การรับมือกับทารกแรกเกิด

การรับมือกับทารกแรกเกิด : นมแม่คือลูกคือสุดยอดอาหารสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าลูกควรได้รับนมแม่ตลอดช่วงหกเดือนแรกจนถึงอายุ 2 ปีหรือกว่าแม่จะ…

การรับมือกับทารกแรกเกิด

มีความท้าทายอยู่มากมายเลยค่ะสำหรับการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นการพักฟื้นหลังคลอด การให้นมและการกล่อมลูกน้อย สิ่งเหล่านี้นำไปคุณพ่อคุณแม่ไปสู่การอดหลับอดนอนและเหนื่อยล้า มีผลให้คุณพ่อคุณแม่มีอาการสมองตื้อและอารมณ์แปรปรวนได้ค่ะ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้การสร้างความผูกพันธ์กับลูกน้อยต้องใช้เวลานานกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คาดการณ์ไว้นั่นเอง

นอกเหนือจากการปรับตัวให้เข้ากับลูกน้อยแล้ว คุณแม่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนความรู้สึก และดูแลรูปลักษณ์ของตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ในขณะที่ต้องหาเวลามาดูแลเจ้าตัวน้อยไปด้วยในเวลาเดียวกัน อีกทั้งคุณแม่ยังจะต้องปรับตัวกับความสัมพันธ์ในชีวิตที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ไม่ใช่แค่คุณพ่อนะคะ รวมไปถึงคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการกับจัดการกับมันสักหน่อย และในช่วงเวลาที่เลี้ยงลูกน้อยอาจก่อให้เกิดความเครียดและสร้างความกดดันให้กับคุณแม่ได้ค่ะ

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความท้าทายส่วนหนึ่งที่คุณแม่หลายคนต้องเผชิญค่ะ แต่บ่อยครั้งที่คุณแม่ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเลี้ยงดูลูก หรือ ขอคำปรึกษาด้านอารมณ์ในช่วงแรก ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ตามมาภายหลัง ทำให้คุณพ่อ คุณแม่และลูกน้อยต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะความเครียดที่มากขึ้นค่ะ แต่อย่าพึ่งกังวลไปนะคะ เพราะยังมีเคล็ดลับและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยจัดการให้ช่วงเวลาของการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีดังต่อไปนี้

• หาเวลาพักผ่อนให้กับตัวเองบ้างนะคะ ในช่วงเวลาที่ลูกหลับอาจให้คนในบ้านมาช่วยแทนมือสักครู่ ออกไปนั่งพัก ทานข้าว อาบน้ำ หรือนอนหลับสักงีบจะได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ
• พยายามอย่ากดดันตัวเองว่าจะต้องเป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดมากเกินไปนะคะ ความสะอาดและความปลอดภัยย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อย หากแต่บางครั้งคุณแม่คุณพ่อมือใหม่อาจยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงรู้สึกว่าทุกๆอย่างจะต้องดีที่สุด พาลให้คุณพ่อคุณแม่กังวลไปสารพัดทำให้คนรอบข้างที่อยากช่วยเหลือจะรู้สึกอึดอัดในการยื่นมือเข้าช่วยด้วยนะคะ


• การเลี้ยงลูกไม่มีอะไรเป็นสูตรตายตัว ดังนั้นหากเราให้คนที่บ้านช่วยเลี้ยง หรือพ่อแม่เราช่วยเลี้ยง ค่อยพูดค่อยจาถ้อยทีถ้อยอาศัย บอกกล่าวให้สิ่งที่เราอยากให้ทำและเรื่องที่ขอร้องไม่ให้ทำ ส่วนที่เขาทำตามที่เราขอก็ดีไป หากไม่ทำตามก็อยากให้เผื่อใจ ควรปล่อยวางมองข้ามสิ่งเล็กน้อยไปบ้างนะคะเพราะเราไม่ได้อยู่กับลูกตลอด 24 ชั่วโมง เหล่านี้จะช่วยให้การเลี้ยงลูกของคุณแม่เป็นสิ่งที่น่าสนุกมากขึ้นค่ะ
• “ผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนมาก่อน” คำพูดนี้ยังคงใช้ได้เสมอ สิ่งใดที่เป็นความเชื่อโบราณหากไม่ได้มากจนเกินไปถึงขนาดว่ารับไม่ได้หรือไม่ควรทำ เช่น ผู้ใหญ่บางท่านเชื่อว่าให้เอาฉี่ลูกมากวาดปากจะช่วยรักษาลิ้นขาวของลูกได้ หากไม่ได้หนักหนาขนาดนี้เชื่อไว้บ้างก็ไม่เสียหายค่ะ เช่นการงดทานอาหารทะเล อาหารแสลงหมักดอง หรือการทานสมุนไพรต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งที่ท่านห่วงใยเราค่ะ
• เมื่อไรที่คุณแม่รู้สึกทนไม่ไหว เหนื่อยหล้า และรู้สึกท้อแท้จากการเลี้ยงลูกเป็นอย่างมาก ควรปลีกตัวออกมารวมรวบสติและอารมณ์ก่อนจะกลับไปหาลูก พร้อมทั้งควรบอกคนรอบข้างให้รับรู้และไม่ควรคิดอยู่คนเดียวนะคะ เพราะภาวะวิตกหลังคลอด (Mama Blue) หรืออาการวิตกกังวลหลังคลอด เป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับหลายคนค่ะ
• ตระหนักและไตร่ตรองเสมอว่า ตัวเองรู้สึกอย่างไรและเป็นแบบนี้มานานเท่าไหร่แล้ว ความเครียดอาจเกิดขึ้นเพียงระยะสั้น ๆ และผ่านไปเมื่อเราสงบลง แต่ถ้าหากมีอาการเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ หรือ รู้สึกว่าความเครียดนี้ไม่ทุเลาลง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพจิตควรเริ่มปรึกษาจิตแพทย์ ไม่ใช่เรื่องน่าอายเลยค่ะและคุณแม่ก็ไม่ได้บ้าด้วย ขอให้มั่นใจว่าเป็นอาการที่ใครหลายคนเป็นและดีที่สุดที่เรารู้ทัน รักษาได้ทัน จะไม่เกิดเรื่องน่าเศร้าที่บางคนถึงขนาดคิดสั้นได้ค่ะ