การบริหารร่างกายหลังคลอด · การให้นมบุตร · ท่าอุ้มในการให้นม ควรนั่งเก้าอี้อยู่ในท่าสบาย ทั้งแขนและหลัง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง และอาการอ่อนล้าจากการให้นมบุตร

การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในระยะหลังคลอด อวัยวะต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จะเริ่มกลับคืนมาสู่สภาวะปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิมได้ เช่น ท้องลาย รูปร่าง ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังคลอดใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง
กิจกรรมที่คุณแม่หลังคลอดทำได้
คุณแม่หลังคลอดสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังนี้
- งานบ้าน สามารถทำงานบ้านเบา ๆ เช่น กวาดบ้าน เช็ดถูโต๊ะ ฯลฯ ส่วนงานหนักที่ควรงดเว้น เช่น ยกของ ฯลฯ
- การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่และผักผลไม้ที่มีกากใยเพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- การดูแลแผล
- แผลฝีเย็บ สามารถล้างทำความสะอาดได้ตามปกติ
- แผลผ่าตัดคลอด อาจมีอาการชาบริเวณเหนือแผลผ่าตัด
- การพักผ่อน ควรพักผ่อนให้มาก ๆ
- การดูแลน้ำคาวปลา วันแรก ๆ น้ำคาวปลาจะมีลักษณะเป็นเมือกสดแล้วเปลี่ยนเป็นเลือดเก่า ๆ ต่อมามีเลือดจางลงเป็นน้ำคาวปลาใด ๆ และควรจะหมดไปในระยะเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์ ถ้ากลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว น้ำคาวปลาจะมีสีแดง ควรปรึกษาแพทย์เพราะอาจเกิดการอักเสบหรือมีเศษรกตกค้างในมดลูกได้
- การมีเพศสัมพันธ์ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2 เดือน เนื่องจากหลังคลอดผนังช่องคลอดอาจบาง เนื่องจากผลของฮอร์โมนจากการตั้งครรภ์
การบริหารร่างกายหลังคลอด

การวางแผนครอบครัว
ปกติควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และปรึกษาการวางแผนครอบครัว เมื่อกลับมาตรวจหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ห่วงอนามัย หรือถุงยางอนามัย หรือ ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดทันทีในกรณีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือกลับมาทำภายหลังคือ ผ่าตัดทำหมันผ่านกล้อง ซึ่งเจ็บตัวน้อยและฟื้นตัวไว