05-การทำแท้ง-abortion-couple-hold-hands-oct21

MDs’ LIFE | ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง

June 3, 2023

เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

case-1064-1

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยายุติการตั้งครรภ์

June 1, 2023

ยายุติการตั้งครรภ์ เป็นยาที่ใช้หยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยมีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 -12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา โดยตัวยาจะเข้าขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิไม่สามารถฝั่งตัวในผนังมดลูกได้ ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก ยายุติการตั้งครรภ์ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและได้รับขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) และไมเฟพริสโตน(Mifepristone) ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เท่านั้น การรับประทานยายุติตั้งครรภ์อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียนวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย มีเลือดออกทางช่องคลอด สตรีในประเทศไทยสามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 (1)(2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 1 ว่าด้วย 1. การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพมารดา ทั้งทางร่างกายแและจิตใจ และ 2. กรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง ภายใต้ข้อบังคับแพทยสภา ระบุว่า ความรุนแรงนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของมารดาประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 2 ว่าด้วย การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอีก 5 มาตรา ดังนี้มาตรา 276 ว่าด้วยการถูกข่มขืนกระทำชำเรามาตรา 277 ว่าด้วยการทำให้เด็กอายุน้อยกว่า […]

ภาวะแท้งคุกคาม

“ภาวะแท้งคุกคาม” เรื่องใหญ่ที่เล็กลงได้ หากรักษาทันเวลา!

May 31, 2023

“ภาวะแท้งคุกคาม” หรือปัญหาการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อ “การแท้งบุตร”  เราสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ หากรู้เท่าทันอาการและรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอจนถึงวันคลอด เพียงเท่านี้ ภาวะแท้งคุกคาม ก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับ “คุณแม่ตั้งครรภ์” อีกต่อไป ภาวะแท้งคุกคาม…คืออะไร? อาการภาวะแท้งคุกคาม คือการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ก็มีคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากที่สามารถดูแลครรภ์ได้ดีจนอายุครรภ์ครบตามกำหนดคลอด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ หากมีอาการเหล่านี้..ควรรีบไปพบแพทย์ การมีเลือดออก ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากมีเลือดออกมากขึ้นเรื่อยๆ จนไหลลงมายังขาและมีสีแดงสด รวมไปถึงมีอาการปวดท้องน้อย ปวดบีบเป็นระยะๆ หรือมีอาการปวดหลังและเป็นตะคริวร่วมด้วย อาการเบื้องต้นเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์กลุ่มไหน…เสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคามจะยังไม่มีการระบุไว้แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ การบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง การที่คุณแม่มีอายุมากหรือเกิน 35 ปี มีการใช้ สัมผัสกับยา หรือสารเคมีบางชนิด คุณแม่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน การดูแลครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพราะการป้องกันภาวะแท้งคุกคามอาจจะทำได้ยาก แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้ ก็ช่วยให้ครรภ์มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงได้ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง และการให้กำเนิดลูกน้อยที่สมบูรณ์ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ! ทั้งนี้ การพูดคุยกับแพทย์ยังช่วยลดระดับความเครียด ลดความวิตกกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ […]

dFQROr7oWzulq5Fa5BWNTEmWjFXIbAprYByELerymK5tKmHdGsK3uD67uRIEBx0otiN

ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’

May 30, 2023

ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’ สรุปพอดแคสต์จาก “กลุ่มทำทาง” ว่าด้วยเรื่อง ‘ภาษา’ ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมวิธีคิดต่อการทำแท้งในสังคมไทย “ภาษาที่ใช้มันก็สื่อถึงทัศนคติที่มันฝังอยู่ในค่านิยม ในสังคม [ไทย]” นี่เป็นประโยคหนึ่งในพอดแคสต์ของกิจกรรมการพูดคุยในหัวข้อเรื่อง “ ‘การใช้คำ’ เรื่องทำแท้ง” ใน ‘Twitter Space’ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาษานั้นก็เป็นเรื่องที่พวกเราควรสนใจเช่นกันเมื่อพูดถึงเรื่องการทำแท้ง ซึ่งผู้ร่วมพูดคุยในพอดแคสต์นี้คือคุณนุ่ม สุไลพร ชลวิไลและคุณชมพู่ สุพีชา เบาทิพย์ จาก คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง กลุ่มที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมาย ให้คำปรึกษา และสร้างความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการทำแท้งปลอดภัย และคุณเม คุณมี่ คุณหยา จากแอดมิน The Pillow Talks โดยวันนี้เราจะมาสรุปประเด็นต่าง ๆ บางส่วนที่น่าสนใจจากพอดแคสต์นี้ให้อ่านกัน การใช้คำสำคัญอย่างไร? – เพราะภาษาที่ใช้ในการทำแท้งแสดงถึงทัศนคติและค่านิยมที่ฝังลึกในสังคมไทย บางครั้งเวลาเราใช้คำต่าง ๆ พวกนี้ พวกเราไม่ได้ตระหนักถึงความหมายโดยนัยของคำที่ใช้ ซึ่งคำส่วนใหญ่ที่ใช้มันไม่ได้เป็นกลางทางความหมาย แล้วพอใช้กันต่อไปเรื่อย ๆ จึงเกิดความหมายแฝงที่อาจจะกดทับหรือประณามผู้ตั้งครรภ์โดยที่พวกเราไม่รู้ตัว การพาดหัวข่าวของสื่อที่ตีตราผู้ตั้งครรภ์ – […]

1-22-scaled

แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่

May 29, 2023

สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” ซึ่งจัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ทาง Facebook Page : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากร ดำเนินรายการโดย ผู้สรุปสาระสำคัญและเรียบเรียง ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล : กล่าวว่า สำหรับกฎหมายเรื่องการทำแท้งที่ออกมาใหม่ ตนมองว่าการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ตอบโจทย์สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมทั้งหมด ตลอดจนเฉพาะความคิดต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศ.ดร. สุรศักดิ์นำเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ประเด็นแรก เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นในการแก้ไขกฎหมาย คือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเรารู้จักทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่แรกเกิด รู้พัฒนาการในทุกช่วงของทารกตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 4 สำหรับประเด็นปัญหาแต่เดิมที่มีการถกเถียงกัน คือกฎหมายไทยอนุญาตให้ทำแท้งเพียง 2 กรณี ได้แก่ กรณีสุขภาพของมารดา และกรณีมารดาถูกกระทำความผิดทางอาญาแล้วตั้งครรภ์ แต่สำหรับกรณีทารกผิดปกติ ก็เคยเป็นประเด็นในการสู้คดี ซึ่งกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำแท้ง ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีการพยายามแก้ไขโดยเพิ่มเหตุการณ์เรื่องสุขภาพของทารก […]

565000009559501.JPEG

“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน 

May 27, 2023

“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน เด็กเกิดใหม่ ต้องมีคุณภาพ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสังคมไทยในรอบ 60 ปี เกี่ยวกับการ  “ทำแท้งถูกกฎหมาย”  หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำสู่การปรับแก้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานทำแท้งที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2499 เอื้อประโยชน์การทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย  ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ รองรับมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา  อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายแก้ไขให้เปิดกว้างเพียงใด การทำแท้งยังเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย ทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ศีลธรรม จรรยาบรรณ ฯลฯ สำหรับสาระของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา […]

63636ade74e645.42976008

ทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีความผิด มีเหตุผลอะไรบ้าง เช็กกฎหมายยุติการตั้งครรภ์

May 24, 2023

การทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ นับเป็นประเด็นที่ผู้คนต่างพากันจับตามองและให้ความสนใจ เนื่องจากมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศ เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่หญิงนั้น ต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ซึ่งทางสำนักงานกิจการยุติธรรม เองก็ได้ออกมาเปิดเผยข้อกฎหมายแบบละเอียดสำหรับหญิงที่จำเป็นต้องการทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ สำหรับ 5 เหตุผลทำแท้งตามกฎหมาย ไม่มีความผิด ถ้าทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหญิงยินยอมดำเนินการตามข้อบังคับแพทย์สภา 1. มีครรภ์ต่อไปแล้วจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย/จิตใจ2. มีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ3. มีความเสี่ยงมาก/มีเหตุผลทางการแพทย์ที่เชื่อได้ว่าถ้าคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง4. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และหญิงยืนยันทำแท้ง5. อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขประกาศกำหนดฯและหญิงยืนยันทำแท้ง ทั้งนี้ หากหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน […]

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด

May 23, 2023

สถานพยาบาลไฟสลัวในตึกแถวเก่า ๆ ย่านชานเมือง อบอวลไปด้วยด้วยกลิ่นเหม็นสาบและคราบสกปรก มีเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของหญิงสาวดังกึกก้องจากห้องตรวจ สร้างความหวาดหวั่นให้กับหญิงสาวคนอื่นที่นั่งรออยู่ด้านนอก  นี่คือภาพจำของ “การทำแท้ง” ที่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคมไทย บวกกับทัศนคติและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ผีเด็ก” ที่ติดตามผู้หญิงที่เคยทำแท้ง หรือความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่เคยทำแท้ง “ทำอะไรก็ไม่เจริญ” เพราะบาปกรรมจากการฆ่าลูก รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง ทำให้ทุกครั้งที่พูดถึงการทำแท้ง คนทั่วไปมักคิดถึงภาพความน่ากลัวและการกระทำที่ไร้ศีลธรรมเสมอ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี แต่ประเด็นการทำแท้งก็จุดกระแสการถกเถียงในสังคมได้เสมอ  ขณะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง และยกเรื่องศีลธรรมขึ้นมาอ้าง อีกฝ่ายก็มองไปถึงเรื่องของความจำเป็นในชีวิตและสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวเองและสังคม ที่จริงแล้ว กฎหมายทำแท้งและทัศนคติของคนต่อเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร Sanook คุยกับ “กลุ่มทำทาง” กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานให้คำปรึกษาผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และทำงานขับเคลื่อนเรื่องการทำแท้งปลอดภัยมานานกว่า 10 ปี เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ “กลุ่มทำทาง” เพื่อ “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิง ย้อนกลับไปในปี 2553 ข่าวการพบซากทารกมากกว่า 2,000 ศพ ในบริเวณวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เป็นข่าวดังที่ทั้งสะเทือนใจคนไทยและส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อระดับศีลธรรมของคนในสังคม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “กลุ่มทำทาง” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานของสังคมต่อเรื่องการทำแท้งที่รุนแรง […]

หลัก 4 S สกัดปัญหาท้องไม่พร้อม เข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย

หลัก 4 S สกัดปัญหาท้องไม่พร้อม

May 22, 2023

หลัก 4 S สกัดปัญหาท้องไม่พร้อม เข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับภาคีเครือข่าย 6 กระทรวง ใช้หลัก 4 S ลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม และปัญหาการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย พร้อมแนะทางออกให้กับหญิงไทยที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม เข้าถึงบริการเพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสม นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากที่มีการนำเสนอข่าววัยรุ่นใช้ยาเหน็บเพื่อทำแท้งจนเด็กหลุดออกมาเสียชีวิตนั้น กรณีนี้นับว่าเป็นการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสมและเลือกใช้วิธีการที่เสี่ยงและอันตราย ซึ่งอาจเป็นได้ว่าวัยรุ่นดังกล่าวไม่ทราบช่องทางการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย จนนำไปสู่การทำแท้งในที่สุด ที่ผ่านมากรมอนามัยได้ยึดหลักการยุติตั้งครรภ์ที่ถูกกฏหมาย เพื่อแก้ปัญหาหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมและการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งผลักดันร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องพัฒนาองค์ประกอบรองรับด้วยหลัก 4 S คือ  Safe Virgin  โดยผลักดันเพศสุขภาพวิถีศึกษา  Safe Sex  โดยสามารถเข้าถึงยาคุมกำเนิดโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตามสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ  Safe Abortion คือ ยุติการตั้งครรภ์ทีปลอดภัยผ่านเครือข่าย RSA (เครือข่ายอาสาส่งต่อเพื่อการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย) และ  Safe Mom คือกรณีให้คำปรึกษาหญิงที่เปลี่ยนใจเห็นว่าควรตั้งครรภ์ต่อ  ได้รับสิทธิ์ดูแลครรภ์ตามมาตรฐานฟรี รวมถึงการสงเคราะห์ดูแลด้านอื่น ๆ โดยมีกลไกการทำงานร่วมกัน 6 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “นอกจากนี้ ได้ดำเนินงานร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อให้บริการยาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัยในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า  20  ปี ที่อยู่ในภาวะหลังคลอดหรือแท้ง หรือต้องการคุมกำเนิดในทุกสิทธิสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ […]

1200

เปิดประสบการณ์การทำแท้งมามากกว่า 1,200 คนของอดีตคุณหมอ

May 11, 2023

อดีตคุณหมอชาวอเมริกันเคย “ทำแท้ง” ให้ผู้หญิงมามากกว่า 1,200 คน ได้ออกมาเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการทำแท้งเพื่อให้เป็นอุทาหรณ์กับใครหลายๆ คนที่คิดจะทำ โดยในปี 1980 เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจบริการทำแท้ง แต่ในปัจจุบันทั้งแพทย์ และนักกฎหมายหลายคนยุติการทำแท้งกันแล้ว วิธีแรก:การทำแท้งด้วย “ยา” การทำแท้งด้วยการทานยา ซึ่งวิธีนี้ผู้หญิงตั้งครรภ์จะต้องทานยาทั้งหมด 2 เม็ด ยาจะออกฤทธิ์ทำให้เด็กที่อยู่ในครรภ์เสียชีวิตก่อน หลังจากนั้นยาก็จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เด็กหลุดออกมา โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด ยาแท้ง หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ RU-486 ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์โดยต้านการฝังตัวของทารกในครรภ์ และหยุดจ่ายฮอร์โมนเพศที่เข้าไปดูแลการทำงานของมดลูก จนทำให้เด็กในครรภ์ไม่มีอากาศหายใจและไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงร่ายกาย ในที่สุดทารกในครรภ์ก็จะเสียชีวิต หลังจากเมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้มดลูกไม่สามารถรองรับการตั้งครรภ์และเริ่มมีการขับเซลล์เลือดออกมา และเด็กก็จะเสียชีวิต หลังจากทานยาแล้ว 1-2 วัน ให้ผู้ตั้งครรภ์ทานยา “Misoprostol” ตาม ยานี้จะออกฤทธิ์ทำให้มดลูกหดตัว จนขับเลือดและทารกออกมา สิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการใช้วิธีนี้ก็คือ หลังจากที่ทานยาแท้งทั้งสองชนิดนี้แล้ว ทารกที่อยู่ในครรภ์อาจจะขับออกมาได้ตลอดเวลา โดยที่มีสามารถรู้เวลาแน่นอนได้ เวลาที่เด็กทารกที่เสียชีวิตแล้วจะหลุดออกมา ผู้ตั่งครรภ์อาจจะเห็นตัวเด็กแค่เล็กๆ แต่บางกรณีที่เด็กมีอายุครรภ์มากแล้ว เวลาที่ขับออกมาก็จะเห็นแขนขามือเท้าอย่างชัดเจน ดังนั้นในกรณีนี้ตัวผู้ทำแท้งจะเกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ปวดท้อง, ปวดศีรษะ, อาเจียน หรือเลือดออกมากเกินไป 1% ของผู้ทำแท้งอาจจะต้องเข้าผ่าตัดอีกรอบ “การทำแท้งด้วยการทานยา”

feature_why_ทำแท้ง

ทำแท้ง อันตรายอย่างไร ไม่จำเป็นอย่าเสี่ยง

May 9, 2023

ควรหรือไม่กับการทำแท้ง ยังคงเป็นปัญหาที่โต้แย้งกันในสังคมไทย การทำแท้งจากการท้องไม่พร้อมถือว่าผิดกฎหมาย แต่ก็ยังมีบริการทำแท้งเถื่อนที่เสี่ยงอันตรายสูงเปิดให้เห็นเป็นจำนวนมาก จากการคาดการณ์อุบัติการณ์ของการทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ก่อนคลอดทั่วโลกในปี 2010-2014 เผยแพร่โดยสถาบัน Guttmacher ซึ่งเป็นองค์กรที่ศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับสุขภาพทางเพศและการเจริญพันธุ์แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่ามีการทำแท้งเกิดขึ้นทั้งหมด 56.3 ล้านครั้ง ในจำนวนนี้เป็นการทำแท้งในประเทศที่พัฒนาแล้ว 6.7 ล้านครั้ง และในประเทศกำลังพัฒนาถึง 49.6 ล้านครั้ง สำหรับในประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดในการทำแท้ง หญิงตั้งครรภ์จะสามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายก็ต่อเมื่อแพทย์ลงความเห็นว่ามีความจำเป็นเท่านั้น นั่นคือเสี่ยงต่อสุขภาพของแม่ ซึ่งหากไม่ทำแท้งอาจทำให้แม่เกิดอันตรายถึงชีวิต ผู้เป็นแม่มีอาการผิดปกติทางจิต หรือกรณีตั้งครรภ์จากการถูกกระทำชำเรา เช่น ถูกข่มขืนหรือการมีเพศสัมพันธ์ในเชื้อสายเดียวกัน ซึ่งต้องให้แพทย์ในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการเท่านั้น ในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมาย ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลและรักษาพยาบาลก่อนและหลังทำแท้ง โดยมีการตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติครรภ์ วิธีการดูแลตัวเอง ไปจนถึงวิธีติดตามสังเกตอาการของตนเองเพื่อกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง ซึ่งวิธีการทำแท้งในบทความนี้มีไว้เฉพาะเพื่อให้ข้อมูลการทำแท้งโดยแพทย์ที่ถูกกฎหมายในกรณีที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น วิธีการทำแท้ง หรือยุติการตั้งครรภ์มี 2 วิธีหลักด้วยกัน ได้แก่ การใช้ยา และวิธีการที่มีหัตถการทางการแพทย์ร่วมด้วยโดยการดูดหรือขูดมดลูก ทำแท้งด้วยการใช้ยา การใช้ยาช่วยให้แท้งจะทำได้เมื่อผู้เป็นแม่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ โดยยาที่ใช้จะช่วยให้ปากมดลูกนิ่มและเปิดออก กระตุ้นการหดตัวของมดลูก ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ สั่งจ่ายได้เฉพาะในโรงพยาบาลโดยแพทย์เท่านั้น ทำแท้งโดยมีหัตถการทางแพทย์ร่วมด้วย แพทย์อาจดูดมดลูกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ หรือใช้วิธีขยายและขูดมดลูก ซึ่งวิธีการในแต่ละอายุครรภ์ก็แตกต่างกันไป […]

37425408534_740a59ada6_k

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง ยุติการตั้งครรภ์

April 30, 2023

รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง ดังนี้คือ 1. ไม่มีผู้หญิงคนไหนในโลกที่ตั้งใจท้องเพื่อจะไปทำแท้ง 2. ไม่มีการทำแท้งเสรีอยู่จริงในโลกนี้ เพราะแต่ละบริการในแต่ละประเทศล้วนมีเงื่อนไขทั้งสิ้น เช่น อายุครรภ์ กำหนดว่าต้องทำที่ไหน ใครที่เป็นผู้ทำ และ3. กฎหมายทำแท้งทุกแห่งในโลกแบ่งผู้หญิงเป็น 2 ประเภท คือ ผู้หญิงที่สามารถทำแท้งได้ (Deserved abortion ) กับผู้หญิงที่ไม่สามารถทำแท้งได้ (Undeserved abortion) การทำแท้งได้จึงยังอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้น อื่น ๆ ถูกกำหนดว่า ทำไม่ได้ แม้ว่าในความเป็นจริงของชีวิตการทำแท้งมาจากเงื่อนไขมากมายกว่าที่เงื่อนไขที่กำหนด  กรณีประเทศไทยทำแท้งได้ คือตามเงื่อนไขของมาตรา 305 และภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดว่าทำได้ ในทางปฏิบัติก็ยังมีการตีความ การรับรู้และการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกัน ยังมีตำรวจ นักข่าว ครู และประชาชนจำนวนหนึ่งที่คิดว่า กฎหมายไทยห้ามทำแท้งทุกกรณี  แนวทางการแก้ไขกฎหมายการทำแท้งจากทั่วโลกมาในทิศทางที่ไม่มีกฎหมายทำแท้ง การทำแท้งไม่ใช่ความอาญาอีกต่อไป แต่คือเรื่องสุขภาพ ตัวอย่างของประเทศแคนาดา ไม่มีกฎหมายเรื่องทำแท้งในกฎหมายอาญา แต่มีระเบียบและกฎเกณฑ์ที่เป็นของกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่ทำงานเรื่องบริการสุขภาพกำหนดกฎเกณฑ์เอง เว้นกรณีบังคับทำแท้งที่ยังเป็นการกระทำผิด ซี่งทางเลือกแบบนี้หากนำมาใช้ในประเทศไทย คือ ต้องไม่มีกฎหมายอาญาเรื่องนี้  ในกระบวนการแก้ไขกฎหมายต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมให้ความเห็นให้มากที่สุด โดยต้องไม่ลืมเจ้าของปัญหา ภาครัฐและภาคเครือข่ายภาคประชาสังคม […]