NjpUs24nCQKx5e1DGoFszLa735luMI0v0sGVBvF7omf

13 ปี สุสานทารก วัดไผ่เงิน

March 29, 2023

13 ปี สุสานทารก 2,002 ศพ วัดไผ่เงิน ซุกหลอนวิญญาณใคร่ ทลายทำแท้งเถื่อน “ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์” จะพาย้อนรอยคดีดังสะเทือนขวัญ เรื่องราวหลอน น่าสะพรึง ด้วยคดีดังเมื่อ 13 ปี ก่อน เกิดขึ้นที่วัดไผ่เงิน ย่านบางคอแหลม กรุงเทพฯ สถานที่พึ่งทางใจ กลับกลายเป็น “สุสานเถื่อน” โดยจุดเริ่มต้นพบซากศพทารก ที่ผ่านการทำแท้ง ในโกดังเก็บศพหมายเลข 17 นำพาดวงวิญญาณทารก ถูกทิ้งกว่า 2,002 ศพ สู่สัมปรายภพ และการทลายคลินิกทำแท้งเถื่อนอีกหลายแห่ง หมุนนาฬิกากลับไป 13 ปี ก่อน เสียงจอแจจากการตั้งแผงในตลาดนัด ละแวก วัดไผ่เงิน กลับหยุดชะงักลง เมื่อหมาวัดตัวหนึ่งคาบถุงที่เต็มไปด้วยกลิ่นคาวคลุ้ง เศษซากชิ้นเนื้อที่ซุกไว้ในถุง ลักษณะเหมือนเศษกะโหลกเด็ก นำพาให้คนพบเห็น เดินหาต้นตอภายในวัด จากหน้าวัดสู่ท้ายวัด บริเวณ “ศาลาสันติสุข” โกดังเก็บศพ กลิ่นคาวคลุ้งราวกวักมือเรียกให้ทุกคนไปหยุดยืน หน้าช่องเก็บศพ ที่ก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบ่งช่องขนาดกว้างยาวขนาดพอดีกับหีบศพ โดยทั้งหมดมี […]

baby

ทำแท้งปลอดภัย ทางออกที่ไม่เสี่ยงอันตราย

March 27, 2023

การทำแท้งยังคงเป็นปัญหาที่โต้แย้งกันในสังคมไทย แม้ปัจจุบันมีกฎหมายที่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้แล้วภายใต้อายุครรภ์หรือเกณฑ์ที่กำหนดและต้องทำโดยแพทย์ แต่ก็ยังมีบริการทำแท้งเถื่อนที่ไม่ปลอดภัยเปิดให้เห็นอยู่ไม่น้อยเลย กฏหมายนี้อาจไม่ได้ทำให้คนทำแท้งมากขึ้น แต่ช่วยให้คนที่ท้องไม่พร้อมได้มีทางเลือกที่ปลอดภัยและเข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น  การทำแท้งในประเทศไทยเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากมีปัจจัยด้านสิทธิของผู้หญิงและทารกในครรภ์ ความเชื่อทางศาสนา ขนบธรรมเนียม และศีลธรรมของคนในสังคมรวมอยู่ด้วย การจะลดปัญหาท้องไม่พร้อมและการทำแท้งได้นั้น ความรู้เรื่องเพศศึกษาและการวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก และหากมีการสนับสนุนบริการยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมายอาจช่วยให้คนท้องไม่พร้อมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ทำแท้งถูกกฎหมาย ทางเลือกที่ปลอดภัย  จากการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 305 ทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถทำแท้งอย่างถูกกฎหมายได้ โดยหญิงที่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์และยืนยันจะทำแท้งสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ โดยต้องให้แพทย์ในสถานพยาบาลที่ถูกกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการให้เท่านั้น  หากมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องผ่านการตรวจและได้รับคำปรึกษาทางเลือกจากทีมแพทย์อย่างละเอียดก่อนทำแท้ง เช่นเดียวกันกับผู้ตั้งครรภ์ที่มีปัญหาสุขภาพทางกายและทางจิต ทารกในครรภ์อาจมีภาวะทุพพลภาพ ผู้ตั้งครรภ์จากการถูกถูกข่มขืนหรือมีเพศสัมพันธ์ในเชื้อสายเดียวกันก็ต้องตรวจและประเมินเพิ่มเติมโดยแพทย์ผู้ยุติการตั้งครรภ์และแพทย์ผู้เกี่ยวข้อง หญิงที่เข้ารับการทำแท้งในโรงพยาบาลที่ถูกกฎหมายจะได้รับการดูแลและรักษาก่อนและหลังทำแท้ง โดยมีการตรวจร่างกาย ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และให้ความรู้เกี่ยวกับการยุติครรภ์ วิธีการดูแลตัวเอง ไปจนถึงวิธีติดตามสังเกตอาการของตนเองเพื่อกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง วิธีการทำแท้งหรือยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยมี 2 วิธีหลักด้วยกัน คือ ทำแท้งด้วยการใช้ยา การใช้ยาช่วยให้แท้งจะทำได้เมื่อผู้เป็นแม่มีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 สัปดาห์ โดยยาที่ใช้จะช่วยให้ปากมดลูกนิ่มและเปิดออก กระตุ้นการหดตัวของมดลูก ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษ สั่งจ่ายได้เฉพาะในโรงพยาบาลโดยแพทย์เท่านั้น ทำแท้งโดยมีหัตถการทางแพทย์ร่วมด้วย แพทย์อาจดูดมดลูกด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ หรือใช้วิธีขยายและขูดมดลูก ซึ่งวิธีการในแต่ละอายุครรภ์ก็แตกต่างกันไปดังนี้ หลังการทำแท้ง […]

Safe Abortion Action Fand

เปิดกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่

March 25, 2023

เปิดกฎหมายอาญาแก้ไขใหม่ #ทำแท้งปลอดภัย ได้ในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ 19 กุมภาพันธ์ 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้ง ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และแนะนำให้แก้ไขกฎหมายภายใน 360 วัน จนกระทั่งบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานทำให้แท้งลูกก็ได้รับการแก้ไข เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานทำแท้งที่ใช้มาตั้งแต่พ.ศ.2499 ให้หญิงสามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดอื่นๆ อันจะเอื้อประโยชน์แก่หญิงให้สามารถทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและไม่มีความผิดตามกฎหมาย ทั้งนี้การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กล่าวคือ 7 กุมภาพันธ์ 2564 กฎหมายเดิม เอาผิดหญิงทำแท้ง จำคุก 3 ปี ปรับ 60,000 ไม่จำกัดเวลาตั้งครรภ์ ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่พ.ศ. 2499 กำหนดความผิดฐานทำให้แท้งลูกรวมห้ามาตรา โดยบทบัญญัติทั้งห้ามาตรานั้น ไม่เคยมีการแก้ไขในเชิงหลักการอันเป็นสาระสำคัญมาก่อนเลยตั้งแต่บังคับใช้มา มีเพียงแต่การแก้ไขเพิ่มโทษปรับขึ้น 10 เท่า เมื่อพ.ศ. 2560 […]

_116657477_tv056793565

กฎหมายระหว่างประเทศของสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการทำแท้ง

March 15, 2023

ตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการทำแท้ง บทนำ สิทธิของสตรีในการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการสืบพันธุ์โดยรวมไปถึงสิทธิในการทำแท้งนั้น เป็นเรื่องที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานในด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งได้รับรองสิทธิในชีวิตสุขภาพ ความเป็นส่วนตัว และการไม่เลือกปฏิบัติ แต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามาตรฐานในการกำหนดสิทธิในการทำแท้งของแต่ละประเทศทั่วโลกนั้นยังมีความแตกต่างกัน ซึ่งประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศในอาเซียนยังมีมาตรฐานและกฎเกณฑ์ในการอนุญาตให้ทำแท้งที่ต่างกัน หากเป็นประเทศที่การทำแท้งเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายและสามารถเข้าถึงง่ายนั้น กระบวนการทำแท้งเป็นสิ่งที่ปลอดภัยมากกว่า จึงทำให้เห็นว่าการทำแท้งที่ผิดกฎหมายนั้นไม่ได้ทำให้จำนวนการทำแท้งลดลง แต่ในทางกลับกันเป็นการทำให้ความปลอดภัยในการทำแท้งลดลง สถิติขององค์การอนามัยโลกหรือ World Health Organization (WHO) เปิดเผยว่า ในทุก ๆ ปี การทำแท้ง ๒๐ ล้านครั้งจากทั้งหมด ๔๒ ล้านครั้งนั้นผิดกฎหมายและไม่ปลอดภัย เมื่อไม่มีหนทางที่ปลอดภัยในการทำแท้ง ผู้หญิงมักจะทำแท้งโดยใช้อุปกรณ์ปลายแหลม ใช้เคมีภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัย หรือขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่ไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ เป็นผลให้มีผู้หญิงเสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยทุก ๆ ๑๐ นาที หรือประมาณ ๔๗,๐๐๐ คนทุกปี เงื่อนไขในการอนุญาตให้มีการทำแท้งตามหลักสากลผลการสำรวจนโยบายการทำแท้งจาก ๑๙๓ ประเทศภาคีของสหประชาชาติ และจาก ๓ ประเทศที่มิได้เป็นภาคีของสหประชาชาติ (UN’s World Abortion Policies 2013) นั้น สรุปให้เห็นถึงข้อกฎหมายที่อนุญาตให้ทำแท้ง โดยปรากฎข้อเท็จจริงว่าในปัจจุบันมีบางประเทศที่อนุญาตให้สามารถทำแท้งได้ในทุกกรณี เช่น ประเทศในทวีปอเมริกา […]

abortion

การทำแท้ง(ไม่)เสรี ศาลสูงสุด และการเมือง ในอเมริกา

March 13, 2023

เมื่อ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดหรือศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา (Supreme Court of the United States: SCOTUS) พิพากษายกเลิกคำตัดสินคดี Roe v Wade  ที่เคยพิพากษาเมื่อปี 2516 ว่าการทำแท้งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ซึ่งแปลง่ายๆว่าในตอนนั้นการทำแท้งของสตรีสหรัฐฯ ถูกกฎหมาย แต่นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน ศกนี้ การทำแท้งขัดรัฐธรรมนูญหรือผิดกฎหมายนั่นเองตามคำพิพากษาของศาลสูงสุด แต่ในระดับมลรัฐต่างๆจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเมื่อไรหรืออย่างไรก็เป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐ สถาบันกัตต์มาเชอร์ (Guttmacher Institute) ที่สนับสนุนทางเลือกที่ให้สตรีมีสิทธิ์ทำแท้ง ประเมินว่าจะมีรัฐทั้งหมด 26 แห่งซึ่งมักอยู่ทางใต้และตะวันตกตอนกลางหรือเขตมิดเวสต์ เตรียมออกกฎหมายห้ามทำแท้ง นั่นหมายความว่าผู้หญิงหลายล้านคนในอเมริกาที่ต้องการทำแท้งจำเป็นต้องเดินทางข้ามไปยังรัฐที่สิทธิ์การทำแท้งได้รับการคุ้มครอง (บางรัฐที่ยังอนุญาตให้ทำแท้งได้ถูกกฎหมายอย่างรัฐมินนิโซตากำลังเตรียมรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้ที่ต้องการทำแท้ง) การกลับลำของศาลสูงสุดมาพิพากษาว่าการทำแท้งผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ในอเมริกาออกมาประท้วงอย่างกว้างขวางส่วนใหญ่ตั้งแต่หน้าศาลสูงสุดในวอชิงตันดีซี ในรัฐต่างๆที่กำลังจะห้ามการทำแท้ง และขณะนี้การประท้วงขยายไปจนถึง อังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เรื่องมันยาว ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการเมืองของอเมริกาพอสมควรโดยไม่ค่อยเกี่ยวกับนโยบายประชากรสักเท่าไหร่ ผู้เขียนขอค่อยๆไล่เรียงสู่กันฟังย่อๆก็แล้วกัน อันดับแรก การเมืองในสหรัฐฯแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยม(Conservative) ได้แก่พรรครีพับลิกัน และ ฝ่ายเสรีนิยม (Liberal) ได้แก่พรรคเดโมแครต ซึ่งในเรื่องของการทำแท้ง พรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพวกหัวเก่าค้านการทำแท้งเสรี ขณะที่พรรคเดโมแครตเห็นตรงข้ามโดยเชื่อในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิในการทำแท้ง โดยทั้งสองพรรคได้ต่อสู้กันเรื่องนี้มานานหลายสิบปีและคำพิพากษาเมื่อ 24 มิถุนาปีนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความขุ่นใจของทั้งสองฝ่ายที่กล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่ามีความคิด”สุดโต่ง” และ […]

96626a58e19e

ปัญหาการทำแท้งเกิดจากอะไร?

March 7, 2023

  ในปัจจุบันปัญหาหนึ่งของสังคมก็คือเรื่องการทำแท้งของเด็กสาววัยรุ่น ซึ่งเป็นปัญหาของเด็กวัยรุ่นสมัยใหม่ ที่นิยมความสนุกสนานเพลิดเพลิน และการใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยอย่างไร้ขีดจำกัด รวมทั้งไม่มีความรับผิดชอบ ดังนั้นเราจะมาพิจารณากันดูว่า ปัญหาเรื่องการทำแท้งนี้มันมีสาเหตุมาจากอะไร? เพื่อที่จะได้หาทางแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นในสังคมของเราอีกต่อไป    เมื่อเราพิจารณาถึงเหตุผลที่มันผลักดันกันต่อๆมา จนเกิดการทำแท้งขึ้นมาแล้ว เราก็จะพิจารณาได้ว่า การทำแท้งเกิดมาจาการที่เด็กสาวตั้งครรภ์แล้วไม่อยากมีลูก จึงได้ทำลายเด็กที่อยู่ในท้อง ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่อยากมีลูกนั้นก็เป็นเพราะปัจจัยหลายอย่าง คือไม่สามารถเลี้ยงดูลูกได้ พ่อของเด็กในท้องก็ไม่รับผิดชอบ กลัวพ่อแม่ไม่ยอมรับ กลัวสังคมรังเกียจ กลัวว่าจะเสียการเรียน กลัวว่าเมื่อมีลูกแล้วจะไม่สามารถกลับมาเป็นอิสระได้อย่างเก่า และความอับอาย เป็นต้น แต่เมื่อไม่อยากมีลูกแล้วทำไมจึงได้ตั้งท้อง คำตอบก็คือ เพราะความเผลอไผลไม่ได้ป้องกัน หรืออยากมีลูกแล้วตอนหลังมาเปลี่ยนใจ ซึ่งในปัจจุบันการป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์นั้นมีอยู่หลายวิธี แต่เด็กวันรุ่นหญิงนั้นไม่ทันได้ป้องกัน ซึ่งการที่ไม่ได้ป้องกันนั้นก็เป็นเพราะไม่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ จึงไม่ได้เตรียมป้องกัน เมื่อถึงจุดๆหนึ่งก็แก้ไขไม่ทันเสียแล้ว แต่เด็กสาวบางคนก็ตั้งใจให้ตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ผูกมัดฝ่ายชายให้รับผิดชอบ แต่เมื่อฝ่ายชายไม่ยอมรับผิดชอบ จึงได้เลือกการทำแท้งเป็นการแก้ปัญหาสุดท้ายที่ปลายเหตุ แต่เมื่อเรามาพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้วเราจะพบว่า สาเหตุที่ทำให้เด็กสาวตั้งท้องนั้นก็เป็นเพราะการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งการมีเพศสัมพันธ์ก็คือการที่เพศชายกับเพศหญิงแสวงหาความสุขจากการสัมผัสทางเนื้อเยื่อของร่างกายซึ่งกันและกัน คือตามธรรมชาตินั้นเมื่อถึงวัยเจริญพันธ์ เพศชายกับเพศหญิงก็จะเกิดความพึงพอใจต่อกัน คือเมื่อได้พบเห็น หรือได้ยินเสียง หรือได้กลิ่น ก็จะเกิดความสุขที่แปลกประหลาดขึ้นมาทันที ทั้งๆที่เมื่อตอนยังเป็นเด็กจะไม่มีความรู้สึกอย่างนี้ ยิ่งถ้าได้ถูกต้องสัมผัสทางร่างกาย ก็จะเกิดความสุขอย่างรุนแรงขึ้นมาทันที ดังนั้นเมื่อมีความสุขที่รุนแรงเป็นสิ่งล่อใจ ชายหนุ่มหญิงสาว จึงได้ติดใจหรือลุ่มหลงความสุขที่แปลกประหลาดและรุนแรงนี้กันอย่างยิ่ง เหมือนกับการติดใจลุ่มหลงในกีฬาของนักกีฬาหรือคนที่ชื่นชอบกีฬา หรือเหมือนกับการติดใจลุ่มหลงในการเล่นเกมส์ของเด็กที่ติดเกมส์ หรือเหมือนกับการติดใจลุ่มหลงในสิ่งเสพติดของคนติดยาเสพย์ติด เป็นต้น และนี่เองที่เป็นเหมือนแม่เหล็กที่ต่างขั้วกัน ที่พยายามดึงดูดเข้าหากัน ยากที่จะจับแยกกันได้ จึงทำให้เด็กหนุ่มและเด็กสาวต่างก็พยายามแสวงหาคู่ หรืออยากมีเพื่อนต่างเพศที่สนิทสนมกัน โดยมีจุดประสงค์อยู่ที่เพื่อเสพความสุขที่แปลกประหลาดและรุนแรงนี้ ความสุขในเรื่องทางเพศนี้ เมื่อยิ่งเสพ มันก็ยิ่งติดใจ เหมือนกับการเสพยาเสพติด และยิ่งหิวโหยอยากจะได้เสพมากยิ่งขึ้นๆอย่างไม่รู้จักพอ คือเพียงแค่การได้พบเห็นและได้ยินเสียง ก็ไม่พอเสียแล้ว ความอยากที่จะได้ถูกเนื้อต้องตัวภายนอกที่ให้ความสุขมากกว่าก็เกิดขึ้น เมื่อได้ถูกเนื้อต้องตัวภายนอกแล้วก็ยังไม่พอ ยังอยากจะได้ถูกเนื้อต้องตัวในส่วนที่เป็นของสงวนอีก เพราะมันให้ความสุขที่รุนแรงมากกว่าเก่า และแม้การได้ถูกเนื้อต้องตัวในส่วนที่เป็นของสงวนก็ยังไม่พอ ยังหิวโหยอยากจะได้สัมผัสที่ลึกซึ้งสูงสุดจากการร่วมเพศ […]

การทำแท้งด้วยยา

March 3, 2023

คุณ สามารถทำ แท้งอย่างปลอดภัยโดยใช้ไมเฟพริสโตน และ ไมโซพรอสทอล จากบริการของ women on web ซึ่งบริการนี้ช่วยผู้หญิงทั่วโลกให้เช้าถึงบริการทำแท้งด้วยยาอย่างปลอดภัย เพื่อลดการเสียชีวิตและสุขภาพเนื่องจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย คุณสามารถเริ่มการตรวจการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่วันแรกที่เมนส์ไม่มาและวันต่อๆมา ก่อนหน้าวันที่เมนส์ขาด ระดับของฮอร์โมนที่ถูกผลิตเนื่องจากการตั้งครรภ์จะต่ำเกินกว่าที่จะแสดงผลในการตรวจสอบและคุณอาจจะได้รับ “ผลที่ผิดพลาด” จากการทำอุลตร้าซาวด์ แพทย์จะสามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่าท้องนานเท่าไหร่แล้ว แพทย์ยังสามารถประมาณอายุครรภ์โดยไม่ต้องอุลตร้าซาวด์ก็ได้ ซึ่งเครื่องมือตรวจสอบการตั้งครรภ์ไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ผู้หญิงยังสามารถคำนวนอายุครรภ์ได้ด้วยตนเอง โดยจะต้องรู้ว่าเมนส์ครั้งสุดท้ายของตนเองมาวันแรกเมื่อไหร่ ให้นับวันนั้นเป็นวันแรกจนมาถึงปัจจุบัน 1- ขอใช้บริการจาก Women on Web Women on Web เป็นบริการส่งต่อด้านการทำแท้งด้วยยาที่จะส่งต่อคำขอรับคำแนะนำของคุณไปยัง หมอที่มีใบประกอบโรคศิลป์ สำหรับการบริจาค 70 ยูโร คุณจะได้รับยาสำหรับทำแท้ง (ด้วยไมเฟพริสโตน และ ไมโซพรอสทอล ซึ่งมีประสิทธิภาพ 99% ในการทำแท้ง) ส่งถึงบ้านโดยไปรษณีย์ด่วน การทำแท้งสามารถทำได้อย่างปลอดภัยที่บ้าน ตราบเท่าที่คุณมีข้อมูลที่เพียงพอ และสามารถไปถึงโรงพยาบาลในกรณีที่เกิดอาการแทรกซ้อน (แม้ว่ากรณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้น้อยก็ตาม) หมอสามารถช่วยคุณได้ถ้าคุณ ก่อน ที่จะเริ่มรับคำแนะนำ เป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องตรวจการตั้งครรภ์ และถ้าเป็นไปได้ ควรไปทำอุลตร้าซาวด์ด้วย การรับคำแนะนำประกอบด้วยการตอบคำถาม 25 ข้อ ในส่วนสุดท้ายของการรับคำแนะนำ […]

หน้าปกลิงก์-1

แก้กฎหมายอาญา‘ทำแท้ง’ถูกกฎหมาย

March 1, 2023

SDG Updates | แก้กฎหมายอาญาเปิดทางให้ ‘ทำแท้ง’ถูกกฎหมาย มองมติของสภาผู้แทนฯ ผ่านเลนส์ SDGs การทำแท้งเป็นประเด็นที่ถกเถียงในสังคมมาอย่างยาวนาน ด้วยความละเอียดอ่อนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างหลักการ สิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกายของหญิงที่ตั้งครรภ์ กับคุณค่าทางศีลธรรม ความเชื่อ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ มุมมองของสังคมคำถามที่ว่า “ทำแท้ง” ควรเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถูกตีแผ่นำเสนอเหตุผล ความจำเป็นทั้งในทางการแพทย์ ผลกระทบต่อตัวหญิงที่ตั้งครรภ์ จนนำมาสู่กระบวนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ….)  พ.ศ…..…. เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมาย (ป.อาญา) มาตรา 301 และมาตรา 305  ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติ ‘เห็นชอบ’  ให้แก้ไข หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เห็นชอบให้แก้ไขเพื่อเปิดทางให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมาย” เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา การตัดสินใจครั้งนี้นอกจากจะช่วยให้หญิงที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์สามารถทำได้ อย่างปลอดภัยแล้ว ยังส่งผลสะท้อนเชิงบวกต่อการออกแบบกลไกทางสังคมที่คำนึงถึงความเท่าเทียมของคนทุกเพศ ทุกกลุ่ม SDG Updates ฉบับนี้ ชวนสะท้อนผลที่เกิดขึ้นจากมติเห็นชอบแก้ไขกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรผ่านเลนส์ SDGs การทำแท้ง ในมิติของ  SDGs แม้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable […]

ภป-กม.ทำแท้งใหม่

การทำแท้งเป็นสิทธิมนุษยชน

February 25, 2023

คิดว่าการทำแท้งเป็นเรื่องผิดศีลธรรมหรือไม่? และคนที่ไปทำแท้งเป็นคนใจร้ายรึเปล่า? การต่อสู้เรื่องการทำแท้งในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับหลักศีลธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนมาหลายสิบปีแล้ว โดยฝ่ายที่อยากให้มีการปรับปรุงกฎหมายเรื่องการทำแท้งก็จะให้เหตุผลในเรื่องของความจำเป็นและสิทธิ์ในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง ในขณะที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมายก็มักอ้างเรื่องของศีลธรรม หากดูในตัวกฎหมาย จริงๆ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่ได้ห้ามให้มีการทำแท้งเลย กลับกันได้มีการอนุญาตให้ทำแท้งได้ในบางกรณี แต่แล้วทำไมถึงได้มีกระแสที่ออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายกันนะ The MATTER จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจว่า กฎหมายยุติการตั้งครรภ์ในไทยเป็นอย่างไร? และทำไมถึงต้องมีการแก้ไข? สถานการณ์การทำแท้งในประเทศไทย ก่อนจะไปเข้าเรื่องกฎหมาย เราอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจสถานการณ์การทำแท้งในประเทศไทยก่อน ข้อมูลการทำแท้งจากกรมอนามัยที่ได้ทำการสำรวจโรงพยาบาลทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขใน 24 จังหวัด เมื่อปี พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา แต่ได้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยแท้งเองตามธรรมชาติ (spontaneous abortion) มากกว่าผู้ป่วยทำแท้ง (artificial abortion) และส่วนของสาเหตุในการทำแท้ง ผู้ที่ตัดสินใจทำแท้งด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว มีจำนวนมากกว่า ผู้ที่ตัดสินใจทำแท้งด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ เมื่อเจาะลงไปในกลุ่มผู้ป่วยที่ตัดสินใจทำแท้งด้วยเหตุผลด้านเศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว พบว่า คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา รองลงมา คือ เป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี และกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 25 ปี ตามลำดับ ในขณะที่รายงานการเฝ้าระวังการแท้งในประเทศไทย ปี […]

50881635251_85a8bfa935_k (1)

8 ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับการทำแท้ง

February 20, 2023

1. คนมีการทำแท้งตลอดเวลา ไม่ว่ากฎหมายจะบัญญัติไว้อย่างไร การยุติการตั้งครรภ์เป็นการตัดสินใจทั่วไปของคนหลายล้านคนทุกปี ในทุกปี หนึ่งในสี่ของการตั้งครรภ์ยุติลงด้วยการทำแท้ง และไม่ว่าจะเป็นการทำแท้งถูกกฎหมายหรือไม่ ประชาชนก็ยังคงต้องการและเข้ารับบริการทำแท้งอย่างสม่ำเสมอ ตามข้อมูลของสถาบัน Guttmacher Institute หน่วยงานไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ในสหรัฐฯ ระบุว่า อัตราการทำแท้งอยู่ที่ระดับ 37 ต่อประชากร 1,000 คนในประเทศที่มีกฎหมายห้ามทำแท้งอย่างสิ้นเชิง หรืออนุญาตให้ทำได้กรณีเพื่อช่วยชีวิตผู้หญิง และอัตรา 34 ต่อ 1,000 คนในประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งในกรณีทั่วไป ซึ่งถือว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ   การทำแท้งโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ นับเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยมากที่สุดอย่างหนึ่ง ถือว่าปลอดภัยกว่าการคลอดบุตรเสียอีก  แต่รัฐบาลหลายประเทศจำกัดการเข้าถึงการทำแท้ง บีบบังคับให้ประชาชนต้องไปทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยแบบลับ ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีเงินเพื่อการเดินทาง หรือการใช้บริการทำแท้งของเอกชน นำเราไปสู่ประเด็นต่อไป 2. การเอาผิดทางอาญากับการทำแท้งไม่ได้หยุดยั้งการทำแท้ง เพียงแต่ทำให้การทำแท้งปลอดภัยน้อยลง การขัดขวางไม่ให้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเข้าถึงการทำแท้ง ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยับยั้งความต้องการของพวกเธอที่จะทำเช่นนั้นได้ ด้วยเหตุดังกล่าว ความพยายามยุติหรือจำกัดการทำแท้ง จึงไม่ได้ช่วยลดจำนวนการทำแท้ง เพียงแต่บังคับให้บุคคลต้องไปทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยตามนิยามขององค์การอนามัยโลก (WHO) หมายถึง “กระบวนการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โดยบุคลากรที่ขาดทักษะที่จำเป็น หรือต้องทำในสภาพแวดล้อมที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำทางการแพทย์ หรือในทั้งสองกรณี”   ทางหน่วยงานคาดการณ์ว่า มีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 25 ล้านครั้ง ทุกปี […]

1602654809_0000000087_5f869259ef9a7_article

อนุญาตหญิงที่อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ทำแท้งได้

February 15, 2023

ครม. เห็นชอบแก้ไขกฎหมายอาญา ระบุ กฎหมายเดิมจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินจำเป็น ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ วันนี้ (17 พ.ย. 2563) น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญาความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยมีที่มาคือ เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัย ว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 กำหนดให้หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูก หรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก มีความผิดอาญานั้น เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินจำเป็น ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 28 บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย เพื่อให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2563 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 และ มาตรา 305 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้ ครม. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา […]

TheMO-IrelandAbortion_thumbnail

ประชามติไม่มีหญิงคนไหนอยากทำแท้ง

February 13, 2023

“ประเทศเราน่าจะทำได้มากกว่าอนุญาตให้ทำแท้งได้” เคที แอสคอว์ กล่าว เธอเคยเป็นประธานองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงดับลิน ของประเทศไอร์แลนด์ แต่ตอนนี้เธอกำลังรณรงค์ไปทั่วประเทศ ก่อนการลงประชามติในวันที่ 25 พ.ค. นี้ว่า จะยอมให้การทำแท้งถูกกฎหมายหรือไม่ “ฉันไม่คิดว่าผู้หญิงคนไหนอยากจะทำแท้ง” เธอกล่าว “ผู้หญิงที่ผ่านการทำแท้งคงรู้สึกว่าพวกเขา ไม่มีทางเลือกอื่น” “เพราะต้องเลือกระหว่างการทำแท้ง หรืองาน หรือการเรียนมหาวิทยาลัยต่อ” “ฉันคงบอกว่า ไม่ควรมีผู้หญิงที่ต้องรู้สึกว่า ไม่สามารถทำงาน ใช้ชีวิต หรือทำตามความสามารถได้อย่างเต็มที่ต่อไปได้ เพียงเพราะลูกที่ยังไม่เกิดมาของพวกเธอ” ประชามติทำแท้ง วันที่ 25 พ.ค. นี้ คนในไอร์แลนด์ได้มีโอกาสออกเสียงว่า ต้องการคงกฎหมายที่ระบุว่าการทำแท้งผิดกฎหมายไว้ต่อไป หรือจะยกเลิก ไอร์แลนด์ ห้ามการทำแท้งเกือบสิ้นเชิง โดยกฎหมายจะอนุญาตให้ทำแท้งได้ก็ต่อเมื่อ มีความเสี่ยงที่รุนแรงต่อชีวิตของแม่ โทษสูงสุดของการทำแท้งผิดกฎหมายคือจำคุก 14 ปี กฎหมายนี้มีที่มาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 8 ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ซึ่งได้ให้สิทธิแก่ทารกที่ยังไม่คลอดเช่นเดียวกับแม่ทุกอย่าง ผู้มีสิทธิลงประชามติจะต้องเลือกโหวต “รับ” ถ้าพวกเขาต้องการยกเลิกกฎหมายนี้ และโหวต “ไม่รับ” ถ้าต้องการเก็บมันไว้ เคที่ วัย 21 ปี กล่าวว่า […]