วิธีดูแลตัวเองหลังแท้ง1

อาการหลังลูกหลุด สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่

January 24, 2023

อาการหลังลูกหลุดจากการแท้งลูก นอกจากอาการทางกายอย่างเลือดออกจากช่องคลอด รู้สึกไม่สบายตัวแล้ว ยังอาจมีอาการทางจิตใจเนื่องจากความเสียใจจากการสูญเสียทารกในครรภ์ก่อนถึงวันกำหนดคลอด อาจส่งผลให้ นอนไม่หลับ ฝันร้าย เบื่ออาหาร ซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่ความคิดอยากทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้น คนรอบข้างจึงควรดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่การสูญเสียมากกว่าเดิม สาเหตุที่ทำให้ลูกหลุดสาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด ซึ่งมักพบได้ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ อาจมาจากปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ -ปัญหาโครโมโซมผิดปกติ โครโมโซมหรือสารพันธุกรรมมีความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเซลล์ของร่างกาย อวัยวะเเละโครงสร้างระบบต่างๆ สีดวงตา สีผิวของทารก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายทารกไม่สามารถพัฒนาได้ตามปกติ จนนำไปสู่การแท้งบุตรหรือทำให้ลูกหลุด -ปัญหาเกี่ยวกับรก เนื่องจากรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงระหว่างคุณแม่และทารก มีหน้าที่คอยรับเลือดและสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อสู่ลูก หากรกมีปัญหา เช่น รกเกาะต่ำ รกมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กผิดปกติ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งลูกได้ ไตรมาสที่ 2 -ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ที่อาจส่งผลให้เสี่ยงแท้งลูกโดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีลูกยาก -การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ดังนั้นการสูบบุหรี่จึงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทารกในครรภ์ เสี่ยงแท้งลูก อีกทั้งยังทำให้น้ำหนักแรกเกิดต่ำ โรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม และเสียชีวิตกะทันหัน […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

10 สัญญาณเตือน ดูอย่างไรว่าลูกน้อยกำลังป่วย

October 7, 2022

บทความเด็กแรกเกิด 0-12 เดือน เกี่ยวกับ 10 สัญญาณเตือนเมื่อลูกน้อยเริ่มป่วย หรือ กำลังป่วย ไม่ว่าจะเป็นซึม เบื่ออาหาร ลักษณะการดูดนมที่เปลี่ยนไป และอื่นๆ. เด็กทารกในช่วง 28 วันแรกหรือ 1 เดือนหลังคลอดนั้น ต้องการการเอาใจใส่ดูแลจากคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากร่างกายยังมีพัฒนาการที่ไม่สมบูรณ์ เมื่อลูกน้อยร้องไห้งอแง แต่ทำยังไงก็หาสาเหตุไม่พบ ทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่เข้าใจว่า เกิดอะไรขึ้นกับลูกน้อยของตัวเองกันแน่ ลองสังเกตดูสิว่า เจ้าตัวน้อยของคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ กำลังป่วยอยู่รึเปล่า 1. ซึม เด็กเล็กๆ จะมีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งใหม่ๆ รอบตัวโดยธรรมชาติ ทำให้ซุกซนร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ ถ้าเมื่อไรที่ลูกซึมผิดปกติ ไม่เล่น ไม่สนใจสิ่งรอบตัวเหมือนอย่างเคย เอาแต่นอนอย่างเดียว นั่นก็เป็นสัญญาว่า เจ้าตัวน้อยของคุณมีอาการผิดปกติแล้ว 2. เบื่ออาหาร หรือไม่ยอมดูดนม เมื่อจู่ๆ ลูกก็ปฏิเสธการดูดนม กินข้าว ขนม หรืออาหารเสริม หรือกินแล้วแหวะ อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระออกมาแบบผิดปกติ ก็เป็นไปได้ว่า ระบบลำไส้หรือระบบขับถ่ายของเจ้าตัวน้อยอาจทำงานผิดปกติอยู่ 3. ลักษณะการดูดนมเปลี่ยนไป การดูดนมก็สามารถบอกได้เช่นกันว่าเจ้าตัวน้อยป่วยอยู่หรือไม่ โดยปกติเด็กทารกจะใช้เวลาดูดนมไม่เกิน 30 […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

ภาวะปกติ ที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด

October 6, 2022

ภาวะปกติ ที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด · 2. การสะอึก · 4. หายใจเสียงดังครืดคราด · 5. อาการจามร่วมกับมีน้ำมูกใส · 6. การสะดุ้งหรืออาการผวา · 7. การบิดตัว … บ่อยครั้งที่คุณพ่อและคุณแม่มือใหม่มีความวิตกกังวลกับอาการบางอย่างที่พบในลูกน้อยที่เพิ่งคลอดออกมาลืมตาดูโลก (ทั้งๆ ที่สิ่งที่พบเหล่านั้นเป็นภาวะปกติที่พบได้ในวัยทารกแรกเกิด) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณพ่อและคุณแม่วิตกกังวล และนำลูกมาเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์หรือพยาบาลผู้ชำนาญการอยู่บ่อยๆ หรืออาจทำให้ทารกต้องได้รับการตรวจรักษาโดยไม่จำเป็น ภาวะต่อไปนี้เป็นสิ่งปกติที่พบได้ในวัยทารกแรกเกิด หรือลักษณะทั่วไปในทารกแรกเกิด เป็นภาวะที่ไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาแต่อย่างใด … คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะอาการเหล่านี้จะหายไปได้เองเมื่อทารกเจริญวัยขึ้น 1. การแหวะนม เนื่องจากหูรูดหลอดอาหารตอนบนของทารกแรกเกิดยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ ทารกส่วนมากจึงอาจมีอาการแหวะนมปริมาณเล็กน้อยออกทางมุมปากและจมูกได้ ซึ่งอาการนี้จะค่อยๆ ลดน้อยลงและหายไปเมื่อทารกเจริญวัยขึ้น วิธีการแก้ไขคือให้อุ้มทารกนั่งหรืออุ้มพาดบ่าหลังการให้นม เพื่อไล่ลมที่มากเกินออก ถ้าทารกยังมีอาการแหวะนมมากทุกมื้อ ถึงแม้ทําการไล่ลมแล้ว ควรพามาพบแพทย์ 2. การสะอึก พบได้ในทารกแรกเกิดทุกราย อาจพบได้ภายหลังการดูดนม เกิดเนื่องจากการทํางานของกระบังลมยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ ไม่ต้องให้การรักษาใดๆ อาจแก้ไขโดยอุ้มนั่งหรือพาดบ่าทําการไล่ลม ไม่มีความจําเป็นต้องให้ลูกดูดน้ำเพื่อแก้อาการนี้ อาการสะอึกจะลดน้อยลงตามลําดับเมื่อ ทารกอายุ 1-2 เดือน 3. ลิ้นเป็นฝ้าขาว พบเป็นปกติในทารกแรกเกิดทุกราย จะเห็นเป็นฝ้าขาวบาง ๆ กระจายเท่า ๆ กันบริเวณกลางลิ้น […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤติ

October 2, 2022

ปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีภาวะหอบหลังคลอด · คลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย · ครรภ์แฝดที่คลอดก่อนกำหนด · โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด · ภาวะน้ำตาลในเลือด … ปัญหาสุขภาพของทารกแรกเกิดเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แต่เมื่อเกิดแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กต้องได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ภาวะ หรือโรคที่พบได้บ่อยซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะวิกฤติของทารกแรกเกิด ได้แก่ ปัญหาระบบทางเดินหายใจ มีภาวะหอบหลังคลอด คลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อย ครรภ์แฝดที่คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia  NICU คือหน่วยทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตNeonatal Intensive Care Unit (NICU) เรียกง่ายๆ ว่า ไอซียู สำหรับทารกแรกเกิด โดยทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางทารกแรกเกิดและปริกำเนิด พร้อมอุปกรณ์เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีระบบเฝ้าติดตาม และสัญญาณเตือน อุปกรณ์ในการช่วยหายใจ เพื่อดูแลทารกแรกเกิดในภาวะเสี่ยงที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงการทำงานของทีมกุมารแพทย์เฉพาะทางทารกแรกเกิด จะเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงของทารกก่อนคลอดว่าเด็กคนใดที่มีความเสี่ยงบ้าง จากนั้นทีมแพทย์ และพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมดูแลทารกแรกเกิดภาวะวิกฤตโดยเฉพาะจะประชุมวางแผนการรับมือ การคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกมีโอกาสเกิดปัญหาหลังคลอด เตรียมอุปกรณ์ และเครื่องมือที่จะใช้ในการเตรียมรับรายที่มีภาวะเสี่ยงหลังคลอดมาดูแลทั้งนี้ การติดตามอาการของเด็กอย่างใกล้ชิดมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤตภายหลังคลอดอาจจะมีอาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด จะช่วยให้ทารกได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ส่งผลให้พ้นจากภาวะวิกฤต และปลอดภัย […]

โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ !!

March 3, 2021

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD (Sexually Transmitted Disease) หมายถึง โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้: HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคซึ่งไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis คนไทยจะรู้จักกันในชื่อ “ฝีมะม่วง” ซึ่งหมายถึงต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบจากการติดเชื้อ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ขาหนีบและปวด หรือที่ชาวบ้านเรียก “ไข่ดันบวม” ก็เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis นี่เอง โรคติดเชื้อทริโคโมนาส (Trichomoniasis / Trich) โรคติดเชื้อทริโคโมนาสเป็นโรคติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ปกติแล้วมักอาศัยอยู่ในช่องคลอด แต่ก็พบเชื้อนี้อาศัยอยู่ในท่อปัสสาวะ (องคชาติ) ของผู้ชายเช่นกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคนอาจตกขาวสีเหลือง มีลักษณะเป็นฟอง มีอาการคันที่อวัยวะเพศหรือเจ็บบริเวณแคมของช่องคลอด ส่วนผู้ชายมักจะไม่มีอาการ แต่อาจทําให้ปัสสาวะขัดได้ โรคติดเชื้อทริโคโมนาสติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธุ์ทางช่องคลอดกับผู้ที่เป็นโรคโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ […]