดยคางของทารกจะต้องสัมผัสกับหน้าอก ปากล่างจะอยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็นและจมูกของทารกจะต้องไม่กดทับไปกับหน้าอก หากทารกอิ่มจะสังเกตได้ว่าเด็กจะถอยห่างออกจากเต้านม หน้าอกของคุณแม่จะนุ่มขึ้น ทารกอาจมีท่าทีผ่อนคลายหรือง่วงหลังการให้นม ทั้งนี้การเข้าอบรมก่อนคลอดจะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดท่าทางขณะให้นมได้อย่างถูกต้อง รู้ถึงวิธีการกระตุ้นให้น้ำนมไหลรวมถึงจัดการกับปัญหาในการให้นมบุตรได้ โดยในช่วงสัปดาห์แรก น้ำหนักตัวของทารกจะลดลงก่อนจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การไล่ลม ลมจำนวนมากจะเข้าสู่ร่างกายของทารกจากการกลืนลมในระหว่างการให้นม ในบางครั้งอาจเกิดได้จากระบบการย่อยอาหารอีกด้วย ซึ่งลมจำนวนมากในท้องอาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว ดิ้นและร้องไห้ จึงควรไล่ลมทุก ๆ การดื่มนมขวดประมาณ 2 ออนซ์หรือทุกครั้งหลังดูดนมจากเต้า ซึ่งผู้ดูแลสามารถไล่ลมให้ทารกได้ด้วยวิธีและท่าทางการอุ้มต่าง ๆ ดังนี้ หากทารกไม่เรอภายในเวลา 2-3 […]

พัฒนาการตามวัยของเด็กทารก
ทารกในช่วงวัยนี้จะเริ่มรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว เด็กจะเรียนรู้และต้องการจัดการทุกสิ่งด้วยตัวเอง ขยับแขนขาแรงขึ้น ยกศีรษะขึ้นเองได้ ใช้แขนยันตัว … พัฒนาการตามวัยเด็กทารก ความสำคัญของพัฒนาการตามวัยของเด็กทารกในแต่ละช่วงวัยพัฒนาการตามวัยของเด็กทารกเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าลูกของเรามีพัฒนาการสมวัยหรือไม่ ทารกเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการทุกเดือน โดยพัฒนาการของทารกจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของแต่ละคน คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในทุกๆวัน เพราะหากลูกมีพัฒนาการที่ล้าช้า อาจเป็นสัญญาณเตือนความบกพร่องทางสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อาการเจ็บป่วยหรือโรคต่างๆได้ เริ่มติดตามลูกน้อยกันตั้งแต่แรกเกิด วัยแรกเกิดนี้คุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูกน้อยได้ไม่ต่างจากทารกในวัยอื่นๆ อีกทั้งช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปรับตัวระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยด้วย ในช่วงเวลานี้ลูกน้อยต้องการ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ สำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูก การนอนหลับไม่เพียงพอจะส่งผลเสียต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก เคลื่อนไหวได้อย่างจำกัด เช่น ขยับแขนขา กระพริบตา ส่ายศีรษะไปมาได้เล็กน้อย มองเห็นได้ไม่ชัดนัก โดยสามารถมองเห็นได้ในระยะ 8-10 นิ้ว หรือช่วงห่างระหว่างสายตาลูกกับใบหน้าแม่ขณะอุ้มให้นม ลูกน้อยสามารถรับรู้การสัมผัส ทั้งการโอบกอดและการอุ้ม คุณแม่สามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านร่างกายของลูกน้อยได้ ด้วยการโอบอุ้มหรือนวดสัมผัสตามส่วนต่างๆ ของร่างกายลูกบ่อยๆ จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านร่างกายและการเรียนรู้ดีขึ้น พัฒนาการในช่วง 1-3 เดือน ในช่วงนี้ ถือเป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของทารกเริ่มเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับโลกภายนอก ทารกจะเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการในด้านต่างๆ เด็กจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เริ่มชันคอขึ้นเมื่อจับนอนคว่ำเด็กจะเริ่มยิ้มตอบ ยิ้มทักทาย จ้องหน้า สบตาและสังเกต มีปฏิกิริยาต่อเสียงที่ได้ยิน โดยอาจนิ่งฟังหรือยิ้มตอบสัมผัสและจับสิ่งของได้ โดยอาจหยิบฉวยมาถือไว้แน่นมองตามสิ่งของที่เคลื่อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งเลียนแบบสีหน้าของพ่อแม่ รวมทั้งโผเข้าหาพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเมื่อต้องการความปลอดภัย ความรัก […]

การดูแลทารกแรกเกิด
เด็กทารก, ทารกแรกเกิด, การดูแล, พัฒนาการทารก, นมแม่, ดูแลลูกน้อยแรกเกิด, คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ … ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน … การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่และคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอดจะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก […]

การดูแลทารกแรกเกิด เรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้
การดูแลทารกแรกเกิดอาจเป็นเรื่องน่ากังวลใจสำหรับพ่อแม่มือใหม่ และการเตรียมพร้อมสำหรับสมาชิกใหม่ก็ถือเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ไม่น้อย ทั้งการวางแผนคลอด เสื้อผ้า เรื่องพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอดลูกน้อย ขณะกำลังพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาล คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลถึงวิธีการดูแลทารกในขั้นพื้นฐาน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับร่างกายของทารกแรกเกิด และบันทึกการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของทารกว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ รวมไปถึงเรียนรู้รายละเอียดสำคัญและพื้นฐานต่าง ๆ ในการดูแลเด็กแรกเกิดดังนี้ การอุ้ม การอุ้มทารกด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยลดโอกาสเกิดอันตราย และการสัมผัสยังช่วยให้เกิดความคุ้นเคยและความอบอุ่นระหว่างผู้ดูแลและทารกด้วย ซึ่งวิธีการอุ้มที่ถูกต้องมีดังนี้ การให้นมทารก ทารกอาจต้องการดูดนมมากเป็นพิเศษในช่วงแรกเกิด คุณแม่อาจต้องให้นมบ่อยครั้ง หรือควรให้นมในปริมาณที่เด็กต้องการ ในสัปดาห์แรก ๆ ควรให้นมประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยสังเกตอาการหิวของทารกได้จากการอมนิ้วหรืออยู่ไม่สุข ขณะให้นมทารกจะอยู่นิ่งและมีท่าทีผ่อนคลาย โดยคางของทารกจะต้องสัมผัสกับหน้าอก ปากล่างจะอยู่ในตำแหน่งที่มองไม่เห็นและจมูกของทารกจะต้องไม่กดทับไปกับหน้าอก หากทารกอิ่มจะสังเกตได้ว่าเด็กจะถอยห่างออกจากเต้านม หน้าอกของคุณแม่จะนุ่มขึ้น ทารกอาจมีท่าทีผ่อนคลายหรือง่วงหลังการให้นม ทั้งนี้การเข้าอบรมก่อนคลอดจะช่วยให้คุณแม่สามารถจัดท่าทางขณะให้นมได้อย่างถูกต้อง รู้ถึงวิธีการกระตุ้นให้น้ำนมไหลรวมถึงจัดการกับปัญหาในการให้นมบุตรได้ โดยในช่วงสัปดาห์แรก น้ำหนักตัวของทารกจะลดลงก่อนจะเริ่มมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การไล่ลม ลมจำนวนมากจะเข้าสู่ร่างกายของทารกจากการกลืนลมในระหว่างการให้นม ในบางครั้งอาจเกิดได้จากระบบการย่อยอาหารอีกด้วย ซึ่งลมจำนวนมากในท้องอาจทำให้ทารกรู้สึกไม่สบายตัว ดิ้นและร้องไห้ จึงควรไล่ลมทุก ๆ การดื่มนมขวดประมาณ 2 ออนซ์หรือทุกครั้งหลังดูดนมจากเต้า ซึ่งผู้ดูแลสามารถไล่ลมให้ทารกได้ด้วยวิธีและท่าทางการอุ้มต่าง ๆ ดังนี้ หากทารกไม่เรอภายในเวลา 2-3 นาทีหลังการไล่ลมควรเปลี่ยนท่าอุ้มไล่ลมแล้วค่อยให้ทารกกินนมต่อ ควรไล่ลมให้ทารกทุกครั้งหลังให้นมเสร็จและควรจัดท่าทารกให้อยู่ในท่าตั้งตรงเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 […]