Top News

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด
สถานพยาบาลไฟสลัวในตึกแถวเก่า ๆ ย่านชานเมือง อบอวลไปด้วยด้วยกลิ่นเหม็นสาบและคราบสกปรก มีเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของหญิงสาวดังกึกก้องจากห้องตรวจ สร้างความหวาดหวั่นให้กับหญิงสาวคนอื่นที่นั่งรออยู่ด้านนอก นี่คือภาพจำของ “การทำแท้ง” ที่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคมไทย บวกกับทัศนคติและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ผีเด็ก” ที่ติดตามผู้หญิงที่เคยทำแท้ง หรือความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่เคยทำแท้ง “ทำอะไรก็ไม่เจริญ” เพราะบาปกรรมจากการฆ่าลูก รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง ทำให้ทุกครั้งที่พูดถึงการทำแท้ง คนทั่วไปมักคิดถึงภาพความน่ากลัวและการกระทำที่ไร้ศีลธรรมเสมอ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี แต่ประเด็นการทำแท้งก็จุดกระแสการถกเถียงในสังคมได้เสมอ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง และยกเรื่องศีลธรรมขึ้นมาอ้าง อีกฝ่ายก็มองไปถึงเรื่องของความจำเป็นในชีวิตและสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวเองและสังคม ที่จริงแล้ว กฎหมายทำแท้งและทัศนคติของคนต่อเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร Sanook คุยกับ “กลุ่มทำทาง” กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานให้คำปรึกษาผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และทำงานขับเคลื่อนเรื่องการทำแท้งปลอดภัยมานานกว่า 10 ปี เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ “กลุ่มทำทาง” เพื่อ “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิง ย้อนกลับไปในปี 2553 ข่าวการพบซากทารกมากกว่า 2,000 ศพ ในบริเวณวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เป็นข่าวดังที่ทั้งสะเทือนใจคนไทยและส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อระดับศีลธรรมของคนในสังคม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “กลุ่มทำทาง” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานของสังคมต่อเรื่องการทำแท้งที่รุนแรง […]

วิธีดูแลบุตรหลานในช่วงปิดเทอม
ผู้ปกครองควรรู้! วิธีดูแลบุตรหลานในช่วงปิดเทอม ลดการเข้าถึงสื่อ กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครอง หมั่นดูแลผลกระทบสภาพจิตใจและอารมณ์ของบุตรหลานจากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะการใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดี กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งแก่ครอบครัวผู้สูญเสีย และขอให้กำลังใจ ผู้ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์กราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับสังคมไทย เหตุการณ์ความรุนแรงที่ปรากฏส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจของผู้ปกครองและบุตรหลาน ซึ่งมีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อใน ทุกช่วงเวลาอย่างมากมาย อีกทั้งช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมของบุตรหลาน กิจกรรมส่วนใหญ่คือการดูโทรทัศน์ หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลาน ได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์และจิตใจจากเหตุการณ์นี้ กรมการแพทย์ มีคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน คือการใช้สื่อของเด็ก ควรจำกัดเวลาในการเข้าถึงสื่อต่างๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำกัด ไม่มากหรือวนเวียนแต่สิ่งที่ทำให้หดหู่ใจ หากเด็กต้องเข้าถึงสื่อ ควรมีผู้ปกครองดูอยู่ด้วย เพื่อป้องกันการเห็นภาพหรือเนื้อหาที่มีความรุนแรง หรือสร้าง ความสะเทือนใจแก่เด็ก ในเด็กโตที่เล่น Social media ผู้ปกครองควรแนะนำเรื่องการใช้ Social media อย่างเหมาะสม เช่น หยุดส่งต่อภาพความรุนแรง การวิพากษ์วิจารณ์ข่าวผ่าน Social media โดยสิ่งที่สามารถทำได้ เช่น การให้กำลังใจผ่าน Social […]

ยกเลิกกฎหมายทำแท้ง คืนสิทธิในเนื้อตัวร่างกายให้ ‘ผู้หญิง’
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง ‘การทำแท้ง’ นับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมไทย ไม่ว่าในความเป็นจริงแล้วจะมีผู้หญิงที่ตัดสินใจทำแท้งถึง 2 ราย การยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ อาจเป็นบันไดก้าวแรกที่จะคืนสิทธิในเนื้อตัวร่างกายให้แก่ผู้หญิงและได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ปลอดภัย จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เกี่ยวกับกฎหมายเรื่องการทำแท้งว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่ระบุว่า ‘หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อ่านทำให้ตนเองแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ’ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และ 28 ส่วนมาตรา 305 ที่ระบุว่า ‘ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ 302 เป็นการกระทำของแพทย์ และ (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น (2) หญิงมีครรภ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276, 277, 282, 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด’ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา […]

13 ปี สุสานทารก วัดไผ่เงิน
13 ปี สุสานทารก 2,002 ศพ วัดไผ่เงิน ซุกหลอนวิญญาณใคร่ ทลายทำแท้งเถื่อน “ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์” จะพาย้อนรอยคดีดังสะเทือนขวัญ เรื่องราวหลอน น่าสะพรึง ด้วยคดีดังเมื่อ 13 ปี ก่อน เกิดขึ้นที่วัดไผ่เงิน ย่านบางคอแหลม กรุงเทพฯ สถานที่พึ่งทางใจ กลับกลายเป็น “สุสานเถื่อน” โดยจุดเริ่มต้นพบซากศพทารก ที่ผ่านการทำแท้ง ในโกดังเก็บศพหมายเลข 17 นำพาดวงวิญญาณทารก ถูกทิ้งกว่า 2,002 ศพ สู่สัมปรายภพ และการทลายคลินิกทำแท้งเถื่อนอีกหลายแห่ง หมุนนาฬิกากลับไป 13 ปี ก่อน เสียงจอแจจากการตั้งแผงในตลาดนัด ละแวก วัดไผ่เงิน กลับหยุดชะงักลง เมื่อหมาวัดตัวหนึ่งคาบถุงที่เต็มไปด้วยกลิ่นคาวคลุ้ง เศษซากชิ้นเนื้อที่ซุกไว้ในถุง ลักษณะเหมือนเศษกะโหลกเด็ก นำพาให้คนพบเห็น เดินหาต้นตอภายในวัด จากหน้าวัดสู่ท้ายวัด บริเวณ “ศาลาสันติสุข” โกดังเก็บศพ กลิ่นคาวคลุ้งราวกวักมือเรียกให้ทุกคนไปหยุดยืน หน้าช่องเก็บศพ ที่ก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบ่งช่องขนาดกว้างยาวขนาดพอดีกับหีบศพ โดยทั้งหมดมี […]

กรมอนามัย ยืนยันดื่ม “น้ำอัดลม” ผสม “เครื่องดื่มชูกำลัง” ไม่ทำให้แท้งลูก
กรมอนามัย เผยการดื่ม “น้ำอัดลม“ ร่วมกับ “เครื่องดื่มชูกำลัง“ ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่เสี่ยงน้ำหนักเกินหากกินเกินขนาด พร้อมแนะวัยรุ่นท้องไม่พร้อม ปรึกษาสายด่วนเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม วันที่ 29 ต.ค. 2564 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก “หมอแล็บแพนด้า” แชร์ข้อมูลที่แสดงภาพขวดเครื่องดื่มชูกำลังกับน้ำอัดลมยี่ห้อดัง โดยมีบทสนทนาในคอมเมนต์อ้างว่า หากดื่มเครื่องดื่มนี้ผสมกัน จะทำให้แท้งลูกได้เอง พร้อมกับทำให้ประจำเดือนมา ซึ่งข้อความดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากการดื่มน้ำอัดลมร่วมกับเครื่องดื่มชูกำลัง ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่จะส่งผลต่อร่างกายหากดื่มน้ำอัดลมปริมาณมากอาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป นำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วนได้ ส่วนเครื่องดื่มชูกำลัง ถ้าดื่มปริมาณมากเกินไป จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณกาเฟอีนเกินขนาด ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย และหัวใจเต้นเร็วได้ สำหรับวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม การแก้ปัญหาเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมสามารถปรึกษาออนไลน์ ได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้ 1. RSA ออนไลน์ https://abortion.rsatha.org 2. สถานบริการปรึกษาท้องไม่พร้อม www.rsathai.org 3. โทร. 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม ซึ่งให้บริการทุกวัน เวลา 09.00 – 21.00 น. และ 4) สามารถทักแชตเฟซบุ๊กแฟนเพจ 1663 ซึ่งให้บริการทุกวัน […]

การทำแท้ง(ไม่)เสรี ศาลสูงสุด และการเมือง ในอเมริกา
เมื่อ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดหรือศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา (Supreme Court of the United States: SCOTUS) พิพากษายกเลิกคำตัดสินคดี Roe v Wade ที่เคยพิพากษาเมื่อปี 2516 ว่าการทำแท้งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ซึ่งแปลง่ายๆว่าในตอนนั้นการทำแท้งของสตรีสหรัฐฯ ถูกกฎหมาย แต่นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน ศกนี้ การทำแท้งขัดรัฐธรรมนูญหรือผิดกฎหมายนั่นเองตามคำพิพากษาของศาลสูงสุด แต่ในระดับมลรัฐต่างๆจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเมื่อไรหรืออย่างไรก็เป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐ สถาบันกัตต์มาเชอร์ (Guttmacher Institute) ที่สนับสนุนทางเลือกที่ให้สตรีมีสิทธิ์ทำแท้ง ประเมินว่าจะมีรัฐทั้งหมด 26 แห่งซึ่งมักอยู่ทางใต้และตะวันตกตอนกลางหรือเขตมิดเวสต์ เตรียมออกกฎหมายห้ามทำแท้ง นั่นหมายความว่าผู้หญิงหลายล้านคนในอเมริกาที่ต้องการทำแท้งจำเป็นต้องเดินทางข้ามไปยังรัฐที่สิทธิ์การทำแท้งได้รับการคุ้มครอง (บางรัฐที่ยังอนุญาตให้ทำแท้งได้ถูกกฎหมายอย่างรัฐมินนิโซตากำลังเตรียมรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้ที่ต้องการทำแท้ง) การกลับลำของศาลสูงสุดมาพิพากษาว่าการทำแท้งผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ในอเมริกาออกมาประท้วงอย่างกว้างขวางส่วนใหญ่ตั้งแต่หน้าศาลสูงสุดในวอชิงตันดีซี ในรัฐต่างๆที่กำลังจะห้ามการทำแท้ง และขณะนี้การประท้วงขยายไปจนถึง อังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เรื่องมันยาว ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการเมืองของอเมริกาพอสมควรโดยไม่ค่อยเกี่ยวกับนโยบายประชากรสักเท่าไหร่ ผู้เขียนขอค่อยๆไล่เรียงสู่กันฟังย่อๆก็แล้วกัน อันดับแรก การเมืองในสหรัฐฯแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยม(Conservative) ได้แก่พรรครีพับลิกัน และ ฝ่ายเสรีนิยม (Liberal) ได้แก่พรรคเดโมแครต ซึ่งในเรื่องของการทำแท้ง พรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพวกหัวเก่าค้านการทำแท้งเสรี ขณะที่พรรคเดโมแครตเห็นตรงข้ามโดยเชื่อในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิในการทำแท้ง โดยทั้งสองพรรคได้ต่อสู้กันเรื่องนี้มานานหลายสิบปีและคำพิพากษาเมื่อ 24 มิถุนาปีนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความขุ่นใจของทั้งสองฝ่ายที่กล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่ามีความคิด”สุดโต่ง” และ […]

อัพเดทข่าวสาร วิธีการเตรียมพร้อมสำหรับคุณแม่มือใหม่
บล็อคสร้างขึ้นเพื่อแนะนำวิธีการเตรียมพร้อมสำหรับการเป็นคุณแม่มือใหม่ การดูแลบุตรตั้งแต่อยู่ในภรรค์ วิธีการเลือกกินอาหารเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก หรือแม้กระทั่งปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ เราจะแนะนำวิธีการรับมือกับปัญหา วิธีการแก้ไขต่างๆ ให้กับคุณทุกเรื่อง
ติดตามเรา


Top News

MDs’ LIFE | ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง
เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

ทัศนะของแพทย์ต่อการทำแท้ง
การที่จะตั้งคำถามแบบนี้ขึ้นมาได้นั้น อาจจะต้องมีคำถามนำมาก่อนหน้านี้ นั่นคือ กว่าจะสร้างแพทย์ได้สักหนึ่งคนนั้น คนคนนั้นจะต้องผ่านการปลูกฝัง อบรม และถูกเพาะบ่มมาจากที่ใดบ้าง ในบริบทพื้นฐานก็คงจะหนีไม่พ้นครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ช่วยกันเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานคนนี้มา โดยที่ไม่รู้หรอกว่าเขาจะกลายมาเป็นหมอในอนาคตหรือไม่ การอบรมสั่งสอนก็เพื่อมุ่งเน้นให้ลูกเป็นคนดีของสังคม และการเป็นคนดีได้นั้น ครอบครัวก็คงได้รับการสืบต่อมาจากสังคม ศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชนอีกต่อหนึ่ง แต่จะเห็นว่า สังคมก็ไม่ใช่ว่าจะได้เด็กดีเสมอไปจากการเลี้ยงดูของครอบครัว นั่นก็เพราะว่า เบ้าหลอมที่สำคัญอีกเบ้าหนึ่งก็คือ โรงเรียน คุณครูและเพื่อนพ้อง เราจะเริ่มสูญเสียคนดีไปในช่วงนี้ได้จำนวนหนึ่ง ใช่ไหมครับ สังคมล่ะครับ มีส่วนที่จะกำหนดความดีชั่วได้หรือไม่ คำตอบน่าจะตอบว่า “ใช่” ดังที่เราจะได้เห็นข่าว อ่านหน้าจั่วหัวอยู่แทบทุกวัน ว่าใครดีใครเลว ฝ่ายไหนดีฝ่ายไหนเลว หญิงคนไหนชั่วที่ทิ้งลูก สาวคนไหนเลวที่รีดมารหัวขนออกมาทิ้งในคูน้ำ นั่นจะเห็นการตัดสินความดีความเลวกันจะจะอยู่ทุกวัน ใช่ไหมครับ มาถึงเรื่องของแพทย์(เข้าเรื่องเสียที) เบ้าหลอมที่สำคัญกับการกำหนดตัวตนของหมอแต่ละคนนั้น ส่วนใหญ่จึงตกเป็นภาระของโรงเรียนแพทย์นั่นเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า เขาเป็นผู้สอน ผู้อบรม ผู้กำหนดกรอบของหลักสูตรการเรียน การวางผังชีวิตทางด้านจริยธรรมทางการแพทย์และการประกอบวิชาชีพ ใช่ไหมครับ แล้วบังเอิญผู้ที่สอนนั้นเป็นครูในใจของลูกศิษย์ หมอคนนั้นก็จะจดจำไปว่า “การทำแท้งเป็นสิ่งผิดจริยธรรม” ถ้าโรงเรียนแพทย์แห่งใดเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้คิดถึงที่มาที่ไปของการตั้งท้องที่ไม่พร้อมเปิดโอกาสให้ได้รับทราบว่า บางครั้งการยุติการตั้งครรภ์ […]

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยายุติการตั้งครรภ์
ยายุติการตั้งครรภ์ เป็นยาที่ใช้หยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยมีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 -12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา โดยตัวยาจะเข้าขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิไม่สามารถฝั่งตัวในผนังมดลูกได้ ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก ยายุติการตั้งครรภ์ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและได้รับขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) และไมเฟพริสโตน(Mifepristone) ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เท่านั้น การรับประทานยายุติตั้งครรภ์อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียนวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย มีเลือดออกทางช่องคลอด สตรีในประเทศไทยสามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 (1)(2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 1 ว่าด้วย 1. การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพมารดา ทั้งทางร่างกายแและจิตใจ และ 2. กรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง ภายใต้ข้อบังคับแพทยสภา ระบุว่า ความรุนแรงนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของมารดาประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 2 ว่าด้วย การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอีก 5 มาตรา ดังนี้มาตรา 276 ว่าด้วยการถูกข่มขืนกระทำชำเรามาตรา 277 ว่าด้วยการทำให้เด็กอายุน้อยกว่า […]

“ภาวะแท้งคุกคาม” เรื่องใหญ่ที่เล็กลงได้ หากรักษาทันเวลา!
“ภาวะแท้งคุกคาม” หรือปัญหาการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อ “การแท้งบุตร” เราสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ หากรู้เท่าทันอาการและรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอจนถึงวันคลอด เพียงเท่านี้ ภาวะแท้งคุกคาม ก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับ “คุณแม่ตั้งครรภ์” อีกต่อไป ภาวะแท้งคุกคาม…คืออะไร? อาการภาวะแท้งคุกคาม คือการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ก็มีคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากที่สามารถดูแลครรภ์ได้ดีจนอายุครรภ์ครบตามกำหนดคลอด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ หากมีอาการเหล่านี้..ควรรีบไปพบแพทย์ การมีเลือดออก ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากมีเลือดออกมากขึ้นเรื่อยๆ จนไหลลงมายังขาและมีสีแดงสด รวมไปถึงมีอาการปวดท้องน้อย ปวดบีบเป็นระยะๆ หรือมีอาการปวดหลังและเป็นตะคริวร่วมด้วย อาการเบื้องต้นเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์กลุ่มไหน…เสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคามจะยังไม่มีการระบุไว้แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ การบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง การที่คุณแม่มีอายุมากหรือเกิน 35 ปี มีการใช้ สัมผัสกับยา หรือสารเคมีบางชนิด คุณแม่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน การดูแลครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพราะการป้องกันภาวะแท้งคุกคามอาจจะทำได้ยาก แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้ ก็ช่วยให้ครรภ์มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงได้ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง และการให้กำเนิดลูกน้อยที่สมบูรณ์ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ! ทั้งนี้ การพูดคุยกับแพทย์ยังช่วยลดระดับความเครียด ลดความวิตกกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ […]

ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’
ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’ สรุปพอดแคสต์จาก “กลุ่มทำทาง” ว่าด้วยเรื่อง ‘ภาษา’ ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมวิธีคิดต่อการทำแท้งในสังคมไทย “ภาษาที่ใช้มันก็สื่อถึงทัศนคติที่มันฝังอยู่ในค่านิยม ในสังคม [ไทย]” นี่เป็นประโยคหนึ่งในพอดแคสต์ของกิจกรรมการพูดคุยในหัวข้อเรื่อง “ ‘การใช้คำ’ เรื่องทำแท้ง” ใน ‘Twitter Space’ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาษานั้นก็เป็นเรื่องที่พวกเราควรสนใจเช่นกันเมื่อพูดถึงเรื่องการทำแท้ง ซึ่งผู้ร่วมพูดคุยในพอดแคสต์นี้คือคุณนุ่ม สุไลพร ชลวิไลและคุณชมพู่ สุพีชา เบาทิพย์ จาก คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง กลุ่มที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมาย ให้คำปรึกษา และสร้างความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการทำแท้งปลอดภัย และคุณเม คุณมี่ คุณหยา จากแอดมิน The Pillow Talks โดยวันนี้เราจะมาสรุปประเด็นต่าง ๆ บางส่วนที่น่าสนใจจากพอดแคสต์นี้ให้อ่านกัน การใช้คำสำคัญอย่างไร? – เพราะภาษาที่ใช้ในการทำแท้งแสดงถึงทัศนคติและค่านิยมที่ฝังลึกในสังคมไทย บางครั้งเวลาเราใช้คำต่าง ๆ พวกนี้ พวกเราไม่ได้ตระหนักถึงความหมายโดยนัยของคำที่ใช้ ซึ่งคำส่วนใหญ่ที่ใช้มันไม่ได้เป็นกลางทางความหมาย แล้วพอใช้กันต่อไปเรื่อย ๆ จึงเกิดความหมายแฝงที่อาจจะกดทับหรือประณามผู้ตั้งครรภ์โดยที่พวกเราไม่รู้ตัว การพาดหัวข่าวของสื่อที่ตีตราผู้ตั้งครรภ์ – […]

แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่
สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” ซึ่งจัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ทาง Facebook Page : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากร ดำเนินรายการโดย ผู้สรุปสาระสำคัญและเรียบเรียง ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล : กล่าวว่า สำหรับกฎหมายเรื่องการทำแท้งที่ออกมาใหม่ ตนมองว่าการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ตอบโจทย์สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมทั้งหมด ตลอดจนเฉพาะความคิดต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศ.ดร. สุรศักดิ์นำเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ประเด็นแรก เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นในการแก้ไขกฎหมาย คือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเรารู้จักทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่แรกเกิด รู้พัฒนาการในทุกช่วงของทารกตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 4 สำหรับประเด็นปัญหาแต่เดิมที่มีการถกเถียงกัน คือกฎหมายไทยอนุญาตให้ทำแท้งเพียง 2 กรณี ได้แก่ กรณีสุขภาพของมารดา และกรณีมารดาถูกกระทำความผิดทางอาญาแล้วตั้งครรภ์ แต่สำหรับกรณีทารกผิดปกติ ก็เคยเป็นประเด็นในการสู้คดี ซึ่งกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำแท้ง ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีการพยายามแก้ไขโดยเพิ่มเหตุการณ์เรื่องสุขภาพของทารก […]

อันตราย! เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในภาวะครรภ์เสี่ยง ที่เกิดจากฮอร์โมนของรกหรือสารเคมีที่ไปยับยั้งการทำงานของอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด มักมีความสี่ยงในผู้ที่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน คุณแม่ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากไม่ควบคุมอาจทำให้เกิดการช็อกได้ และอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ คุณเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่? อาการเตือนเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดเป็นโรคเบาหวานในระหว่างที่ตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น ควรฝากครรภ์ทันทีเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย ป้องกันความเสี่ยง พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ ควบคุมการรับประทานอาหาร การบริโภคน้ำตาล และของหวานอย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการมีบุตรก่อน และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน
“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน เด็กเกิดใหม่ ต้องมีคุณภาพ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสังคมไทยในรอบ 60 ปี เกี่ยวกับการ “ทำแท้งถูกกฎหมาย” หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำสู่การปรับแก้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานทำแท้งที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2499 เอื้อประโยชน์การทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ รองรับมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายแก้ไขให้เปิดกว้างเพียงใด การทำแท้งยังเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย ทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ศีลธรรม จรรยาบรรณ ฯลฯ สำหรับสาระของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา […]

ลูกกิน ’นมแม่’ พร้อมด้วย ’อาหารตามวัย’
การเตรียมตัวเองและคนรอบข้างให้พร้อม รวมทั้งความตั้งใจที่เข้มแข็ง และเชื่อมั่นว่าร่างกายคุณแม่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นาน 6 เดือน & กินนมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ หรือ นานกว่านั้น จัดการชีวิตตนเอง & ครอบครัว 1. ปรึกษาและสร้างความเข้าใจกับสามี ญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงานให้เข้าใจ และขอแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง 2. ณ จุดนี้ คุณพ่อจะเป็นกำลังสำคัญ ทั้งแรงกาย และกำลังใจ ยืนหยัดเคียงคู่คุณแม่ตลอดระยะก่อนและหลังคลอด ชักชวนคุณพ่อให้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมกับคุณแม่ เพื่อให้คุณพ่อเตรียมตัว อาทิ การเข้าไปในห้องคลอดพร้อมกับคุณแม่ในช่วงคลอด การดูแลคุณแม่ระยะหลังคลอด การช่วยให้นมลูกด้วยการป้อนด้วยภาชนะเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน 3. วางแผนจัดการเรื่องงานบ้าน และเรื่องราวต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และต้องหาคนช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน โดยเฉพาช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด การฝากครรภ์ […]

MDs’ LIFE ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง
เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

ทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีความผิด มีเหตุผลอะไรบ้าง เช็กกฎหมายยุติการตั้งครรภ์
การทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ นับเป็นประเด็นที่ผู้คนต่างพากันจับตามองและให้ความสนใจ เนื่องจากมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศ เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่หญิงนั้น ต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ซึ่งทางสำนักงานกิจการยุติธรรม เองก็ได้ออกมาเปิดเผยข้อกฎหมายแบบละเอียดสำหรับหญิงที่จำเป็นต้องการทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ สำหรับ 5 เหตุผลทำแท้งตามกฎหมาย ไม่มีความผิด ถ้าทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหญิงยินยอมดำเนินการตามข้อบังคับแพทย์สภา 1. มีครรภ์ต่อไปแล้วจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย/จิตใจ2. มีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ3. มีความเสี่ยงมาก/มีเหตุผลทางการแพทย์ที่เชื่อได้ว่าถ้าคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง4. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และหญิงยืนยันทำแท้ง5. อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขประกาศกำหนดฯและหญิงยืนยันทำแท้ง ทั้งนี้ หากหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน […]

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด
สถานพยาบาลไฟสลัวในตึกแถวเก่า ๆ ย่านชานเมือง อบอวลไปด้วยด้วยกลิ่นเหม็นสาบและคราบสกปรก มีเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของหญิงสาวดังกึกก้องจากห้องตรวจ สร้างความหวาดหวั่นให้กับหญิงสาวคนอื่นที่นั่งรออยู่ด้านนอก นี่คือภาพจำของ “การทำแท้ง” ที่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคมไทย บวกกับทัศนคติและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ผีเด็ก” ที่ติดตามผู้หญิงที่เคยทำแท้ง หรือความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่เคยทำแท้ง “ทำอะไรก็ไม่เจริญ” เพราะบาปกรรมจากการฆ่าลูก รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง ทำให้ทุกครั้งที่พูดถึงการทำแท้ง คนทั่วไปมักคิดถึงภาพความน่ากลัวและการกระทำที่ไร้ศีลธรรมเสมอ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี แต่ประเด็นการทำแท้งก็จุดกระแสการถกเถียงในสังคมได้เสมอ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง และยกเรื่องศีลธรรมขึ้นมาอ้าง อีกฝ่ายก็มองไปถึงเรื่องของความจำเป็นในชีวิตและสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวเองและสังคม ที่จริงแล้ว กฎหมายทำแท้งและทัศนคติของคนต่อเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร Sanook คุยกับ “กลุ่มทำทาง” กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานให้คำปรึกษาผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และทำงานขับเคลื่อนเรื่องการทำแท้งปลอดภัยมานานกว่า 10 ปี เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ “กลุ่มทำทาง” เพื่อ “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิง ย้อนกลับไปในปี 2553 ข่าวการพบซากทารกมากกว่า 2,000 ศพ ในบริเวณวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เป็นข่าวดังที่ทั้งสะเทือนใจคนไทยและส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อระดับศีลธรรมของคนในสังคม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “กลุ่มทำทาง” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานของสังคมต่อเรื่องการทำแท้งที่รุนแรง […]