การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 2 เดือน

December 2, 2022

เด็กทารกวัย 2 เดือนต้องการอะไร พัฒนาการทารกในวัย 2 เดือนนี้ มีการเปลี่ยนแปลงด้านใดบ้าง ต้องรับมือเรื่องอาหาร วิธีการให้นม การเลี้ยงดู และการสื่อสารกับลูกวัย … ลูกน้อยวัย 2 เดือนคุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 เพราะคุณพ่อและคุณแม่ต่างปรับตัวได้แล้ว และเริ่มเข้าใจลูกน้อยมากขึ้นตามลำดับ ขณะที่ลูกน้อยเองก็เริ่มโต้ตอบกับคุณได้มากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงสีหน้า แน่นอนว่ารอยยิ้มของลูกน้อยทำให้คุณพ่อและคุณแม่ชื่นใจได้มาก ลูกน้อยจะสื่อสารด้วยเสียงอ้อแอ้ของเค้าออกมา ขั้นตอนง่ายๆ ในการแสดงความรักให้ลูกน้อยรับรู้ได้ คือ การสบตาและพูดกับเค้าด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน ค่อยๆ ขยับปากให้เค้าเห็นชัดๆ ใกล้ๆ และเมื่อลูกน้อยยิ้มให้คุณ พยายามสัมผัสให้เค้ารับรู้ว่าคุณเห็นและเข้าใจสิ่งที่เค้าพยายามสื่อสารกับคุณแล้ว นี่คือช่วงเวลาแห่งความผูกพันระหว่างพ่อ แม่และลูกน้อยที่มีคุณค่าและวิเศษที่สุด การให้นมลูกน้อยลูกน้อยในวัยนี้แสดงอาการหิวได้ชัดเจนขึ้น เป็นช่วงที่เค้าพยายามกำหนดช่วงเวลาการกินนมด้วยตัวเอง คุณเพียงแต่ทำตามและป้อนนมเมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยให้สัญญาณ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ อาจจะต้องสลับเต้านมทั้งสองข้างในการป้อนลูกรัก การให้นมลูกช่วงเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยยังตื่นขึ้นมากินนมในตอนกลางคืนอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาวนานกว่าเดิม เป็น 5-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนนานขึ้นด้วย การนอนของเจ้าตัวเล็กลูกน้อยเริ่มนอนอย่างมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานขึ้นจากเดิมที่นอนทุกๆ 1-3 ชั่วโมง ลูกน้อยจะเริ่มงีบหลังจากกินนมอิ่มแล้วประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่ช่วยเตรียมลูกน้อยด้วยการจัดที่นอนสบายๆ และสร้างบรรยากาศการนอนหลังป้อนนมแล้ว เด็กวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนนานขึ้นเป็น 9-18 […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิด

November 28, 2022

ทารกแรกเกิดแหวะนมเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นภาวะปกติ เพราะหูรูดของกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง ควรปรับการให้นมใหม่ โดยให้ทารกดูดนมในปริมาณน้อยๆ แต่ดูดบ่อยขึ้น และอุ้มเรอ  การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่  เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอด และให้ดูด 8-12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว การให้นมลูกควรให้ในสถานที่ที่สงบและสะอาด ควรนวดเต้านมและลานหัวนมให้นิ่ม และบีบน้ำนมออกประมาณ 2-3 หยดก่อนให้ลูกดูด จัดท่าทางให้สบาย โดยคุณแม่อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัว ให้ปากของลูกอยู่ตรงหัวนม มืออีกข้างประคองเต้านม แล้วใช้หัวนมกระตุ้นริมฝีปากลูกให้ลูกอ้าปาก […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 1 เดือน

November 26, 2022

ในช่วงเดือนแรก ควรป้อนนมทารกอย่างน้อย 6 ครั้งในแต่ละวัน หรือ 12 ครั้งต่อวันถ้าให้นมแม่ ระวังอย่าป้อนนมลูกในแต่ละครั้งมากเกินไป คอยสังเกตอาการของลูกน้อย ลูกน้อยวัย 1 เดือนเมื่อมีสมาชิกตัวน้อยๆ เพิ่มเข้ามาในครอบครัว ถือเป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของบ้าน แทบจะเรียกได้ว่าทุกวินาทีที่ผ่านไปรวดเร็วจนอาจจะตั้งตัวไม่ทัน และบางครั้งก็อาจทำให้คุณแม่กังวลมากจนแทบจะไม่มีเวลาทำสิ่งอื่นนอกจากการดูแลลูก ลูกน้อยวัย 1 เดือน ต้องการการดูแลใกล้ชิดอย่างมาก เพราะยังหัดทำอะไรเป็นตารางเวลาไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องการนอน ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ยังไม่สามารถควบคุมการนอนและตื่นได้ ลูกน้อยจะตื่นมาหลังจากนอนได้เพียง 2-3 ชั่วโมง และพร้อมกินนมก่อนจะนอนหลับต่อในเวลาต่อมาไม่นาน การให้นมลูกน้อยในช่วงเดือนแรก ควรป้อนนมทารกอย่างน้อย 6 ครั้งในแต่ละวัน หรือ 12 ครั้งต่อวันถ้าให้นมแม่ ระวังอย่าป้อนนมลูกในแต่ละครั้งมากเกินไป คอยสังเกตอาการของลูกน้อยเมื่อรู้สึกอิ่ม เพื่อปรับปริมาณและเวลาที่ป้อนนมให้เหมาะสม การนอนเดือนแรกนี้ลูกน้อยจะใช้เวลานอนค่อนข้างมาก เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเริ่มง่วง ควรให้ลูกนอนพักในเปลหรือเตียง ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มง่วงและหลับสนิทหลังจากการป้อนนมได้ไม่นานนัก คุณแม่อาจจะเห็นลูกน้อยวัย 1 เดือนยิ้มเป็นครั้งแรกในช่วงวัยนี้ แต่สิ่งที่คุณเห็นนั้นเป็นเพียงการแสดงออกของกล้ามเนื้อบนใบหน้ามากกว่า ซึ่งรอยยิ้มของลูกน้อยจริงๆ จะมีต่อเมื่อผ่าน 6 สัปดาห์ไปแล้ว และทารกบางคนอาจจะมีอาการโคลิกหรือร้องกวนมากขึ้นเพื่อฝึกการทำงานของปอด อาการร้องไห้ไม่หยุดนี้ทำให้พ่อแม่มือใหม่หลายคนกังวลใจมาก เพราะไม่รู้วิธีรับมือกับเรื่องนี้ สิ่งที่ทำได้ง่ายมากๆ คือ การปลอบลูกน้อยด้วยความอ่อนโยน พัฒนาการของทารกเมื่อแรกเกิดลูกน้อยจะจ้องมองหน้าแม่และหันตามได้ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การรับมือกับทารกแรกเกิด

November 26, 2022

การรับมือกับทารกแรกเกิด : นมแม่คือลูกคือสุดยอดอาหารสำหรับลูกน้อย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าลูกควรได้รับนมแม่ตลอดช่วงหกเดือนแรกจนถึงอายุ 2 ปีหรือกว่าแม่จะ… การรับมือกับทารกแรกเกิด มีความท้าทายอยู่มากมายเลยค่ะสำหรับการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ไม่ว่าจะเป็นการพักฟื้นหลังคลอด การให้นมและการกล่อมลูกน้อย สิ่งเหล่านี้นำไปคุณพ่อคุณแม่ไปสู่การอดหลับอดนอนและเหนื่อยล้า มีผลให้คุณพ่อคุณแม่มีอาการสมองตื้อและอารมณ์แปรปรวนได้ค่ะ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้การสร้างความผูกพันธ์กับลูกน้อยต้องใช้เวลานานกว่าที่คุณพ่อคุณแม่คาดการณ์ไว้นั่นเอง นอกเหนือจากการปรับตัวให้เข้ากับลูกน้อยแล้ว คุณแม่อาจจะต้องปรับเปลี่ยนความรู้สึก และดูแลรูปลักษณ์ของตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น ในขณะที่ต้องหาเวลามาดูแลเจ้าตัวน้อยไปด้วยในเวลาเดียวกัน อีกทั้งคุณแม่ยังจะต้องปรับตัวกับความสัมพันธ์ในชีวิตที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ไม่ใช่แค่คุณพ่อนะคะ รวมไปถึงคนในครอบครัวและเพื่อน ๆ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการกับจัดการกับมันสักหน่อย และในช่วงเวลาที่เลี้ยงลูกน้อยอาจก่อให้เกิดความเครียดและสร้างความกดดันให้กับคุณแม่ได้ค่ะ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความท้าทายส่วนหนึ่งที่คุณแม่หลายคนต้องเผชิญค่ะ แต่บ่อยครั้งที่คุณแม่ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากคนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเลี้ยงดูลูก หรือ ขอคำปรึกษาด้านอารมณ์ในช่วงแรก ๆ ซึ่งอาจมีผลกระทบที่ตามมาภายหลัง ทำให้คุณพ่อ คุณแม่และลูกน้อยต้องตกอยู่ภายใต้สภาวะความเครียดที่มากขึ้นค่ะ แต่อย่าพึ่งกังวลไปนะคะ เพราะยังมีเคล็ดลับและกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่จะมาช่วยจัดการให้ช่วงเวลาของการเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ให้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ซึ่งมีดังต่อไปนี้ • หาเวลาพักผ่อนให้กับตัวเองบ้างนะคะ ในช่วงเวลาที่ลูกหลับอาจให้คนในบ้านมาช่วยแทนมือสักครู่ ออกไปนั่งพัก ทานข้าว อาบน้ำ หรือนอนหลับสักงีบจะได้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นค่ะ• พยายามอย่ากดดันตัวเองว่าจะต้องเป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุดมากเกินไปนะคะ ความสะอาดและความปลอดภัยย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อย หากแต่บางครั้งคุณแม่คุณพ่อมือใหม่อาจยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนจึงรู้สึกว่าทุกๆอย่างจะต้องดีที่สุด พาลให้คุณพ่อคุณแม่กังวลไปสารพัดทำให้คนรอบข้างที่อยากช่วยเหลือจะรู้สึกอึดอัดในการยื่นมือเข้าช่วยด้วยนะคะ • การเลี้ยงลูกไม่มีอะไรเป็นสูตรตายตัว ดังนั้นหากเราให้คนที่บ้านช่วยเลี้ยง หรือพ่อแม่เราช่วยเลี้ยง ค่อยพูดค่อยจาถ้อยทีถ้อยอาศัย […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

พัฒนาการทารกวัย 2 เดือน 

November 22, 2022

พัฒนาการทางร่างกายที่เด่นชัดของทารกวัย 2 เดือน ได้แก่. ตื่นนอนกลางวันราว 10 ชั่วโมง; แขนขายังกระตุก มีสะดุ้งตกใจบ้าง; การเคลื่อนไหวนุ่มนวลขึ้นกว่าเดือนแรก … ลูกวัย 2 เดือนจะมีตัวหนักขึ้นจากเมื่อตอนอายุ 1 เดือนประมาณ 1 กิโลกรัม เริ่มบังคับศีรษะโงนเงนไปมาได้ สามารถเงยขึ้น 45 องศา เพื่อมองสิ่งแวดล้อมรอบๆ ได้ประมาณ 2-3 นาที ลูกจะกินนมเป็นเวลามากขึ้น ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อครั้ง เฉลี่ย 35 ออนซ์ต่อวัน และหากไม่ได้ดั่งใจก็จะแผดเสียงร้องลั่นบ้าน เด็กบางคนอาจจะนอนหลับเพลินจนลืมเวลากินนม เพราะเมื่อมีอายุเลย 5 อาทิตย์แล้ว จะนอนตอนกลางคืนได้ยาวนานขึ้นรวดเดียวถึง 7 ชั่วโมง และในตอนกลางวันจะอยู่ในภาวะตื่นมากขึ้นเป็น 10 ชั่วโมงต่อวัน เด็กจะเริ่มเรียนรู้ร่างกายตนเอง ชอบถีบขายืดแขน หันหน้าหันหลังพลิกตัวไปมาอย่างสนุกสนาน ยิ่งหากมีคนอื่นๆ อยู่ด้วยเจ้าหนูจะโชว์ท่าทางเป็นพิเศษ ด้านการมองเห็นในเดือนที่ 2 เลนส์ของตาจะปรับระยะตามความห่างของวัตถุ แต่ประสาทของตากับหูยังไม่สัมพันธ์กันมากนัก อาจจะไม่ค่อยหันตามเสียงแต่จะหันตามของเล่นสีสดใสหรือแสงวิบวับแทน อย่างไรก็ตามลูกจะชอบใบหน้าของคนมากกว่าสิ่งของอยู่ดี และการเรียนรู้ของลูกมักจะเป็นการเรียนรู้ด้วยปากและพอใจกับการได้ดูดนมหรือนำนิ้วเข้าปากมากกว่าเรียนรู้ด้วยสายตา พัฒนาการทางร่างกายที่เด่นชัดของทารกวัย 2 เดือน ได้แก่ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

เคล็ดลับดูแลลูกน้อยวัย 2 เดือน

November 20, 2022

ดูแลให้ลูกน้อยได้เคลื่อนไหวและขยับร่างกายบนพื้นที่ว่างเป็นประจำทุกวัน เพื่อเสริมทักษะการเคลื่อนไหว และควรระวังเป็นพิเศษหากคุณมีสัตว์เลี้ยง … ลูกน้อยวัย 2 เดือนคุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลายขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่ 2 เพราะคุณพ่อและคุณแม่ต่างปรับตัวได้แล้ว และเริ่มเข้าใจลูกน้อยมากขึ้นตามลำดับ ขณะที่ลูกน้อยเองก็เริ่มโต้ตอบกับคุณได้มากขึ้น เช่น การยิ้ม แสดงสีหน้า แน่นอนว่ารอยยิ้มของลูกน้อยทำให้คุณพ่อและคุณแม่ชื่นใจได้มาก ลูกน้อยจะสื่อสารด้วยเสียงอ้อแอ้ของเค้าออกมา ขั้นตอนง่ายๆ ในการแสดงความรักให้ลูกน้อยรับรู้ได้ คือ การสบตาและพูดกับเค้าด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยน ค่อยๆ ขยับปากให้เค้าเห็นชัดๆ ใกล้ๆ และเมื่อลูกน้อยยิ้มให้คุณ พยายามสัมผัสให้เค้ารับรู้ว่าคุณเห็นและเข้าใจสิ่งที่เค้าพยายามสื่อสารกับคุณแล้ว นี่คือช่วงเวลาแห่งความผูกพันระหว่างพ่อ แม่และลูกน้อยที่มีคุณค่าและวิเศษที่สุด การให้นมลูกน้อยลูกน้อยในวัยนี้แสดงอาการหิวได้ชัดเจนขึ้น เป็นช่วงที่เค้าพยายามกำหนดช่วงเวลาการกินนมด้วยตัวเอง คุณเพียงแต่ทำตามและป้อนนมเมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยให้สัญญาณ สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ อาจจะต้องสลับเต้านมทั้งสองข้างในการป้อนลูกรัก การให้นมลูกช่วงเดือนที่ 2 นี้ ลูกน้อยยังตื่นขึ้นมากินนมในตอนกลางคืนอยู่ แต่จะเริ่มปรับตัวด้วยการนอนที่ยาวนานกว่าเดิม เป็น 5-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่ก็จะได้พักผ่อนนานขึ้นด้วย การนอนของเจ้าตัวเล็กลูกน้อยเริ่มนอนอย่างมีระบบมากขึ้น โดยเริ่มนอนกลางวันนานขึ้นจากเดิมที่นอนทุกๆ 1-3 ชั่วโมง ลูกน้อยจะเริ่มงีบหลังจากกินนมอิ่มแล้วประมาณ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่ช่วยเตรียมลูกน้อยด้วยการจัดที่นอนสบายๆ และสร้างบรรยากาศการนอนหลังป้อนนมแล้ว เด็กวัยนี้จะเริ่มใช้เวลานอนนานขึ้นเป็น 9-18 ชั่วโมงต่อวัน พฤติกรรมของหนูช่วงที่คุณพ่อและคุณแม่หนักใจมากที่สุด คือ การที่ลูกน้อยเริ่มร้องไห้บ่อยขึ้นโดยไม่รู้สาเหตุ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

8 วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จ

November 20, 2022

แม่ลูกควรอยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมงตั้งแต่แรกเกิด … การให้ลูกน้อยดูดหัวนมยางหรือหัวนมปลอมอาจทำให้เกิดความสับสนระหว่างการดูดนมแม่กับการดูดหัวนมยางหรือหัวนม … 1) หลังคลอดลูกดูดนมแม่ให้เร็วที่สุด คุณแม่ควรเริ่มให้ลูกดูดนมแม่โดยเร็วที่สุดหลังคลอดทันทีหรือภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยสร้างสายสัมพันธ์แห่งความรัก ความผูกพัน และความอบอุ่นที่ลูกน้อยรับรู้ได้ทันที ลูกจะคุ้นเคยกับการดูดนมและแม่จะเข้าใจและเรียนรู้ความต้องการของลูก 2) แม่ต้องรู้วิธีให้นมที่ถูกต้อง วิธีการให้นมลูกที่ถูกต้องคือ คุณแม่ต้องตะแคงตัวลูกเข้าหาตัวแม่แล้วอุ้มให้กระชับอก โดยให้ศีรษะและลำตัวลูกอยู่แนวเดียวกัน แล้วประคองศีรษะลูกให้อมหัวนมและลานนมให้ลึก เมื่อเหงือกลูกกดบนลานนมที่มีกระเปาะน้ำนมภายใน ลิ้นจะอยู่ใต้ลานนมและรีดน้ำนมออกมาโดยที่ริมฝีปากไม่เม้มเข้า ขณะดูดจะเป็นจังหวะและมีเสียงเบา ๆ ขณะกลืนน้ำนม ส่วนการคงสภาพของการหลั่งน้ำนมแม้ว่าแม่กับลูกต้องแยกจากกันควรต้องให้คุณแม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการบีบน้ำนมและกระตุ้นให้เก็บน้ำนมในความถี่ที่เหมาะสมอย่างน้อย 8 ครั้งต่อวัน และมีปริมาณน้ำนมที่ชัดเจน โดยในช่วง 2 สัปดาห์แรกควรต้องได้ปริมาณน้ำนมมากกว่า 500 มิลลิลิตรต่อวัน นอกจากนี้ควรมีการบันทึกปริมาณน้ำนมในช่วง 14 วันแรก เพื่อประเมินความพอเพียงของน้ำนม 3) ทารกต้องกินนมแม่เท่านั้น ทารกต้องได้รับแต่นมแม่เท่านั้นตลอด 6 เดือน ห้ามให้น้ำ อาหาร หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เนื่องจากสมองของเจ้าตัวเล็กเติบโตเร็วมากในขณะที่กระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก หากให้น้ำหรืออาหารอื่น ๆ ลูกจะดูดนมแม่น้อยลง การให้นมแม่อย่างเดียวถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลักและมีสารอาหารที่จำเป็นครบถ้วน 4) แม่ลูกควรอยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมงตั้งแต่แรกเกิด หลังคลอดแม่กับลูกควรอยู่ด้วยกันตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยแม่ควรอุ้มทารกแนบอก […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

November 18, 2022

การดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน ควรอาบน้ำและสระผมให้เด็กด้วยน้ำอุ่นทุกวัน วันละ1-2 ครั้ง ในช่วงระหว่างมื้อนม ช่วงหลังทานนมไปแล้วประมาณ 2ชั่วโมง เพื่อป้องกันเด็กอาเจียน ข้อปฏิบัติ..ในการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ สามารถให้เด็กดูดได้ทุกๆ 3 ชั่วโมง โดยดูดจากทั้ง 2 เต้า ข้างละประมาณ 10-15 นาที ในมื้อถัดไปให้เริ่มดูดข้างที่ดูดสุดท้ายของมื้อที่แล้วก่อน การสังเกตว่าจะมีน้ำนมเพียงพอต่อบุตรหรือไม่ ดูได้จากขณะที่เด็กดูดนมข้างใดข้างหนึ่งจะมีน้ำนมออกจากเต้าอีกข้างด้วย และดูเวลานอนของเด็กถ้าเด็กนอนได้ 2-3ชั่วโมงในแต่ละมื้อ แสดงว่าน้ำนมมารดามีความเพียงพอสำหรับลูกแล้ว สุดท้ายก็ดูจากน้ำหนักของเด็กเมื่อมาตรวจร่างกายตามนัด ข้อปฏิบัติ..ในการเลี้ยงลูกด้วยนมผง นมแม่เป็นนมที่ดีที่สุดสำหรับทารก แต่ถ้าแม่ไม่สามารถให้นมเองได้หรือน้ำนมไม่เพียงพอ อาจจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแรกเกิด โดยมีรายละเอียด ดังนี้.. ส่วนผสมของนม : นม 1 ช้อน ต่อ น้ำต้มสุก 1 ออนซ์ หรือ นม 1 ช้อน ต่อ น้ำต้มสุก 2 ออนซ์ แล้วแต่ชนิดของนมผง วิธีการชง : นำน้ำต้มสุกที่อุ่นใส่ขวดนมให้ได้ปริมาณออนซ์ที่ถูกต้อง จากนั้นปิดจุกขวดนมแล้วเขย่าให้นมละลาย ก่อนให้เด็กดูดทดสอบโดยหยดลงบนหลังมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กได้รับนมที่ร้อนเกินไป ข้อปฏิบัติ..เกี่ยวกับเวลาในการให้นมบุตร เวลาที่เหมาะสม […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การดูแลทารกแรกเกิด 10 วิธีดูแลลูกน้อยง่าย ๆ

November 14, 2022

ทารกแรกเกิดแหวะนมเล็กๆ น้อยๆ ถือเป็นภาวะปกติ เพราะหูรูดของกระเพาะอาหารยังไม่แข็งแรง ควรปรับการให้นมใหม่ โดยให้ทารกดูดนมในปริมาณน้อยๆ แต่ดูดบ่อยขึ้น และอุ้มเรอ  เจ้าตัวน้อยใกล้คลอดเข้ามาทุกที สร้างความตื่นเต้นดีใจให้คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลย แต่ในความดีใจนั้นก็อาจแฝงความกังวลไว้ด้วย กังวลว่าจะดูแลลูกไม่ดี ไม่รู้ต้องเตรียมอะไรก่อนหลังบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำวิธีเลี้ยงลูกฉบับ การดูแลทารกแรกเกิด มาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ 1. ให้กินนมแม่ อาหารดีที่สุดของลูก  สำหรับลูกน้อยวัยทารกแล้ว อาหารที่ดีที่สุดของเขาคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารครบถ้วนและยังสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้ลูกแบบที่หาจากนมไหน ๆ ไม่ได้อีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลังจากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมอื่น ๆ จนถึงอายุ 2 ปี รับรองลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัยแน่นอนค่ะ 2. ลูกต้องนอนหลับให้เพียงพอ           ทารกแรกเกิด ถึง 6 เดือนแรก เป็นวัยแห่งการนอนหลับ ซึ่งการนอนที่เพียงพอจะส่งผลให้สมองและร่างกายมีพัฒนาการเต็มที่จึงควรให้ลูกวัยนี้นอนหลับวันละ 18-20 ชั่วโมง โดยปกติเขาจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน ช่วงกลางคืนจะหลับ 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นมากินนม อิ่มแล้วก็นอนต่อ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะดูอิดโรยก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ก็ควรหลับไปพร้อมกับลูกด้วย จะได้มีแรงดูแลลูกอย่างเต็มที่ค่ะ 3. […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

วิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่

November 12, 2022

วิธีจับลูกเรอด้วยท่านอนนบนอก โดยอุ้มทารกแนบลำตัวมารดาตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง โดยมารดาอยู่ในท่านอนหงายศีรษะสูง แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังเบาๆ ช้าๆ ที่ด้าน … วิธีการเลี้ยงเด็กแรกเกิด สำหรับคุณแม่มือใหม่ ไม่ยากอย่างที่คิด วิธีเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือนแรก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เคล็ดลับการเลี้ยงเด็กแรกเกิด และการดูแลลูกน้อยอย่างถูกต้อง อย่างคุณแม่มืออาชีพ เชื่อว่าท้องแรก คุณแม่มือใหม่ทุกคนต้องตื่นเต้นอย่างแน่นนอน เพราะมีสมาชิกตัวน้อยๆ เข้ามาเติมเต็มชีวิตครอบครัว แต่ความยินดีก็จะตามมาด้วยความกังวลใจต่างๆ กลัวว่าเราจะเลี้ยงลูกน้อยได้ดีมั้ย กลัวเจ้าตัวเล็กจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่หรือเปล่า ยิ่งเมื่อลูกน้อยคลอดออกมาตั้งแต่วันแรก การเลี้ยงเด็กแรกเกิดคุณแม่ต้องรับมืออย่างไร แต่คุณแม่อย่างเพิ่งป็นกังวลเกินไปนะคะ เพราะเรามี 4 เคล็ดลับง่ายๆ ในการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน ให้ราบรื่นเปรียบเสมือนคุณแม่มืออาชีพ 4 วิธีการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือนแรกสำหรับคุณแม่มือใหม่ 1. วิธีจับลูกเรอ วิธีจับลูกเรอ หรือการทำให้ทารกเรอทุกครั้งหลังทานนม มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเลี้ยงทารกแรกเกิด 3 เดือน เพราะเป็นการช่วยเอาลมออกจากกระเพาะอาหารของทารก เนื่องจากกระเพาะของทารกนั้นมีเนื้อที่จำกัด และในขณะทานนมทารกจะกลืนลมเข้าไปด้วย ทำให้มีพื้นที่สำหรับนมน้อยลง ทานนมได้ลดลง นอกจากนี้การมีลมในกระเพาะมากยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทารกสำรอกนมได้ง่ายและบ่อยขึ้น วิธีจับลูกเรอจึงเป็นวิธีช่วยบรรเทาอาการแน่นท้อง และทำให้ท้องว่างซึ่งสามารถรับนมได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งวิธีจับลูกเรอสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้ • วิธีจับลูกเรอด้วยท่านั่งบนตัก ทำได้โดยอุ้มทารกนั่งบนตักใช้มือประคองคางทารกไว้ […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

พัฒนาการของ ทารกแรกเกิด

November 6, 2022

พัฒนาการทารกแรกเกิด ด้านภาษาและการสื่อสาร. แม้ว่าลูกจะพูดไม่ได้แต่สามารถสื่อสารได้ด้วยการส่งเสียง “ร้อง” เช่น เมื่อรู้สึกหิว รู้สึกไม่สบายเนื้อตัว หากคุณแม่ตอบ  พัฒนาการทารกแรกเกิด แม้ว่าในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่จะเห็นลูกน้อยเอาแต่นอนทั้งวัน แต่ก็ใช่ว่าลูกจะทำอะไรไม่ได้เลย  เพราะทุกเวลานาทีที่ผ่านไปคุณแม่สามารถสร้างเสริมพัฒนาการของลูกน้อยได้ไม่ต่างจากทารกในวัยอื่นๆ  อีกทั้งช่วงเวลานี้ยังเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปรับตัวระหว่างคุณแม่กับลูกน้อยด้วย พัฒนาการทารกแรกเกิด ด้านสติปัญญาและการเรียนรู้  พัฒนาการทารกแรกเกิด ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

พัฒนาการทารกแต่ละช่วงวัย

November 6, 2022

พัฒนาการทารก (Development of Infancy) คือ ความเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญเติบโตเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของทารก โดยเริ่มตั้งแต่แรกคลอดจนถึงช่วงที่เริ่มเดินได้ … พัฒนาการทารก (Development of Infancy) คือ ความเปลี่ยนแปลงหรือการเจริญเติบโตเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของทารก โดยเริ่มตั้งแต่แรกคลอดจนถึงช่วงที่เริ่มเดินได้ ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาทั้งสิ้น 12 เดือน ทารกเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการทุกเดือน โดยพัฒนาการของทารกจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของแต่ละคน ทารกบางคนอาจพูดคำแรกได้เมื่ออายุ 8 เดือน ในขณะที่ทารกคนอื่นจะเริ่มพูดเมื่ออายุครบ 1 ขวบ ทั้งนี้ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ของทารกแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางสติปัญญาและภาษา และพัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการทารกและวิธีดูแลทารกในแต่ละช่วงวัย ทารกแต่ละคนมีพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญาและภาษา และด้านสังคม แตกต่างกันไปตามช่วงวัย อย่างไรก็ดี พัฒนาการทารกในช่วงอายุ  1 ปีซึ่งนับตั้งแต่แรกคลอด มักเกิดความเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ดังนี้ ช่วงวัย 1-3 เดือน พัฒนาการทารกเริ่มตั้งแต่แรกคลอด นับจากแรกเกิดจนถึงอายุ 3 เดือน ถือเป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของทารกเริ่มเรียนรู้การใช้ชีวิตอยู่กับโลกภายนอก […]