Category: ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยายุติการตั้งครรภ์
ยายุติการตั้งครรภ์ เป็นยาที่ใช้หยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยมีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 -12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา โดยตัวยาจะเข้าขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิไม่สามารถฝั่งตัวในผนังมดลูกได้ ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก ยายุติการตั้งครรภ์ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและได้รับขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) และไมเฟพริสโตน(Mifepristone) ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เท่านั้น การรับประทานยายุติตั้งครรภ์อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียนวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย มีเลือดออกทางช่องคลอด สตรีในประเทศไทยสามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 (1)(2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 1 ว่าด้วย 1. การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพมารดา ทั้งทางร่างกายแและจิตใจ และ 2. กรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง ภายใต้ข้อบังคับแพทยสภา ระบุว่า ความรุนแรงนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของมารดาประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 2 ว่าด้วย การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอีก 5 มาตรา ดังนี้มาตรา 276 ว่าด้วยการถูกข่มขืนกระทำชำเรามาตรา 277 ว่าด้วยการทำให้เด็กอายุน้อยกว่า […]

“ภาวะแท้งคุกคาม” เรื่องใหญ่ที่เล็กลงได้ หากรักษาทันเวลา!
“ภาวะแท้งคุกคาม” หรือปัญหาการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อ “การแท้งบุตร” เราสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ หากรู้เท่าทันอาการและรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอจนถึงวันคลอด เพียงเท่านี้ ภาวะแท้งคุกคาม ก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับ “คุณแม่ตั้งครรภ์” อีกต่อไป ภาวะแท้งคุกคาม…คืออะไร? อาการภาวะแท้งคุกคาม คือการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ก็มีคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากที่สามารถดูแลครรภ์ได้ดีจนอายุครรภ์ครบตามกำหนดคลอด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ หากมีอาการเหล่านี้..ควรรีบไปพบแพทย์ การมีเลือดออก ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากมีเลือดออกมากขึ้นเรื่อยๆ จนไหลลงมายังขาและมีสีแดงสด รวมไปถึงมีอาการปวดท้องน้อย ปวดบีบเป็นระยะๆ หรือมีอาการปวดหลังและเป็นตะคริวร่วมด้วย อาการเบื้องต้นเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์กลุ่มไหน…เสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคามจะยังไม่มีการระบุไว้แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ การบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง การที่คุณแม่มีอายุมากหรือเกิน 35 ปี มีการใช้ สัมผัสกับยา หรือสารเคมีบางชนิด คุณแม่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน การดูแลครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพราะการป้องกันภาวะแท้งคุกคามอาจจะทำได้ยาก แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้ ก็ช่วยให้ครรภ์มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงได้ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง และการให้กำเนิดลูกน้อยที่สมบูรณ์ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ! ทั้งนี้ การพูดคุยกับแพทย์ยังช่วยลดระดับความเครียด ลดความวิตกกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ […]

อันตราย! เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในภาวะครรภ์เสี่ยง ที่เกิดจากฮอร์โมนของรกหรือสารเคมีที่ไปยับยั้งการทำงานของอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด มักมีความสี่ยงในผู้ที่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน คุณแม่ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากไม่ควบคุมอาจทำให้เกิดการช็อกได้ และอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ คุณเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่? อาการเตือนเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดเป็นโรคเบาหวานในระหว่างที่ตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น ควรฝากครรภ์ทันทีเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย ป้องกันความเสี่ยง พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ ควบคุมการรับประทานอาหาร การบริโภคน้ำตาล และของหวานอย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการมีบุตรก่อน และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

ตั้งครรภ์กับโรคหัวใจ อันตรายที่คนท้องควรระวัง
ปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งที่หญิงตั้งครรภ์ควรระมัดระวัง คือ โรคหัวใจ เพราะคุณแม่ที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วย่อมเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจากโรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งคุณแม่ที่มีสุขภาพดีทั่วไป ก็อาจได้รับผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่จะช่วยให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนพร้อมคลอด ดังนั้น คุณแม่ทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ รวมทั้งเรียนรู้วิธีป้องกันและดูแลตนเองด้วย เพื่อความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์กับโรคหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? เมื่อตั้งครรภ์ ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะปรับตัวเพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารก โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดที่จะทำงานหนักขึ้นเพื่อขนส่งออกซิเจนและสารอาหารที่สำคัญไปให้ทารกได้อย่างเพียงพอ โดยความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับระบบหัวใจที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างตั้งครรภ์ มีดังนี้ นอกจากนี้ การคลอดลูกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากการออกแรงเบ่งคลอดจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดและความดันโลหิต ซึ่งหลังคลอดอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าหัวใจและหลอดเลือดของคุณแม่จะกลับมาทำงานเป็นปกติ และในบางรายก็อาจกลายเป็นปัญหาอย่างถาวรที่ต้องได้รับการรักษาต่อไป ใครบ้างที่เสี่ยงต่อโรคหัวใจในขณะตั้งครรภ์ ? โดยทั่วไป สตรีมีครรภ์มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขณะตั้งครรภ์ได้ แต่จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นหากมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังต่อไปนี้ หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจเสี่ยงต่อภาวะใดได้บ้าง ? หญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้วจะยิ่งเสี่ยงมีอาการของโรคหัวใจกำเริบ หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ โดยภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อย มีดังนี้ โรคหัวใจขณะตั้งครรภ์ รับมืออย่างไร ? การเกิดโรคหัวใจขณะตั้งครรภ์สามารถรับมือได้ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกาย โดยหากมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอยู่ก่อนแล้ว คุณแม่อาจต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษทั้งในช่วงก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจทำให้คนท้องเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้สูง อย่างไรก็ตาม โรคหัวใจและหลอดเลือดบางชนิดอาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะตั้งครรภ์ ซึ่งในกรณีนี้ คุณแม่และคนใกล้ชิดจะต้องคอยระมัดระวังสุขภาพครรภ์ให้มาก เพราะหากมีอาการรุนแรงขึ้น อาจทำให้ทารกในครรภ์และตัวคุณแม่เองเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ในระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเสมอ โดยแพทย์อาจนัดมาตรวจสุขภาพบ่อยกว่าหญิงตั้งครรภ์คนอื่น […]