ciNlvIrDBHVyhRRRtiEo

การจัดการปัญหาท้องไม่พร้อมในโรงเรียนอย่างได้ผล

February 20, 2023

  ท้องไม่พร้อม หรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (Unplanned Pregnancy) คือปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนหรือเตรียมตัวมีบุตรมาก่อน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตและส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อเด็กในครรภ์ เพราะเมื่อผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้เตรียมตัวที่จะมีบุตร จึงไม่ได้มีการศึกษาและดูแลร่างกายให้เหมาะสมกับการมีบุตร ทำให้บุตรภายในครรภ์อาจมีสภาพร่างกายที่ไม่เหมาะสม หรือซ้ำร้ายผู้ตั้งครรภ์อาจเลือกวิธีทำแท้งซึ่งปัจจุบันการทำแท้งที่นอกเหนือจากการกระทำตามความเห็นของแพทย์นั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพื่อจบปัญหาต่าง ๆ   ปัญหาท้องไม่พร้อม มักพบเจอมากที่สุดในช่วงวัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ฮอร์โมนกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ทำให้เกิดความอยากรู้อยากลองในเรื่องทางเพศ ประจวบกับวุฒิภาวะและความยับยั้งชั่งใจ รวมถึงความเข้าใจในการคุมกำเนิดอย่างถูกวิธียังน้อย จึงมีความเสี่ยงที่เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้ง่ายดายกว่าช่วงวัยอื่น ๆ          เมื่อวัยรุ่นประสบปัญหาการตั้งครรภ์สิ่งที่ตามมาอย่างเห็นได้ชัดคือปัญหาในด้านการเรียน เพราะแม้ว่าโรงเรียนจะไม่ได้ปิดโอกาสการมาเรียนของนักเรียนหญิงที่มีภาวะตั้งครรภ์ แต่ส่วนใหญ่นักเรียนที่ประสบปัญหามักจะอาย และเลือกที่จะหยุดเรียนแทน ทำให้นักเรียนกลุ่มนี้ประสบปัญหาด้านการเรียน และถึงแม้ว่าเป็นช่วงเวลาหลังคลอดแล้ว นักเรียนในกลุ่มนี้ก็มีแนวโน้มที่จะลาออกและเรียนไม่จบหลักสูตร          สำหรับการจัดการปัญหาท้องไม่พร้อมในโรงเรียนนั้น จะมีลักษณะที่เน้นด้านการป้องกันเป็นหลัก คือสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียน เพื่อไม่ให้ต้องตกไปสู่วังวนของปัญหาดังกล่าว ซึ่งศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดมาตรการและแนวทางในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน โดยให้หน่วยงานในสังกัดนำไปใช้เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการปัญหานี้ในทิศทางเดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ1. การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กนักเรียน2. การเฝ้าระวัง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน3. การดูแลให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียนที่ตั้งครรภ์ในวัยเรียน4. การสร้างความตระหนักและการพัฒนาการมีส่วนร่วมของสังคม       […]

82855891_2467953706866272_3944132913901076480_n

จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง… หลังยุติการต้ังครรภ์ (ต้องรู้!!)

February 6, 2023

การทำแท้งในขณะที่อายุครรภ์ยังน้อยนั้น มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมาก ถ้าใช้วิธีการทำแท้งแบบสมัยใหม่และใช้อย่างถูกต้อง เช่น การใช้ยาทำแท้งที่ถูกต้อง โดยการใช้ยาดังกล่าวไม่มีผลระยะยาวต่อสุขภาพของผู้หญิง เพราะการใช้ยา เหมือนการแท้งธรรมชาติ การผ่านประสบการณ์ยุติการตั้งครรภ์นั้น ทําให้หลายๆ คน ได้เรียนรู้และเข้าใจโลกมากยิ่งขึ้น ใช้ชีวิตได้อย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น สิ่งนึงที่แอดอยากจะย้ำกับพวกเราทุกคน คือ การยุติการตั้งครรภ์ หรือทำแท้งนั้น ถือเป็นบริการทางสุขภาพ และเป็นทางเลือกเมื่อท้องไม่พร้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม !! (ดอกจันเยอะๆ เลยนะ) ในช่วงปีที่ผ่านมา มีหลายๆ คน ทัก IB เข้ามาถาม ด้วยความกังวล ทั้งก่อนและหลังยุติการตั้งครรภ์ เป็นจำนวนมาก วันนี้แอดได้รวบรวมส่วนนึงมาเล่าให้ฟังนะ 1.”รักษาแล้วจะหายขาดไหม” หลังการรักษาอาจมีอาการข้างเคียง โดยอาการที่พบได้เป็นปกติ ได้แก่– อาการปวดท้องน้อยที่เกิดขึ้นจากการใช้ยาไมโซพรอสตอล ที่ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว ซึ่งมักปวดไม่มากเมื่อเทียบกับการขูดมดลูก อาการปวดจะดีขึ้น เมื่อมดลูกมีการบีบขับสิ่งที่ค้างอยู่ออกไป– เลือดออกทางช่องคลอด การยุติการตั้งครรภ์ด้วยการใช้ยา ยาจะทำให้มดลูกบีบตัวเพื่อขับตัวอ่อนออกมา ซึ่งจะมีเลือดออกเป็นระยะเวลานานได้ การใช้ยายุติการตั้งครรภ์ จะมีเลือดออกทางช่องคลอดมากและนานกว่าเลือดประจำเดือนเล็กน้อย โดยปริมาณเลือดที่ออกจะสัมพันธ์กับอายุครรภ์ เลือดจะออกมากที่สุดในช่วง 3 – 6 ชั่วโมง ภายหลังจากการใช้ไมโซพรอสตอล และจะมีเลือดออกติดต่อกันประมาณ […]

s_215709_6340

ท้องไม่พร้อม จัดการอย่างไร

January 30, 2023

ท้องไม่พร้อม (Unplanned Pregnancy) คือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนหรือเตรียมตัวมีบุตรมาก่อน ภาวะท้องไม่พร้อมถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนประชากรเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้น การไม่คุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และการวางแผนครอบครัว สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะท้องไม่พร้อมคือการไม่คุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ได้วางแผนจะมีบุตร รวมทั้งไม่หาวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีหลากหลายชนิด การคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด หรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 80-90 ส่วนการคุมกำเนิดถาวรอย่างการทำหมัน สามารถคุมกำเนิดได้มากกว่าร้อยละ 99 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่คุมกำเนิดไม่ถูกวิธี เช่น ใช้ถุงยางอนามัยแล้วเกิดรั่ว หรือรับประทานยาคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ ก็เสี่ยงท้องไม่พร้อมได้ ส่วนผู้ที่เคยประสบภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็สามารถตั้งครรภ์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เช่น ถูกข่มขืน หรือคู่นอนบังคับให้ร่วมเพศโดยไม่สวมถุงยางอนามัย ก็สามารถประสบภาวะท้องไม่พร้อม ภาวะท้องไม่พร้อมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับแม่และเด็กหลายอย่าง เนื่องจากผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนเพื่อเตรียมตัวมีบุตรมาก่อน จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของตนเองและทารกในครรภ์ เช่น หากผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนมีบุตรแต่เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ผู้ตั้งครรภ์อาจไม่สามารถรับมือหรือเตรียมตัวฝากครรภ์กับแพทย์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการฝากครรภ์ช้าอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพครรภ์และทารกได้ สัญญาณและวิธีตรวจว่าท้องหรือไม่ ผู้ที่ไม่ได้วางแผนมีบุตรสามารถทราบได้ว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสังเกตจากรอบเดือนที่ขาดไปหรือไม่มาตามปกติ ทั้งนี้ หากรู้สึกคัดเต้านม รวมทั้งคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยซึ่งเป็นอาการแพ้ท้อง ก็แสดงว่าอาจกำลังตั้งครรภ์ โดยอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตาม การตรวจครรภ์จะช่วยระบุผลการตั้งครรภ์ได้อย่างชัดเจน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองประสบภาวะท้องไม่พร้อมสามารถตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้ […]

IHL-D-เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์-9-เดือนอย่างมีคุณภาพ

เทคนิคคุณแม่ดูแลครรภ์ 9 เดือนอย่างมีคุณภาพ

January 30, 2023

สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่รู้ตัวว่ากำลังตั้งครรภ์ แน่นอนว่าความกังวลใจเกี่ยวกับการดูแลครรภ์ย่อมเกิดขึ้น เพราะกว่าที่เจ้าตัวน้อยจะลืมตาออกมาดูโลกนั้นจะต้องอยู่ในท้องคุณแม่ถึง 9 เดือน ดังนั้นการใส่ใจดูแลครรภ์อย่างถูกวิธีคือสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและร่วมมือกันเพื่อให้เจ้าตัวน้อยคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง  รู้ทันพัฒนาการทารกในครรภ์ เดือนที่ 1 ทางการแพทย์จะเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นวันแรกของการตั้งครรภ์และนับไปจนครบ 40 สัปดาห์เป็นวันคะเนกำหนดคลอด เดือนที่ 2 (5 – 8 สัปดาห์) เดือนที่ 3 (9 – 12 สัปดาห์) เดือนที่ 4 (13 – 16 สัปดาห์) เดือนที่ 5 (17 – 20 สัปดาห์) เดือนที่ 6 (21 – 24 สัปดาห์) เดือนที่ 7 (25 – 28 สัปดาห์) เดือนที่ 8 (29 – 32 สัปดาห์) เดือนที่ 9(33 – 36 สัปดาห์) เดือนที่ 10(37 – 40 สัปดาห์) ดูแลครรภ์ให้ถูกวิธี ฝากครรภ์สำคัญที่สุดเพื่อช่วย อาหารต้องเหมาะสม ได้แก่ ใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ ได้แก่ ออกกำลังกายและทำงานแบบพอดี ได้แก่  6 อาการที่คุณแม่ต้องระวัง หากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะอาจเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ […]

Image_AW_Website_เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์อย่างมีสุขภาพดีทั้งแม่และทารกในครรภ์-01

เทคนิคดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ให้มีสุขภาพดีทั้งแม่และทารก

January 26, 2023

ในระหว่างตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ คือ การดูแลตัวเองให้มีทั้งสุขภาพร่างกายแข็งแรง สภาพจิตใจที่สมบูรณ์ เพื่อที่จะส่งผลไปยังทารกในครรภ์ให้แข็งแรงและสุขภาพดี ดังนั้น การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี เป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจ เพื่อให้ทารกคลอดออกมาอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง เพียงแค่คุณแม่ปฏิบัติตามเทคนิคดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์นี้ ก็จะทำให้มั่นใจได้ว่าทารกในครรภ์จะมีสุขภาพดีตามไปด้วยแน่นอน -ช่วงตั้งครรภ์ 1-3 เดือนแรก ควรได้รับพลังงาน 2,050 กิโลแคลอรีต่อวัน (ไม่ต้องเพิ่ม)-ช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 4-6 วรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 350 กิโลแคลอรี-ช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 7-9 ควรได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมวันละ 470 กิโลแคลอรีสำหรับสารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรได้รับ ได้แก่-โปรตีน มีความสำคัญต่อการสร้างเซลล์ของทารกในครรภ์ ช่วยให้เจริญเติบโต มาจาก โปรตีนจากสัตว์ ได้แก่ ไข่ นม เนยแข็ง เนื้อสัตว์ และปลา-คาร์โบไฮเดรต อาหารจำพวกแป้ง แต่ควรเลือกบริโภคข้าวไม่ขัดสีแทนข้าวขาว ขนมปังโฮลวีท ไม่ควรรับประทานน้ำตาลเกินวันละ 6 ช้อนชา และหลีกเลี่ยงอาหารหวาน-ใยอาหาร จากผักและผลไม้ช่วยป้องกันอาการท้องผูก ทั้งยังได้วิตามินพร้อมด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงครรภ์ และสร้างกระบวนการเจริญเติบโตให้กับทารกในครรภ์ เช่น มะละกอสุก ส้ม กล้วย มะพร้าว ฝรั่ง […]

Blighted-Ovum-FB-WP-1024x640

ท้องลม (Blighted Ovum) คืออะไร?

January 24, 2023

ท้องลม เกิดจากอะไร? สาเหตุของการเกิดภาวะท้องลมนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่าส่วนใหญ่ประมาณ 45 – 50% เกิดจากตัวอ่อนมีความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้ไม่สามารถเจริญต่อเป็นทารกได้ตามปกติ และสลายตัวไป คงเหลือแต่ถุงการตั้งครรภ์ กระบวนการแท้งลูก อาจใช้เวลาระหว่าง 7 – 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ เมื่อร่างกายของเรารับรู้ถึงการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ และไม่มีการพัฒนาอย่างเหมาะสม ก็จะเริ่มขับเลือดและเนื้อเยื่อออกจากมดลูก เรียกว่า การตกเลือด ซึ่งผู้ตั้งครรภ์ต้องพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยสาเหตุของการตกเลือดต่อไป ทำไมท้องลมแล้วถึงได้ผลตรวจการตั้งครรภ์เป็นบวก? การตรวจการตั้งครรภ์ แบ่งได้เป็น 3 วิธี คือ การตรวจโดยใช้ปัสสาวะ การตรวจโดยใช้เลือด และการตรวจด้วยวิธีอัลตราซาวด์ สำหรับ 2 วิธีแรก จะใช้ในการตรวจหาฮอร์โมนที่ชื่อว่า HCG (human chorionic gonadotropin) เนื่องจากเป็นฮอร์โมนที่บ่งบอกถึงการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนดังกล่าว ถูกสร้างจากรก หลังจากเกิดการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูกแล้วอย่างน้อย 6 วัน โดยในช่วงแรก HCG จะมีค่าต่ำมาก แต่จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกรณีของผู้ที่มีภาวะท้องลม แม้ว่าตัวอ่อนอาจฝ่อไปแล้ว แต่รกที่เติบโตขึ้นมานั้น […]

วิธีดูแลตัวเองหลังแท้ง1

อาการหลังลูกหลุด สาเหตุ และวิธีดูแลสุขภาพของคุณแม่

January 24, 2023

อาการหลังลูกหลุดจากการแท้งลูก นอกจากอาการทางกายอย่างเลือดออกจากช่องคลอด รู้สึกไม่สบายตัวแล้ว ยังอาจมีอาการทางจิตใจเนื่องจากความเสียใจจากการสูญเสียทารกในครรภ์ก่อนถึงวันกำหนดคลอด อาจส่งผลให้ นอนไม่หลับ ฝันร้าย เบื่ออาหาร ซึมเศร้า จนอาจนำไปสู่ความคิดอยากทำร้ายตัวเองได้ ดังนั้น คนรอบข้างจึงควรดูแลสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจนำไปสู่การสูญเสียมากกว่าเดิม สาเหตุที่ทำให้ลูกหลุดสาเหตุที่ทำให้ลูกหลุด ซึ่งมักพบได้ในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ อาจมาจากปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ -ปัญหาโครโมโซมผิดปกติ โครโมโซมหรือสารพันธุกรรมมีความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเซลล์ของร่างกาย อวัยวะเเละโครงสร้างระบบต่างๆ สีดวงตา สีผิวของทารก แต่หากโครโมโซมมีความผิดปกติ อาจทำให้ร่างกายทารกไม่สามารถพัฒนาได้ตามปกติ จนนำไปสู่การแท้งบุตรหรือทำให้ลูกหลุด -ปัญหาเกี่ยวกับรก เนื่องจากรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงระหว่างคุณแม่และทารก มีหน้าที่คอยรับเลือดและสารอาหารจากคุณแม่ส่งต่อสู่ลูก หากรกมีปัญหา เช่น รกเกาะต่ำ รกมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กผิดปกติ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งลูกได้ ไตรมาสที่ 2 -ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ที่อาจส่งผลให้เสี่ยงแท้งลูกโดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีลูกยาก -การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ดังนั้นการสูบบุหรี่จึงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพทารกในครรภ์ เสี่ยงแท้งลูก อีกทั้งยังทำให้น้ำหนักแรกเกิดต่ำ โรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม และเสียชีวิตกะทันหัน […]

pregnancy-care-banner-1

การดูแลการตั้งครรภ์

January 18, 2023

การดูแลสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ทั้งขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ซึ่งเป็นขั้นตอนสําคัญที่จะทําให้ทั้งแม่และบุตรมีสุขภาพดี แข็งแรง การดูแลการตั้งครรภ์เป็นการดูแลสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ทั้งขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ซึ่งเป็นขั้นตอนสําคัญที่จะทําให้ ทั้งแม่และบุตรมีสุขภาพดี แข็งแรง และยังเปิดโอกาสให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้เรียนรู้ทักษะพื้นฐานในการดูแลตนเองและบุตรจากบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีความชำนาญ ทราบว่าอะไรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุตรในครรภ์ และรู้จักวิธีการดูแลทารกแรกเกิดและสุขภาพของตนเองหลังคลอดบุตร การดูแลตัวเองก่อนการตั้งครรภ์สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่เริ่มวางแผนจะมีทารกหรืออย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์ โดยอาจเริ่ม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีดังต่อไปนี้-เลิกสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์-รับประทานกรดโฟลิกขนาดอย่างน้อย 400 ไมโครกรัมทุกวัน-ปรึกษาแพทย์เรื่องโรคประจำตัวและยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่-หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นอันตรายและสารพิษที่บ้านหรือที่ทํางาน การฝากครรภ์ เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ สิ่งที่ผู้หญิงทุกคนควรทำคือการไปฝากครรภ์ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการฝากครรภ์ทำให้หญิงตั้งครรภ์ได้พบแพทย์ตรวจสุขภาพร่างกายอย่างเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์และเพิ่มอัตราการคลอดบุตรอย่างปลอดภัยและประสบความสําเร็จ โดยแพทย์จะตรวจสุขภาพครรภ์ ป้องกัน หรือรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ฝากครรภ์จะมีความเสี่ยงที่จะให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยสูงถึง 3 เท่า และทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูงถึง 5 เท่ากว่าทารกที่เกิดจากแม่ที่ฝากครรภ์ ระหว่างการตั้งครรภ์ แพทย์จะทำการนัดตรวจ-ทุกเดือนในช่วง 6 เดือนแรกของการตั้งครรภ์-ทุกสองสัปดาห์ในเดือนที่ 7 และ 8 ของการตั้งครรภ์-ทุกสัปดาห์ในช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากอายุหรือปัญหาทางด้านสุขภาพ แพทย์จะทำการนัดตรวจบ่อยขึ้น เมื่อไปตามนัดแพทย์จะทําการตรวจสุขภาพตามปกติ ซึ่งอาจรวมไปถึง แพทย์พิจารณาการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะในบางช่วงขณะตั้งครรภ์-การตรวจวัดความดันโลหิต-การตรวจวัดน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์-การตรวจวัดการเจริญเติบโตและอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ แพทย์จะทำการตรวจตําแหน่งของทารกในเดือนสุดท้าย ระหว่างการตั้งครรภ์นั้นหญิงตั้งครรภ์สามารถเข้าร่วมชั้นเรียนการเตรียมตัวเป็นคุณแม่มือใหม่ตามที่แพทย์แนะนำได้ โดยคุณแม่มือใหม่จะได้เรียนรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างระหว่างการตั้งครรภ์ การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนคลอด วิธีการดูแลทารก เช่น การอาบน้ำและให้นม เป็นต้น […]

วัคซีนที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีด

January 16, 2023

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฉีดวัคซีนอะไรบ้าง? การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้คุณแม่และทารกปลอดภัยจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์และขณะคลอด แม้ว่าคุณแม่จะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนแล้วก็ตาม ซึ่งคุณแม่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ : ควรฉีดวัคซีนในไตรมาสที่ 3 หลัง 28 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อคุณแม่ เพราะจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นภาวะปอดบวม ภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หรือภาวะหัวใจวาย คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรรับวัคซีนนี้ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก : โดยฉีดเข็มแรกเดือนที่ 1 และเข็มที่ 2 ในเดือนที่ 6 แต่ถ้าในกรณีฉีดครบ 3 เข็ม ภูมิจะคุ้มกันในส่วนของคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย โดยเข็มที่ 3 จะฉีดหลังคลอดไปแล้ว เนื่องจากการคลอดบุตรจะมีแผลเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคุณแม่และยังส่งผลดีต่อลูกในครรภ์ด้วย วัคซีนคอตีบ ไอกรน : เพื่อช่วยป้องกันโรคคอตีบ และไอกรน ในแม่และลูกน้อยที่จะเกิดมา วัคซีนไอกรนมักอยู่ร่วมเข็มกับวัคซีนบาดทะยักและคอตีบ โดยแนะนำให้ฉีด 1 เข็ม ทุกครั้งที่ตั้งครรภ์ โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 27 – 36 […]

Screen-Shot-2018-05-10-at-22.07.20-768x490.png

สถานการณ์ปัญหาวัยรุ่นตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม

January 10, 2023

เนื่องจากสังคมไทย คนส่วนมากยังคงมีความเชื่อว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องต้องห้าม สกปรก และน่าอาย โดยเฉพาะกับวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่พ่อแม่และสังคมคาดหวังให้ทำหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน อีกทั้งโรงเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นความสำเร็จทางการศึกษามากกว่าทักษะในการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ ทำให้เมื่อมีปัญหาหรือข้อข้องใจเกี่ยวกับเพศ วัยรุ่นจึงไม่กล้าปรึกษา ไม่กล้าเล่ากลัวถูกตำหนิ หันไปพึ่งอินเตอร์เน็ตและแลกเปลี่ยนความเห็นกันเองกับเพื่อน มีนักเรียนไทยน้อยกว่า 1 ใน 5 เท่านั้นที่ปรึกษาครูและผู้ปกครอง ถึงแม้จะมีการสอนเพศศึกษาในโรงเรียน พฤติกรรมด้านการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นไทยก็ถือว่ารุนแรงและน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กบางส่วนไม่มีความรู้ และบางส่วนไม่เห็นความสำคัญ หรือไม่สามารถนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ ไม่รู้วิธีการปฎิเสธเมื่อไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ปลอดภัย จึงเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาแม่ท้องวัยรุ่น แม่เลี้ยงเดี่ยววัยรุ่น เป็นต้น ข้อมูลจากรายงานการคลอดในประเทศไทย พบว่าในปี 2559 มีจำนวนเด็กที่คลอดจากแม่วัยรุ่น อายุ 10-19 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 ของการคลอดทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน คิดเป็น 13 เท่าของสิงคโปร์1 แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดของจำนวนผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ทั้งหมดในประเทศไทย เนื่องจากส่วนหนึ่งยุติการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง จำนวนการคลอดในแม่วัยรุ่นที่สูงขึ้นสวนทางกับการเกิดในหญิงวัยอื่นในประเทศไทยที่ลดต่ำลงทุกปี รวมถึงสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่คาดการณ์ว่าในอนาคตอีก 10-20 ปีข้างหน้า […]

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การปฏิบัติตัวของคุณแม่หลังคลอด

December 27, 2022

การบริหารร่างกายหลังคลอด · การให้นมบุตร · ท่าอุ้มในการให้นม ควรนั่งเก้าอี้อยู่ในท่าสบาย ทั้งแขนและหลัง เพื่อป้องกันอาการปวดหลัง และอาการอ่อนล้าจากการให้นมบุตร   การปฏิบัติตัวของคุณแม่ในระยะหลังคลอด อวัยวะต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์จะเริ่มกลับคืนมาสู่สภาวะปกติ แต่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเหมือนเดิมได้ เช่น ท้องลาย รูปร่าง ฯลฯ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ หลังคลอดใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์จึงจะหยุดการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมที่คุณแม่หลังคลอดทำได้ คุณแม่หลังคลอดสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดังนี้ การบริหารร่างกายหลังคลอด  การวางแผนครอบครัว ปกติควรงดการมีเพศสัมพันธ์ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด และปรึกษาการวางแผนครอบครัว เมื่อกลับมาตรวจหลังคลอด ซึ่งอาจเป็นการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะคุมกำเนิด ห่วงอนามัย หรือถุงยางอนามัย หรือ ผ่าตัดทำหมันหลังคลอดทันทีในกรณีที่มีบุตรเพียงพอแล้ว หรือกลับมาทำภายหลังคือ ผ่าตัดทำหมันผ่านกล้อง ซึ่งเจ็บตัวน้อยและฟื้นตัวไว

การทำแท้ง และการดูแลบุตร

การตั้งครรภ์ผู้หญิงท้องไม่พร้อม

November 30, 2022

การยุติการตั้งครรภ์โดยการทำแท้งเถื่อน เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ได้รับบาดเจ็บ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย… จากรายงานสถานการณ์ และสถิติการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย พบว่ามีการยุติการตั้งครรภ์ประมาณปีละ 300,000 คน และผู้หญิงประมาณ 300 คน ต่อ 100,000 คน ได้รับอันตรายจากการยุติการตั้งครรภ์ ในปี พ.ศ. 2552 ประมาณการณ์ว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการยุติการตั้งครรภ์ จำนวน 123.3 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมความสูญเสียทางจิตใจ นอกจากนี้ เครือข่ายท้องไม่พร้อมร่วมกับเครือข่ายแพทย์อาสา R-SA เผยข้อมูลเชิงตัวเลขว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ ของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ หลายกรณี เกิดจากการป้องกันที่ผิดพลาดและไม่พร้อมมีบุตร บางกรณีอาจเกิดจากฝ่ายชายไม่ยอมป้องกันและไม่รับผิดชอบลูกในท้อง หรือปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้ไม่สามารถดูแลสมาชิกใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ การยุติการตั้งครรภ์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ควรนำมาพูดคุยกันอย่างจริงจังเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจ เรื่องสิทธิในชีวิตและร่างกายของผู้หญิงว่า ผู้หญิงควรจะมีสิทธิเลือกว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของตนเองได้หรือไม่ สำหรับวิธีการยุติการตั้งครรภ์มี 2 วิธี คือการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ (เรียกว่า เครื่องดูดสูญญากาศ) และการใช้ยา (ปัจจุบันมียารวมเม็ดเรียกว่า เมทตาบอล) ซึ่งทั้งสองวิธีเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกยอมรับว่า มีความปลอดภัยสูงและทำแท้งได้สำเร็จ โดยการใช้เครื่องมือ […]