Category: ข่าวเด่น

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด
สถานพยาบาลไฟสลัวในตึกแถวเก่า ๆ ย่านชานเมือง อบอวลไปด้วยด้วยกลิ่นเหม็นสาบและคราบสกปรก มีเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของหญิงสาวดังกึกก้องจากห้องตรวจ สร้างความหวาดหวั่นให้กับหญิงสาวคนอื่นที่นั่งรออยู่ด้านนอก นี่คือภาพจำของ “การทำแท้ง” ที่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคมไทย บวกกับทัศนคติและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ผีเด็ก” ที่ติดตามผู้หญิงที่เคยทำแท้ง หรือความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่เคยทำแท้ง “ทำอะไรก็ไม่เจริญ” เพราะบาปกรรมจากการฆ่าลูก รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง ทำให้ทุกครั้งที่พูดถึงการทำแท้ง คนทั่วไปมักคิดถึงภาพความน่ากลัวและการกระทำที่ไร้ศีลธรรมเสมอ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี แต่ประเด็นการทำแท้งก็จุดกระแสการถกเถียงในสังคมได้เสมอ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง และยกเรื่องศีลธรรมขึ้นมาอ้าง อีกฝ่ายก็มองไปถึงเรื่องของความจำเป็นในชีวิตและสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวเองและสังคม ที่จริงแล้ว กฎหมายทำแท้งและทัศนคติของคนต่อเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร Sanook คุยกับ “กลุ่มทำทาง” กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานให้คำปรึกษาผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และทำงานขับเคลื่อนเรื่องการทำแท้งปลอดภัยมานานกว่า 10 ปี เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ “กลุ่มทำทาง” เพื่อ “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิง ย้อนกลับไปในปี 2553 ข่าวการพบซากทารกมากกว่า 2,000 ศพ ในบริเวณวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เป็นข่าวดังที่ทั้งสะเทือนใจคนไทยและส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อระดับศีลธรรมของคนในสังคม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “กลุ่มทำทาง” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานของสังคมต่อเรื่องการทำแท้งที่รุนแรง […]

วิธีดูแลบุตรหลานในช่วงปิดเทอม
ผู้ปกครองควรรู้! วิธีดูแลบุตรหลานในช่วงปิดเทอม ลดการเข้าถึงสื่อ กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะผู้ปกครอง หมั่นดูแลผลกระทบสภาพจิตใจและอารมณ์ของบุตรหลานจากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะการใช้สื่อด้วยความระมัดระวัง นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดี กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งแก่ครอบครัวผู้สูญเสีย และขอให้กำลังใจ ผู้ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์กราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นกับสังคมไทย เหตุการณ์ความรุนแรงที่ปรากฏส่งผลต่ออารมณ์และจิตใจของผู้ปกครองและบุตรหลาน ซึ่งมีการนำเสนอข่าวผ่านสื่อใน ทุกช่วงเวลาอย่างมากมาย อีกทั้งช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอมของบุตรหลาน กิจกรรมส่วนใหญ่คือการดูโทรทัศน์ หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้บุตรหลาน ได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์และจิตใจจากเหตุการณ์นี้ กรมการแพทย์ มีคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลาน คือการใช้สื่อของเด็ก ควรจำกัดเวลาในการเข้าถึงสื่อต่างๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำกัด ไม่มากหรือวนเวียนแต่สิ่งที่ทำให้หดหู่ใจ หากเด็กต้องเข้าถึงสื่อ ควรมีผู้ปกครองดูอยู่ด้วย เพื่อป้องกันการเห็นภาพหรือเนื้อหาที่มีความรุนแรง หรือสร้าง ความสะเทือนใจแก่เด็ก ในเด็กโตที่เล่น Social media ผู้ปกครองควรแนะนำเรื่องการใช้ Social media อย่างเหมาะสม เช่น หยุดส่งต่อภาพความรุนแรง การวิพากษ์วิจารณ์ข่าวผ่าน Social media โดยสิ่งที่สามารถทำได้ เช่น การให้กำลังใจผ่าน Social […]

ยกเลิกกฎหมายทำแท้ง คืนสิทธิในเนื้อตัวร่างกายให้ ‘ผู้หญิง’
กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : สัมภาษณ์/เรียบเรียง ‘การทำแท้ง’ นับเป็นเรื่องละเอียดอ่อนในสังคมไทย ไม่ว่าในความเป็นจริงแล้วจะมีผู้หญิงที่ตัดสินใจทำแท้งถึง 2 ราย การยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ อาจเป็นบันไดก้าวแรกที่จะคืนสิทธิในเนื้อตัวร่างกายให้แก่ผู้หญิงและได้รับการบริการทางการแพทย์ที่ปลอดภัย จากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เกี่ยวกับกฎหมายเรื่องการทำแท้งว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 ที่ระบุว่า ‘หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อ่านทำให้ตนเองแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ’ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 27 และ 28 ส่วนมาตรา 305 ที่ระบุว่า ‘ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 301 และ 302 เป็นการกระทำของแพทย์ และ (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น (2) หญิงมีครรภ์ เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276, 277, 282, 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิด’ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา […]

13 ปี สุสานทารก วัดไผ่เงิน
13 ปี สุสานทารก 2,002 ศพ วัดไผ่เงิน ซุกหลอนวิญญาณใคร่ ทลายทำแท้งเถื่อน “ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์” จะพาย้อนรอยคดีดังสะเทือนขวัญ เรื่องราวหลอน น่าสะพรึง ด้วยคดีดังเมื่อ 13 ปี ก่อน เกิดขึ้นที่วัดไผ่เงิน ย่านบางคอแหลม กรุงเทพฯ สถานที่พึ่งทางใจ กลับกลายเป็น “สุสานเถื่อน” โดยจุดเริ่มต้นพบซากศพทารก ที่ผ่านการทำแท้ง ในโกดังเก็บศพหมายเลข 17 นำพาดวงวิญญาณทารก ถูกทิ้งกว่า 2,002 ศพ สู่สัมปรายภพ และการทลายคลินิกทำแท้งเถื่อนอีกหลายแห่ง หมุนนาฬิกากลับไป 13 ปี ก่อน เสียงจอแจจากการตั้งแผงในตลาดนัด ละแวก วัดไผ่เงิน กลับหยุดชะงักลง เมื่อหมาวัดตัวหนึ่งคาบถุงที่เต็มไปด้วยกลิ่นคาวคลุ้ง เศษซากชิ้นเนื้อที่ซุกไว้ในถุง ลักษณะเหมือนเศษกะโหลกเด็ก นำพาให้คนพบเห็น เดินหาต้นตอภายในวัด จากหน้าวัดสู่ท้ายวัด บริเวณ “ศาลาสันติสุข” โกดังเก็บศพ กลิ่นคาวคลุ้งราวกวักมือเรียกให้ทุกคนไปหยุดยืน หน้าช่องเก็บศพ ที่ก่ออิฐถือปูนสองชั้น แบ่งช่องขนาดกว้างยาวขนาดพอดีกับหีบศพ โดยทั้งหมดมี […]

กรมอนามัย ยืนยันดื่ม “น้ำอัดลม” ผสม “เครื่องดื่มชูกำลัง” ไม่ทำให้แท้งลูก
กรมอนามัย เผยการดื่ม “น้ำอัดลม“ ร่วมกับ “เครื่องดื่มชูกำลัง“ ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่เสี่ยงน้ำหนักเกินหากกินเกินขนาด พร้อมแนะวัยรุ่นท้องไม่พร้อม ปรึกษาสายด่วนเพื่อหาทางออกที่เหมาะสม วันที่ 29 ต.ค. 2564 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีเพจเฟซบุ๊ก “หมอแล็บแพนด้า” แชร์ข้อมูลที่แสดงภาพขวดเครื่องดื่มชูกำลังกับน้ำอัดลมยี่ห้อดัง โดยมีบทสนทนาในคอมเมนต์อ้างว่า หากดื่มเครื่องดื่มนี้ผสมกัน จะทำให้แท้งลูกได้เอง พร้อมกับทำให้ประจำเดือนมา ซึ่งข้อความดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากการดื่มน้ำอัดลมร่วมกับเครื่องดื่มชูกำลัง ไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ แต่จะส่งผลต่อร่างกายหากดื่มน้ำอัดลมปริมาณมากอาจทำให้ได้รับน้ำตาลมากเกินไป นำไปสู่ภาวะน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วนได้ ส่วนเครื่องดื่มชูกำลัง ถ้าดื่มปริมาณมากเกินไป จะทำให้ร่างกายได้รับปริมาณกาเฟอีนเกินขนาด ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย และหัวใจเต้นเร็วได้ สำหรับวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม การแก้ปัญหาเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมสามารถปรึกษาออนไลน์ ได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้ 1. RSA ออนไลน์ https://abortion.rsatha.org 2. สถานบริการปรึกษาท้องไม่พร้อม www.rsathai.org 3. โทร. 1663 สายด่วนปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม ซึ่งให้บริการทุกวัน เวลา 09.00 – 21.00 น. และ 4) สามารถทักแชตเฟซบุ๊กแฟนเพจ 1663 ซึ่งให้บริการทุกวัน […]

การทำแท้ง(ไม่)เสรี ศาลสูงสุด และการเมือง ในอเมริกา
เมื่อ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ศาลสูงสุดหรือศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา (Supreme Court of the United States: SCOTUS) พิพากษายกเลิกคำตัดสินคดี Roe v Wade ที่เคยพิพากษาเมื่อปี 2516 ว่าการทำแท้งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ ซึ่งแปลง่ายๆว่าในตอนนั้นการทำแท้งของสตรีสหรัฐฯ ถูกกฎหมาย แต่นับตั้งแต่ 24 มิถุนายน ศกนี้ การทำแท้งขัดรัฐธรรมนูญหรือผิดกฎหมายนั่นเองตามคำพิพากษาของศาลสูงสุด แต่ในระดับมลรัฐต่างๆจะดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเมื่อไรหรืออย่างไรก็เป็นเรื่องของแต่ละมลรัฐ สถาบันกัตต์มาเชอร์ (Guttmacher Institute) ที่สนับสนุนทางเลือกที่ให้สตรีมีสิทธิ์ทำแท้ง ประเมินว่าจะมีรัฐทั้งหมด 26 แห่งซึ่งมักอยู่ทางใต้และตะวันตกตอนกลางหรือเขตมิดเวสต์ เตรียมออกกฎหมายห้ามทำแท้ง นั่นหมายความว่าผู้หญิงหลายล้านคนในอเมริกาที่ต้องการทำแท้งจำเป็นต้องเดินทางข้ามไปยังรัฐที่สิทธิ์การทำแท้งได้รับการคุ้มครอง (บางรัฐที่ยังอนุญาตให้ทำแท้งได้ถูกกฎหมายอย่างรัฐมินนิโซตากำลังเตรียมรับมือกับการหลั่งไหลเข้ามาของผู้ที่ต้องการทำแท้ง) การกลับลำของศาลสูงสุดมาพิพากษาว่าการทำแท้งผิดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ในอเมริกาออกมาประท้วงอย่างกว้างขวางส่วนใหญ่ตั้งแต่หน้าศาลสูงสุดในวอชิงตันดีซี ในรัฐต่างๆที่กำลังจะห้ามการทำแท้ง และขณะนี้การประท้วงขยายไปจนถึง อังกฤษ ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย เรื่องมันยาว ซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับการเมืองของอเมริกาพอสมควรโดยไม่ค่อยเกี่ยวกับนโยบายประชากรสักเท่าไหร่ ผู้เขียนขอค่อยๆไล่เรียงสู่กันฟังย่อๆก็แล้วกัน อันดับแรก การเมืองในสหรัฐฯแบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายอนุรักษ์นิยม(Conservative) ได้แก่พรรครีพับลิกัน และ ฝ่ายเสรีนิยม (Liberal) ได้แก่พรรคเดโมแครต ซึ่งในเรื่องของการทำแท้ง พรรครีพับลิกันซึ่งเป็นพวกหัวเก่าค้านการทำแท้งเสรี ขณะที่พรรคเดโมแครตเห็นตรงข้ามโดยเชื่อในเรื่องสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และสิทธิในการทำแท้ง โดยทั้งสองพรรคได้ต่อสู้กันเรื่องนี้มานานหลายสิบปีและคำพิพากษาเมื่อ 24 มิถุนาปีนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึงความขุ่นใจของทั้งสองฝ่ายที่กล่าวหาฝ่ายตรงข้ามว่ามีความคิด”สุดโต่ง” และ […]

แก้กฎหมายอาญา‘ทำแท้ง’ถูกกฎหมาย
SDG Updates | แก้กฎหมายอาญาเปิดทางให้ ‘ทำแท้ง’ถูกกฎหมาย มองมติของสภาผู้แทนฯ ผ่านเลนส์ SDGs การทำแท้งเป็นประเด็นที่ถกเถียงในสังคมมาอย่างยาวนาน ด้วยความละเอียดอ่อนทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างหลักการ สิทธิเสรีภาพในเนื้อตัวร่างกายของหญิงที่ตั้งครรภ์ กับคุณค่าทางศีลธรรม ความเชื่อ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ มุมมองของสังคมคำถามที่ว่า “ทำแท้ง” ควรเป็นการกระทำที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถูกตีแผ่นำเสนอเหตุผล ความจำเป็นทั้งในทางการแพทย์ ผลกระทบต่อตัวหญิงที่ตั้งครรภ์ จนนำมาสู่กระบวนการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ….) พ.ศ…..…. เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมาย (ป.อาญา) มาตรา 301 และมาตรา 305 ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรมีมติ ‘เห็นชอบ’ ให้แก้ไข หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เห็นชอบให้แก้ไขเพื่อเปิดทางให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมาย” เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา การตัดสินใจครั้งนี้นอกจากจะช่วยให้หญิงที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์สามารถทำได้ อย่างปลอดภัยแล้ว ยังส่งผลสะท้อนเชิงบวกต่อการออกแบบกลไกทางสังคมที่คำนึงถึงความเท่าเทียมของคนทุกเพศ ทุกกลุ่ม SDG Updates ฉบับนี้ ชวนสะท้อนผลที่เกิดขึ้นจากมติเห็นชอบแก้ไขกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรผ่านเลนส์ SDGs การทำแท้ง ในมิติของ SDGs แม้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable […]

ร่างกายของเธอ สิทธิของเธอ ในการเข้าถึง ‘การยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย’
‘กฤตยาแสดงทัศนะว่า สังคมควรทำให้การท้องทุกท้อง ไม่ว่าจะท้องพร้อมหรือไม่พร้อมเป็นเรื่องปกติก่อน การมองว่าถ้าท้องไม่พร้อมแล้วเป็นปัญหาส่งผลให้ผู้หญิงไม่มีทางเลือก แต่หากมองว่าท้องทุกท้องไม่ว่าจะตั้งใจ ไม่ตั้งใจ หรือเกิดความผิดพลาด เป็นท้องที่สามารถจัดการได้ ไม่ว่าจะด้วยการยุติการตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม ประการต่อมาคือต้องทำให้การท้องที่ไม่พร้อมมีทางเลือกและทางเลือกทุกทางนั้นต้องปลอดภัย ถูกกฎหมาย และให้คนทุกกลุ่มทุกเหล่าเข้าถึงบริการได้’ จาก-ท้องในวัยรุ่น ‘ปัญหา’ ของวัยรุ่น หรือ ‘ปัญหา’ ของผู้ใหญ่? เราเปิดด้วยทัศนะของกฤตยา อาชวานิจกุล นายกสมาคมเพศวิถีศึกษา เพื่อวางแนวคิดเบื้องต้นกันก่อนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เป็นที่รู้กันดีว่า ‘การทำแท้ง’ เป็นคำแสลงในสังคมไทยที่มักมี ‘ศีลธรรมอันดีของประชาชน’ ห้อยท้ายกฎหมายเสมอ ขณะที่อิทธิพลของศาสนาพุทธ การทำแท้งถูกปลูกฝังลงในความคิดของคนทั่วไปว่าเป็นบาปหนักและจะส่งผลเลวร้ายต่อผู้หญิงไปชั่วชีวิต (ว่าแต่ทำไมผู้ชายไม่บาปเท่ากับผู้หญิง?) เหตุนี้ เมื่อต้องพูดถึงการทำแท้งในประเทศไทยจึงต้องใช้คำที่อ่อนโยนลงอย่างคำว่า การยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งมีทั้งแบบที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย และนี่คือประเด็นที่เราจะคุยกัน กฎหมายอาญาเกี่ยวกับการทำแท้ง กฎหมายอาญาของไทยระบุความผิดในการยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งว่า หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้แท้งลูก มีความผิดตามมาตรา 301 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนผู้ทำให้หญิงแท้งลูกโดยความยินยอมมีความผิดตามมาตรา 302 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากการทำแท้งเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส […]

การดูแลทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

8 ข้อสำคญเกี่ยวกับการทำแท้งที่ควรรู้ไว้
อันที่จริง การเข้าถึงการทำแท้งเป็นหนึ่งในประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือดมากที่สุดประเด็นหนึ่งทั่วโลก และเป็นการถกเถียงที่เต็มไปด้วยข้อมูลที่ผิด เกี่ยวกับผลกระทบที่แท้จริงของการจำกัดการเข้าถึงบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานเช่นนี้ คนมีการทำแท้งตลอดเวลา ไม่ว่ากฎหมายจะบัญญัติไว้อย่างไร การยุติการตั้งครรภ์เป็นการตัดสินใจทั่วไปของคนหลายล้านคนทุกปี ในทุกปี หนึ่งในสี่ของการตั้งครรภ์ยุติลงด้วยการทำแท้ง และไม่ว่าจะเป็นการทำแท้งถูกกฎหมายหรือไม่ ประชาชนก็ยังคงต้องการและเข้ารับบริการทำแท้งอย่างสม่ำเสมอ ตามข้อมูลของสถาบัน Guttmacher Institute หน่วยงานไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านอนามัยเจริญพันธุ์ในสหรัฐฯ ระบุว่า อัตราการทำแท้งอยู่ที่ระดับ 37 ต่อประชากร 1,000 คนในประเทศที่มีกฎหมายห้ามทำแท้งอย่างสิ้นเชิง หรืออนุญาตให้ทำได้กรณีเพื่อช่วยชีวิตผู้หญิง และอัตรา 34 ต่อ 1,000 คนในประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตให้ทำแท้งในกรณีทั่วไป ซึ่งถือว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การทำแท้งโดยบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมและในสภาพที่ถูกสุขลักษณะ นับเป็นกระบวนการทางการแพทย์ที่ปลอดภัยมากที่สุดอย่างหนึ่ง ถือว่าปลอดภัยกว่าการคลอดบุตรเสียอีก แต่รัฐบาลหลายประเทศจำกัดการเข้าถึงการทำแท้ง บีบบังคับให้ประชาชนต้องไปทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยแบบลับ ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีเงินเพื่อการเดินทาง หรือการใช้บริการทำแท้งของเอกชน นำเราไปสู่ประเด็นต่อไป การเอาผิดทางอาญากับการทำแท้งไม่ได้หยุดยั้งการทำแท้ง เพียงแต่ทำให้การทำแท้งปลอดภัยน้อยลง การขัดขวางไม่ให้ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงเข้าถึงการทำแท้ง ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถยับยั้งความต้องการของพวกเธอที่จะทำเช่นนั้นได้ ด้วยเหตุดังกล่าว ความพยายามยุติหรือจำกัดการทำแท้ง จึงไม่ได้ช่วยลดจำนวนการทำแท้ง เพียงแต่บังคับให้บุคคลต้องไปทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยตามนิยามขององค์การอนามัยโลก (WHO) หมายถึง “กระบวนการยุติการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โดยบุคลากรที่ขาดทักษะที่จำเป็น หรือต้องทำในสภาพแวดล้อมที่ไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำทางการแพทย์ หรือในทั้งสองกรณี” ทางหน่วยงานคาดการณ์ว่า มีการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 25 ล้านครั้ง […]

โรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ !!
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD (Sexually Transmitted Disease) หมายถึง โรคที่ติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง โดยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้: HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นไวรัสสาเหตุของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือโรคเอดส์ หนองในเทียม (Chlamydia) เป็นการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคซึ่งไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis) สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคหนองในเทียมที่พบบ่อยที่สุดคือ Chlamydia trachomatis คนไทยจะรู้จักกันในชื่อ “ฝีมะม่วง” ซึ่งหมายถึงต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบอักเสบจากการติดเชื้อ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่มาด้วยก้อนที่ขาหนีบและปวด หรือที่ชาวบ้านเรียก “ไข่ดันบวม” ก็เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis นี่เอง โรคติดเชื้อทริโคโมนาส (Trichomoniasis / Trich) โรคติดเชื้อทริโคโมนาสเป็นโรคติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดหนึ่ง ปกติแล้วมักอาศัยอยู่ในช่องคลอด แต่ก็พบเชื้อนี้อาศัยอยู่ในท่อปัสสาวะ (องคชาติ) ของผู้ชายเช่นกัน ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคนอาจตกขาวสีเหลือง มีลักษณะเป็นฟอง มีอาการคันที่อวัยวะเพศหรือเจ็บบริเวณแคมของช่องคลอด ส่วนผู้ชายมักจะไม่มีอาการ แต่อาจทําให้ปัสสาวะขัดได้ โรคติดเชื้อทริโคโมนาสติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธุ์ทางช่องคลอดกับผู้ที่เป็นโรคโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ […]