Category: ทำแท้ง

3 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง ยุติการตั้งครรภ์
รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้ง ดังนี้คือ 1. ไม่มีผู้หญิงคนไหนในโลกที่ตั้งใจท้องเพื่อจะไปทำแท้ง 2. ไม่มีการทำแท้งเสรีอยู่จริงในโลกนี้ เพราะแต่ละบริการในแต่ละประเทศล้วนมีเงื่อนไขทั้งสิ้น เช่น อายุครรภ์ กำหนดว่าต้องทำที่ไหน ใครที่เป็นผู้ทำ และ3. กฎหมายทำแท้งทุกแห่งในโลกแบ่งผู้หญิงเป็น 2 ประเภท คือ ผู้หญิงที่สามารถทำแท้งได้ (Deserved abortion ) กับผู้หญิงที่ไม่สามารถทำแท้งได้ (Undeserved abortion) การทำแท้งได้จึงยังอยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้เท่านั้น อื่น ๆ ถูกกำหนดว่า ทำไม่ได้ แม้ว่าในความเป็นจริงของชีวิตการทำแท้งมาจากเงื่อนไขมากมายกว่าที่เงื่อนไขที่กำหนด กรณีประเทศไทยทำแท้งได้ คือตามเงื่อนไขของมาตรา 305 และภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดว่าทำได้ ในทางปฏิบัติก็ยังมีการตีความ การรับรู้และการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกัน ยังมีตำรวจ นักข่าว ครู และประชาชนจำนวนหนึ่งที่คิดว่า กฎหมายไทยห้ามทำแท้งทุกกรณี แนวทางการแก้ไขกฎหมายการทำแท้งจากทั่วโลกมาในทิศทางที่ไม่มีกฎหมายทำแท้ง การทำแท้งไม่ใช่ความอาญาอีกต่อไป แต่คือเรื่องสุขภาพ ตัวอย่างของประเทศแคนาดา ไม่มีกฎหมายเรื่องทำแท้งในกฎหมายอาญา แต่มีระเบียบและกฎเกณฑ์ที่เป็นของกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานที่ทำงานเรื่องบริการสุขภาพกำหนดกฎเกณฑ์เอง เว้นกรณีบังคับทำแท้งที่ยังเป็นการกระทำผิด ซี่งทางเลือกแบบนี้หากนำมาใช้ในประเทศไทย คือ ต้องไม่มีกฎหมายอาญาเรื่องนี้ ในกระบวนการแก้ไขกฎหมายต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมให้ความเห็นให้มากที่สุด โดยต้องไม่ลืมเจ้าของปัญหา ภาครัฐและภาคเครือข่ายภาคประชาสังคม […]

ความเสี่ยงของการทำแท้งเอง มีอะไรบ้าง
การทำแท้งเอง นอกจากจะถือว่าเป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมส่วนใหญ่แล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ทั้งการทำแท้งไม่สมบูรณ์ การตกเลือด การติดเชื้อ แผลเป็น และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการทำแท้งเองให้ละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการทำแท้งเอง ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการทำแท้งเอง อาจมีดังนี้ การทำแท้งเป็นการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง แต่การทำแท้งเองนั้นจะทำให้เนื้อเยื่อของทารกในครรภ์บางส่วนยังคงอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเสียเลือด ติดเชื้อรุนแรง หรือเสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงอาจจะไม่สามารถทราบได้ว่าการทำแท้งนั้นไม่สมบูรณ์ จนกว่าจะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง การใช้ยาสมุนไพรหรือซื้อยาทำแท้งออนไลน์ เพื่อมาทำแท้งเองนั้นสามารถส่งผลกระทบที่ร้ายแรง เพราะอาจจะมีสารปนเปื้อนจากโลหะหนัก การกินสิ่งที่พิษจำนวนมากเข้าไปจะส่งผลทำให้ตับต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อกรองสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ตับถูกทำลาย หรือตับวาย การผ่าตัดทั้งหมดนั้นมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ ดังนั้น การผ่าตัดในโรงพยาบาลจึงต้องมีการรักษาสภาพแวดล้อมให้ปลอดเชื้อให้ได้มากที่สุด แต่การทำแท้งเองนั้นบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องมือบางอย่างสอดใส่เข้าไปผ่านปากมดลูก เพื่อเข้าไปยังมดลูก ซึ่งการทำเช่นนี้นี้ถือเป็นอันตรายอย่างมาก การติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูก หรือมดลูก นอกจากจะทำให้ร่างกายเกิดความเสียหาย มันยังทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ได้ด้วย นอกจากนั้น การติดเชื้อในบริเวณนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ ส่งผลต่อชีวิตได้ด้วย อาการตกเลือด หมายถึง การสูญเสียเลือดมาก ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรบทางการแพทย์มาทำแท้งให้โดยใช้การผ่าตัดอาจจะเสี่ยงต่อการถูกตัดเส้นเลือดใหญ่ จนทำให้เกิดเลือดออกภายใน โดยเลือดที่ออกภายในนั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาจนกว่าจะเกิดอาการรุนแรงจนสายเกินไป […]

หลังยุติการตั้งครรภ์ เลือดออกกี่วันและควรดูแลตัวเองอย่างไร
ปัจจุบันการยุติการตั้งครรภ์สามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย โดยบางคนอาจมีคำถามว่า หลังยุติการตั้งครรภ์ เลือดออกกี่วัน โดยทั่วไปหลังยุติการตั้งครรภ์อาจทำให้มีเลือดออกภายใน 1-5 ชั่วโมง หรืออาจนานกว่านั้น ในบางคนอาจมีเลือดออกเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน การเตรียมตัวก่อนยุติการตั้งครรภ์ ก่อนตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ควรศึกษาข้อกฎหมาย โดยปัจจุบันประเทศไทยให้ผู้หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 1 และวรรค 2 มาตรา 276 277 282 283 และ 284 ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 1 ว่าด้วย ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 2 มาตรา 276 277 282 283 และ 284 ว่าด้วย นอกจากนี้ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงื่อนไขทางการแพทย์ เพื่อเตรียมตัวเข้ารับการยุติการตั้งครรภ์ ดังนี้ หลังยุติการตั้งครรภ์ เลือดออกกี่วัน สำหรับการยุติการตั้งครรภ์อาจมี 2 ทางเลือก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และพิจารณาของคุณหมอ ซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกและมีผลข้างเคียงอื่น […]

การยุติการตั้งครรภ์: เมื่อกฎหมายบังคับให้สังคมเปลี่ยนแปลง
การยุติการตั้งครรภ์: เมื่อกฎหมายบังคับให้สังคมเปลี่ยนแปลง ณัฐดนัย นาจันทร์สิริลักษณ์ บุตรศรีทัศน์ “สังคมไทยเป็นสังคมที่ผูกยึดอยู่กับความเชื่อในศาสนา” ข้อความนี้เป็นข้อความที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ โดยเฉพาะเมื่อสำรวจตรวจสอบประวัติศาสตร์ของสังคมการเมืองไทย ที่มีการกล่าวถึงศาสนาพุทธในฐานะศาสนาประจำชาติ และในฐานะของหนึ่งในแก่นกลางของระบบการเมืองการปกครองแบบไทย การดำรงอยู่ของศาสนาที่ผูกติดอยู่กับสังคมและระบบการเมืองอย่างแน่นแฟ้นนี้ ประการหนึ่งย่อมส่งผลให้ค่านิยมบางประการของศาสนาถูกถ่ายเทออกมาจนกลายเป็นค่านิยมพื้นฐานของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเชื่อเกี่ยวกับบุญหรือบาปอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการพรากชีวิตของบุคคล ภายใต้โครงสร้างสังคมที่มีความเชื่ออย่างแนบแน่นว่าการพรากชีวิตของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไปนั้นเป็นบาปอย่างใหญ่หลวง ย่อมก่อให้เกิดระบบกฎหมายที่พยายามห้ามมิให้เกิดการพรากชีวิตของบุคคลในทุกกรณีด้วย โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับการพรากชีวิตของตัวอ่อนหรือของทารกในครรภ์มารดาที่ยังไม่มีความสามารถมากพอที่จะแสดงออกซึ่งการปกป้องและเรียกร้องสิทธิให้กับตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการมีชีวิต อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้การห้ามมิให้หญิงยุติการตั้งครรภ์โดยอิสระจะดูสอดคล้องกับลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมไทย อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติที่กำหนดโทษในทางอาญาสำหรับการห้ามมิให้หญิงยุติการตั้งครรภ์นั้นพึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ. 2452 เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ขึ้น โดยกำหนดไว้เป็นความผิดในส่วนที่เจ็ด หมวดที่สาม ว่าด้วยความผิดฐานรีดลูก ทั้งนี้ หากพิจารณาย้อนหลังไปถึงกฎหมายตราสามดวงและพระอัยการเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีการประกาศใช้ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์และสืบสายมาจากระบบกฎหมายในช่วงสมัยอยุทธยาแล้ว จะพบว่าไม่มีการกำหนดโทษสำหรับการยุติการตั้งครรภ์โดยหญิงไว้เลย กล่าวโดยย่อแล้ว ย่อมเห็นได้ว่าแม้การยุติการตั้งครรภ์จะมีลักษณะที่ขัดแย้งกับศีลธรรมอันเป็นรากฐานความเชื่อของสังคมไทย จนได้รับการบัญญัติห้ามไว้ในประมวลกฎหมายซึ่งกำหนดโทษในต่อเนื้อตัวและร่างกายในทางอาญา แต่การกำหนดโทษนั้นพึ่งมีขึ้นก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียงไม่นาน อย่างไรก็ตาม เป็นสิ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า สังคมไทยได้ซึมซับและยอมรับให้การยุติการตั้งครรภ์นั้นไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ขัดต่อกฎหมาย แต่ยังเป็นสิ่งที่ขัดต่อคุณค่าและรากฐานความเชื่อของสังคม ข้อสังเกตประการหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนเหตุผลดังกล่าวได้ นั่นคือแม้ก่อนที่จะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาให้หญิงที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างอิสระ จะมีการให้บริการจากรัฐเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาปัญหาว่าด้วยการยุติการตั้งครรภ์และการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม […]

ยาทำแท้งใช้ในอายุครรภ์เท่าไหร่
อายุครรภ์มีความสำคัญมากต่อขนาดยา จำนวนเม็ดยา และระยะห่างของการใช้การนับอายุครรภ์เองอาจพบความผิดพลาดได้ดังนั้นจึงควรอัลตราซาวด์เพื่อความแน่นอนผลตรวจอัลตราซาวด์ควรเป็นผลล่าสุด เช่น ตรวจเมื่อ2 สัปดาห์ก่อน อายุครรภ์9 สัปดาห์ปัจจุบันอายุครรภ์ก็จะเป็น 9+2คือ 11 สัปดาห์ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก การทำแท้งด้วยยาสามารถใช้ได้จนถึงอายุครรภ์ที่ 24 สัปดาห์แต่ว่าในแต่ละช่วงนั้น ขนาดยา วิธีการใช้ระยะห่างการใช้ยา และวิธีการดูแล จะแตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้รับการดูแลที่ถูกต้องและปลอดภัย ผู้ที่ท้องไม่พร้อมและต้องการทำแท้งจึงควรเลือกรับบริการจากสถานบริการสาธารณสุขที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการอย่างถูกต้องเท่านั้น เนื่องจากยาทำแท้งจะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย ก็ต่อเมื่อมีการประเมินอายุครรภ์ที่แม่นยำ เลือกใช้ขนาดยาอย่างถูกต้องตามอายุครรภ์ รวมทั้งการดูแลทั้งระหว่างและหลังทำแท้งที่เหมาะสม การซื้อยามาใช้เอง หรือไปใช้บริการคลินิกเถื่อนอาจเกิดอันตรายจากทั้งยาปลอม การประเมินอายุครรภ์ที่ผิดพลาด หรือการใช้ขนาดยาที่ไม่ถูกต้องได้ง่าย รวมทั้งไม่มีการดูแลรักษาในกรณีที่เกิดผลข้างเคียง ที่ดีพอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง หรือแม้กระทั่งการเสียชีวิตตามมาได้ ปัจจุบันในหลายประเทศ การทำแท้งด้วยยาที่อายุครรภ์ตำกว่า 9 สัปดาห์ผู้หญิงสามารถใช้ยาเองได้แต่มีข้อแนะนำว่าในช่วงใช้ยา ให้มีคนที่ไว้วางใจ/ช่วยเหลือได้อยู่ด้วยตลอดเวลา (โดยเฉพาะยา Misoprostal ที่จะมีอาการข้างเคียงเสมอ) แต่ถ้าต้องอยู่คนเดียว ก็ควรให้แน่ใจว่าคุณอยู่ใกล้โทรศัพท์ หรือสามารถติดต่อคนใกล้ชิดได้เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง ข้อควรระวังการใช้ขนาดของยายุติการตั้งครรภ์จะลดลงตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำหนดช่วงห่างของการใช้ตามพัฒนาการของอาการและอายุครรภ์ต้องใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีความเสี่ยงที่มดลูกจะแตกได้ ข้อควรระวังนี้มีความสำคัญเนื่องจากผู้หญิงมักเข้าใจผิด ว่าท้องที่โตขึ้นต้องใช้จำนวนเม็ดยามากขึ้น อีกทั้งเว็บไซต์ส่วนใหญ่ก็จะขายยาในปริมาณที่มากขึ้นตามอายุครรภ์ซึ่งนับว่าเป็นอันตราย อย่างยิ่งเพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงเสียชีวิต

ทำแท้งปลอดภัยก็มีนะ รู้ยัง?
เรื่อง: ปริชาติ หาญตนศิริสกุล ข้อใดเป็นการแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียนได้ดีที่สุด (ข้อสอบ O-net ปี 2553 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา) 1. หยุดเรียนไประยะหนึ่งเพื่อคลอดลูก (ไปข้อ A)2. ทำแท้งเพราะไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ (ไปข้อ B)3. ลาออกจากโรงเรียนแล้วหางานทำเพื่อลูก (ไปรับคะแนนที่ สทศ. ผู้ออกข้อสอบ)4. แจ้งความเพื่อหาผู้รับผิดชอบ (ไปโรงพัก) A หยุดเรียนแล้วยังไงต่อ รู้หรือไม่ นรากรณ์ ไหลหรั่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี ให้ข้อมูลว่า กว่าร้อยละ 90 ของนักเรียนหญิงที่หยุดเรียนเพื่อไปคลอดลูกไม่ได้กลับเข้ามาเรียนอีกเลย หรือหากกลับเข้ามาเรียนอีกก็เรียนได้ไม่นานต้องย้ายโรงเรียนเพราะความอับอาย แต่นักเรียนหญิงที่ทำแท้งไปแล้วส่วนใหญ่มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิมมากกว่านักเรียนที่ลาออกไปคลอดลูก B จะทำแท้งอย่างไร B1 ไปโรงพยาบาลหรือคลินิกเพื่อให้หมอทำแท้งB2 ซื้อยาผ่านเน็ต B1 ไปโรงพยาบาลหรือคลินิกรู้หรือไม่ ปัจจุบันคุณหมอไม่ได้ทำแท้งด้วยอุปกรณ์ขูดมดลูกแบบคลิปวิดีโอวิชาเพศศึกษาที่เราเคยดูสมัยมัธยมแล้ว แต่จะใช้เครื่อง MVA หรือ กระบอกสุญญากาศ (Manual Vacuum Aspiration: MVA) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อการนี้ ซึ่งปลอดภัยกว่าการขูดมดลูกด้วยเครื่องมือโลหะแน่นอน แต่หลังจากรักษาด้วยวิธี MVA […]

อันตรายจากการแท้ง
การทำแท้งโดยวิธีที่ถูกต้อง โดยแพทย์ที่มีความชำนาญ และมีประสบการณ์ ที่เรียกว่า ทำแท้ง เพื่อการรักษานั้นมีอันตรายน้อย ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ด้วย ด้วยเหตุที่กฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งได้ในวงแคบมาก โดยมารยาททางการแพทย์ จึงไม่มีแพทย์คนใดยอมรับทำแท้งให้ โดยหวังอามิสสินจ้างที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามอาจจะมีแพทย์ที่กล้าหาญบางคนกระทำโดยไม่คำนึงถึงจรรยาบรรณ และกฎหมายบ้านเมือง สถิตินี้นำมาจากหนังสือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้งในประเทศไทยของสุพร เกิดสว่าง การทำแท้งที่นอกเหนือจากการกระทำ เพื่อการรักษาแล้ว ถือว่า ผิดกฎหมาย และเป็นความผิดทางอาญาทั้งผู้ทำ และผู้ถูกกระทำ สถิติผู้ป่วยทำแท้งผิดกฎหมายที่รับไว้รักษาตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ มีจำนวนมากในแต่ละปี แสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า ไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายทำแท้งนัก คดีฟ้องร้องเกี่ยวกับการทำแท้งที่ถึงกับต้องขึ้นพิจารณาในศาลนั้นนับว่าน้อยไม่ถึง ๑ ใน ๑,๐๐๐ ของจำนวนผู้ป่วยที่ถูกทำแท้ง แม้แต่รายที่เกิดโรคแทรกซ้อนของการทำแท้งจนถึงแก่กรรมในโรงพยาบาล ก็แทบจะไม่มีการดำเนินคดีกันเลย อันตรายที่เกิดกับผู้ทำแท้ง แบ่งได้เป็น ๓ ระยะ คือ ๑. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดทันที เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นขณะทำแท้ง หรือเกิดภายใน ๓ ชั่วโมงหลังทำแท้งมีการตกเลือด มดลูกทะลุ ปากมดลูกฉีกขาด อันตรายจากยาชา และยาสลบ ภาวะเลือดไม่แข็งตัว ทำให้ตกเลือดมาก ภาวะโซเดียมคั่งในเลือด ภาวะเป็นพิษจากสารน้ำ และหลอดเลือดอุดตันจากฟองอากาศ อุดตันจากลิ่มเลือด หรืออุดตันจากน้ำคร่ำ ภาวะแทรกซ้อนที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ อาจจะมีความรุนแรง จนทำให้ผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้ อันตรายที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของการขูดมดลูก : เครื่องมือทะลุผนังบนของมดลูก เลยไปคีบลำไส้ ๒. ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดล่า เป็นอันตรายที่เกิดขึ้นหลังการทำแท้ง ๓ ชั่วโมงไปจนถึง ๒๘ วัน ได้แก่ ภาวะแท้งไม่ครบหรือแท้งค้าง […]

ยกเลิกกฎหมายทำแท้ง คืนสิทธิในเนื้อตัวร่างกายให้ ‘ผู้หญิง’
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง ‘การทำแท้ง’ นับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมไทย ไม่ว่าในความเป็นจริงแล้วจะมีผู้หญิงที่ตัดสินใจทำแท้งถึง 2 ราย การยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ อาจเป็นบันไดก้าวแรกที่จะคืนสิทธิในเนื้อตัวร่างกายให้แก่ผู้หญิงและได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ปลอดภัย จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เกี่ยวกับกฎหมายเรื่องการทำแท้งว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่ระบุว่า ‘หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อ่านทำให้ตนเองแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ’ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และ 28 ส่วนมาตรา 305 ที่ระบุว่า ‘ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ 302 เป็นการกระทำของแพทย์ และ (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น (2) หญิงมีครรภ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276, 277, 282, 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด’ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา […]

ทำแท้งไม่ใช่ความผิด
ทำแท้งไม่ใช่ความผิด : คุยเรื่องกฎหมายจำกัดสิทธิผู้หญิงกับเพจ ‘คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง’ สรุปแล้วเราสามารถทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายมั้ย? แล้วทำไมยังต้องผลักดันให้แก้กฎหมายที่มีสถานพยาบาลที่ให้บริการทำแท้งได้อย่างปลอดภัย? แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยให้แก้กฎหมายมาตรา 301 เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ และหลายๆ คนก็คิดว่ากฎหมายนี้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถทำแท้งได้ แต่ว่าปัญหาก็คือ กฎหมายนี้ยังคงลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง มองว่าการทำแท้งนั้นเป็นเรื่องผิด เพียงแต่มีข้อยกเว้นว่าหากทำแท้งในเรื่องสุขภาพทั้งทางกายและทางใจก็สามารถร้องเรียนได้ในภายหลัง เมื่อความเชื่อของคนในสังคมยังคงมองว่าการทำแท้งคือเรื่องผิดบาป แถมยังมีกฎหมายมาค้ำยันบอกว่าการทำแท้งเป็นเรื่องผิดซ้ำอีก จนต้องมีการผลักดันให้ยกเลิกกฎหมายเอาผิดการทำแท้ง เราจึงไปคุยกับ สุพีชา เบาทิพย์ และ นิศารัตน์ จงวิศาล แอดมินเพจ คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง ที่คอยให้คำปรึกษาเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย และออกมาเรียกร้องให้การทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมายและปลอดภัยสำหรับผู้หญิงด้วย ปัญหากฎหมายการทำแท้งที่กำลังผลักดันในตอนนี้คืออะไร สุพีชา : คือตอนนี้ศาลรัฐธรรมนูญเขามีการตัดสิน มีการวินิจฉัยแล้วว่า มาตรา 301 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ คนก็สงสัยว่าแล้วการทำแท้งยังผิดกฎหมายอยู่เหรอ เป็นสิ่งที่คนถามแย้งเข้ามาเยอะ แล้วแถมที่ผ่านมาเพจเราก็แนะนำ ให้คำปรึกษาเรื่องการทำแท้งปลอดภัย พออย่างนี้ปั๊บ เรามาต่อต้านจะให้การทำแท้งมันถูกกฎหมาย คนก็งงว่า แล้วที่บอกว่ามันมีถูกกฎหมายแล้วไม่ใช่เหรอ แล้วสรุปว่ามันถูกมั้ย โกหกรึเปล่า นิศารัตน์ : ก็ต้องอธิบายก่อนว่ากฎหมายส่วนไหนผิด ส่วนไหนถูก กฏหมายเดิมที่มีอยู่ 301 มันเอาผิดผู้หญิงทำแท้ง และ 302 ก็เอาผิดคนที่ทำให้ผู้หญิงแท้ง ยกเว้นไว้แค่ 303 ที่ลงโทษคนที่บังคับให้ผู้อื่นทำแท้งที่ต้องคงไว้ แต่มาตราอื่นๆ มันลงโทษคนทำแท้งหมดเลยไม่ว่าในกรณีใด แล้วก็มีข้อยกเว้นที่ […]

แท้งสมบูรณ์ และแท้งไม่สมบูรณ์ ต่างกันอย่างไร
การแท้ง ไม่ว่าจะเป็นการ แท้งสมบูรณ์ หรือแท้งไม่สมบูรณ์ คือสิ่งที่ไม่มีใครคาดหวังอยากจะให้เกิด โดยเฉพาะกับคุณแม่ที่มีลูกยาก ซึ่งการแท้งนั้นมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามอาการ ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับการแท้งสมบูรณ์และการแท้งไม่สมบูรณ์ว่าคืออะไร รวมทั้งความแตกต่างของการแท้งทั้ง 2 แบบด้วย การแท้ง คืออะไร การแท้ง คือ การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ โดยมักจะเกิดขึ้นกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ในช่วง 4-20 สัปดาห์ หรือก่อนที่ทารกในครรภ์จะมีอายุ 28 สัปดาห์ ซึ่งเด็กนั้นยังมีขนาดที่เล็กมาก หรือมีน้ำหนักยังไม่ถึง 1,000กรัม แท้งสมบูรณ์ และแท้งไม่สมบูรณ์คืออะไร โดยการแท้งลูกจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือการแท้งสมบูรณ์และแท้งไม่สมบูรณ์ ซึ่งการแท้งทั้งสองแบบนี้เป็นอย่างไร ก็ต้องมาดูกันเลย 1.แท้งสมบูรณ์ การแท้งแบบสมบูรณ์ คือการที่ร่างกายขับส่วนต่างๆ ในครรภ์ ทั้งเลือด เนื้อเยื่อ รก และทารกออกมาทั้งหมด โดยไม่ได้ใช้เครื่องมือใดๆ ช่วยเหลือ 2.แท้งไม่สมบูรณ์ การแท้งไม่สมบูรณ์ คือ การแท้งที่อออกมาเพียงบางส่วน เมื่อตัวอ่อนไม่สามารถพัฒนาต่อได้ ร่างกายจึงขับเพียงบางส่วนที่อยู่ในครรภ์ออกมา โดยยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก จึงจำเป็นที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำแท้งให้สมบูรณ์ แท้งสมบูรณ์ และแท้งไม่สมบูรณ์ ต่างกันอย่างไร […]

13 ปี สุสานทารก วัดไผ่เงิน
13 ปี สุสานทารก 2,002 ศพ วัดไผ่เงิน ซุกหลอนวิญญาณใคร่ ทลายทำแท้งเถื่อน “ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์” จะพาย้อนรอยคดีดังสะเทือนขวัญ เรื่องราวหลอน น่าสะพรึง ด้วยคดีดังเมื่อ 13 ปี ก่อน เกิดขึ้นที่วัดไผ่เงิน ย่านบางคอแหลม กรุงเทพฯ สถานที่พึ่งทางใจ กลับกลายเป็น “สุสานเถื่อน” โดยจุดเริ่มต้นพบซากศพทารก ที่ผ่านการทำแท้ง ในโกดังเก็บศพหมายเลข 17 นำพาดวงวิญญาณทารก ถูกทิ้งกว่า 2,002 ศพ สู่สัมปรายภพ และการทลายคลินิกทำแท้งเถื่อนอีกหลายแห่ง หมุนนาฬิกากลับไป 13 ปี ก่อน เสียงจอแจจากการตั้งแผงในตลาดนัด ละแวก วัดไผ่เงิน กลับหยุดชะงักลง เมื่อหมาวัดตัวหนึ่งคาบถุงที่เต็มไปด้วยกลิ่นคาวคลุ้ง เศษซากชิ้นเนื้อที่ซุกไว้ในถุง ลักษณะเหมือนเศษกะโหลกเด็ก นำพาให้คนพบเห็น เดินหาต้นตอภายในวัด จากหน้าวัดสู่ท้ายวัด บริเวณ “ศาลาสันติสุข” โกดังเก็บศพ กลิ่นคาวคลุ้งราวกวักมือเรียกให้ทุกคนไปหยุดยืน หน้าช่องเก็บศพ ที่ก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบ่งช่องขนาดกว้างยาวขนาดพอดีกับหีบศพ โดยทั้งหมดมี […]

ทำแท้งปลอดภัย ทางออกที่ไม่เสี่ยงอันตราย
การทำแท้งยังคงเป็นปัญหาที่โต้แย้งกันในสังคมไทย แม้ปัจจุบันมีกฎหมายที่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้แล้วภายใต้อายุครรภ์หรือเกณฑ์ที่กำหนดและต้องทำโดยแพทย์ แต่ก็ยังมีบริการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัยเปิดให้เห็นอยู่ไม่น้อยเลย กฏหมายนี้อาจไม่ได้ทำให้คนทำแท้งมากขึ้น แต่ช่วยให้คนที่ท้องไม่พร้อมได้มีทางเลือกที่ปลอดภัยและเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น การทำแท้งในประเทศไทยเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากมีปัจจัยด้านสิทธิของผู้หญิงและทารกในครรภ์ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม และศีลธรรมของคนในสังคมรวมอยู่ด้วย การจะลดปัญหาท้องไม่พร้อมและการทำแท้งได้นั้น ความรู้เรื่องเพศศึกษาและการวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก และหากมีการสนับสนุนบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมายอาจช่วยให้คนท้องไม่พร้อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ทำแท้งถูกกฎหมาย ทางเลือกที่ปลอดภัย จากการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ โดยหญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์และยืนยันจะทำแท้งสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยต้องให้แพทย์ในสถานพยาบาลที่ถูกกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการให้เท่านั้น หากมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องผ่านการตรวจและได้รับคำปรึกษาทางเลือกจากทีมแพทย์อย่างละเอียดก่อนทำแท้ง เช่นเดียวกันกับผู้ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพทางกายและทางจิต ทารกในครรภ์อาจมีภาวะทุพพลภาพ ผู้ตั้งครรภ์จากการถูกถูกข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์ในเชื้อสายเดียวกันก็ต้องตรวจและประเมินเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้ยุติการตั้งครรภ์และแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง หญิงที่เข้ารับการทำแท้งในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมายจะได้รับการดูแลและรักษาก่อนและหลังทำแท้ง โดยมีการตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติครรภ์ วิธีการดูแลตัวเอง ไปจนถึงวิธีติดตามสังเกตอาการของตนเองเพื่อกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง วิธีการทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยมี 2 วิธีหลักด้วยกัน คือ ทำแท้งด้วยการใช้ยา การใช้ยาช่วยให้แท้งจะทำได้เมื่อผู้เป็นแม่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ โดยยาที่ใช้จะช่วยให้ปากมดลูกนิ่มและเปิดออก กระตุ้นการหดตัวของมดลูก ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ สั่งจ่ายได้เฉพาะในโรงพยาบาลโดยแพทย์เท่านั้น ทำแท้งโดยมีหัตถการทางแพทย์ร่วมด้วย แพทย์อาจดูดมดลูกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ หรือใช้วิธีขยายและขูดมดลูก ซึ่งวิธีการในแต่ละอายุครรภ์ก็แตกต่างกันไปดังนี้ หลังการทำแท้ง […]