Category: การเลี้ยงลูก

6 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่
6 วิธีสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกสำหรับพ่อแม่มือใหม่ เรื่องกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ คือกลัวลูกไม่สบาย ติดเชื้อ และโรคยอดฮิตอย่างภูมิแพ้ นั่นเป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของลูกยังไม่เจริญเต็มที่ และข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ก็คือ 70%ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ที่ลำไส้ ดังนั้นหนึ่งในวิธีป้องกันไม่ให้ลูกป่วยคือการสร้างสมดุลให้กับจุลินทรีย์ประจำถิ่นในระบบทางเดินอาหารให้ทำหน้าที่ปกป้องลูกจากเชื้อโรค และกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งเริ่มสร้างได้ตั้งแต่ลูกน้อยยังอยู่ในครรรภ์ และสามารถเสริมสร้างอย่างต่อเนื่องหลังคลอด เป็นวิธีการง่ายๆ แต่สำคัญ และสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ 1. เริ่มต้นที่แม่ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช รวมถึงอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้ เช่น โยเกิร์ต นอกจากจะมีคุณประโยชน์ต่อคุณแม่ ยังส่งต่อคุณค่าสู่ลูกน้อยได้ ทั้งระหว่างการคลอดตามธรรมชาติและการให้นมแม่ โดยจุลินทรีย์ชนิดดีจากแม่เข้าสู่ร่างกายของลูกน้อยลงไปอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ซึ่งจะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน 2. สัมผัสแห่งรักหลังคลอดทั้งคุณพ่อและคุณแม่ควรดูแลลูกด้วยการสัมผัสโอบกอดแบบเนื้อแนบเนื้อ (Kangaroo care) โดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ ที่คลอดนอกจากจะช่วยให้ลูกได้รับความอบอุ่นแล้ว ยังทำให้ร่างกายของลูกเริ่มเรียนรู้และทำความรู้จักกับจุลินทรีย์จากผิวหนังพ่อแม่ ซึ่งจำเป็นต่อการเริ่มต้นของระบบภูมิคุ้มกันของลูก 3. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แน่นอนว่านมแม่คือสุดยอดอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทั้งอุดมด้วยสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโต และยังมีสารอาหารที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกที่เรียกว่า Human Milk Oligosaccharides (HMOs) โดยปัจจุบันมีหลักฐานงานวิจัยทางการแพทย์มากมายที่ชี้ชัดถึงประโยชน์ของ HMOs โดยเฉพาะ HMOs ชนิดที่พบมากที่สุดในนมแม่ ได้แก่ 2’-FL พบว่ามีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร […]

5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน
รู้หรือเปล่าว่าทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ต้องเข้าโรงพยาบาลในแต่ละปีนับล้านๆ คน เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ จนทำให้พ่อแม่เคร่งเครียดกับการดูแลและระมัดระวังลูกให้มากขึ้น แต่อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะเราได้รวบรวม 5 วิธี ดูแลลูกให้ปลอดภัยเมื่ออยู่บ้าน มาฝากไว้ให้พ่อแม่อ่านแล้วลองไปสำรวจภายในบ้านกันดู เพราะนี่คือสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้เด็กเจ็บตัว และต้องเข้าห้องฉุกเฉินกันทุกปี 1. เก้าอี้กินข้าวทารกที่ไม่ปลอดภัย เชื่อไหมว่ามีเด็กมากมายตกจากเก้าอี้กินข้าวทารก เพราะเก้าอี้กินข้าวนั้นไม่ปลอดภัย พ่อแม่จึงต้องคอยสังเกตลูกที่นั่งเก้าอี้กินข้าวทารกบ่อยๆ ทั้งตอนกินข้าวในบ้าน หรือนั่งเก้าอี้กินข้าวตามร้านอาหารต่างๆ และเพื่อความปลอดภัยภายในบ้าน ต้องเลือกใช้เก้าอี้กินข้าวทารกเฉพาะเวลาที่กินข้าวต่อหน้าพ่อแม่เท่านั้น ที่สำคัญคือการเลือกซื้อเก้าอี้กินข้าวที่มีเข็มขัดรัดอย่างแน่นหนาและปลอดภัย 2. ระวังจุกหลอกและถ้วยหัดดื่ม สงสัยกันใช่ไหมคะว่า จุกหลอดและถ้วยหัดดื่ม อันตรายอย่างไร ปกติแล้วถ้าลูกนั่งเล่นนิ่งๆ ก็ไม่เป็นปัญหา แต่เมื่อลูกลุกขึ้นเดินไปมาพร้อมกับ 2 สิ่งนี้นี่สิอันตรายในบ้านของแท้! เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะเป็นเพราะลูกเริ่มหัดเดินเตาะแตะ แล้วล้มลงขณะที่มีจุกหลอกอยู่ในปาก แค่คิดก็น่าหวาดเสียวแล้วละ พ่อแม่จึงต้องเช็กทุกครั้งว่าลูกไม่ได้อมอะไรอยู่ในปากตอนที่กำลังเริ่มหัดเดิน 3. ต้องระวังถ่านเล็กใส่นาฬิกา ถ่านก้อนเล็กๆ ที่ใช้ใส่ในนาฬิกา หรือของเล่นต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะเด็กเริ่มหยิบจับของเล็กๆ ใส่ปาก มักจะคิดว่านี่คือขนมหวานทานได้ ด้วยขนาดของแบตเตอรี่ทรงกลม ก้อนเท่าเม็ดกระดุม ทำให้พ่อแม่หลงลืมไปว่า มันเป็นอันตราย และมักจะถูกใส่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย จึงจำเป็นจะต้องเช็กให้ละเอียดว่า […]

แนวคิดการเลี้ยงดูด้วยวิธีทางบวก
ลูกเป็นรางวัลชีวิตที่มีค่าสำหรับพ่อแม่ แต่การเป็นพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย พ่อแม่หลายคนรู้สึกถึงความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้าจากความกดดันที่เกิดขึ้นจากการดูแลลูก พ่อแม่ส่วนมากไม่ได้เตรียมตัวต่อสิ่งเหล่านี้มาก่อน ในขณะที่พ่อแม่ปรารถนาที่จะเลี้ยงดูลูกให้มีความสุข เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีความสามารถในการดำเนินชีวิต ทำให้บ่อยครั้งพ่อแม่รู้สึกว่าตนเองหมดหนทางในการดูแลลูกและเกิดความกดดัน จนต้องใช้วิธีที่รุนแรงในการจัดการลูก ในกระบวนการเรียนรู้เพื่อที่จะทำหน้าที่พ่อแม่ พ่อแม่ต้องการการสนับสนุนข้อมูล การฝึกฝนตนเองและกำลังใจจากคนรอบข้างในครอบครัว ชุมชนและสังคม พ่อแม่ต้องการวิธีการและทักษะการเลี้ยงดูลูกที่เหมาะสม เป็นไปได้ไม่ยากเกินไปสำหรับพ่อแม่ที่จะพัฒนาทักษะให้กับลูก กระตุ้นพฤติกรรมที่เหมาะสมให้เกิดขึ้น และมีทักษะในการจัดการพฤติกรรมที่เป็นปัญหา รวมทั้งช่วยให้พ่อแม่รู้สึกสนุกในการเลี้ยงดูลูก และยังช่วยให้พ่อแม่ลดการดูแลลูกด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสมลง สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องตระหนัก 5 ประการ 1.การจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและน่าสนใจ สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยมีลักษณะของความปลอดภัยทางกายภาพ และความรู้สึกปลอดภัยด้านจิตใจ บรรยากาศในครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักความเอาใจใส่ การดูแลตอบสนองความต้องการของลูกอย่างเหมาะสมตามวัย สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยช่วยให้เด็กมีความมั่นคง อบอุ่นใจ กระตือรือร้นที่จะค้นหาเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมต้องมีความน่าสนใจด้วย จะช่วยสนับสนุนให้การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง ความน่าสนใจของสิ่งแวดล้อมเกิดจากความหลากหลายของกิจกรรมที่พ่อแม่ทำร่วมกับลูก 2.การกระตุ้นการเรียนรู้ที่เหมาะสม ด้วยการใส่ใจในการเรียนรู้ของลูกทั้งด้านสติปัญญา อารมณ์และสังคม พ่อแม่ควรช่วยให้ลูกเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ โดยการสังเกตลูก ส่งเสริมให้ลูกประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ 3.การฝึกวินัยด้วยความรัก ในการฝึกวินัย พ่อแม่ต้องมีความสม่ำเสมอในการฝึก สนใจพฤติกรรมที่แสดงปัญหาและรีบแก้ไขตั้งแต่ต้น มีวิธีการสอนการปฏิบัติตนที่เหมาะสม การใช้วิธีฝึกที่จริงจังแต่นุ่มนวลทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะมีความรับผิดชอบต่อพฤติกรรมตนเองและสามารถควบคุมดูแลตนเองได้ 4.การตั้งความหวัง พ่อแม่มักมีความคาดหวังต่อตัวลูก ซึ่งพ่อแม่ที่เข้าใจจะสามารถยอมรับลูกตามพัฒนาการตามวัย นอกจากอายุและพัฒนาการตามวัย เด็กอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล การยอมรับและเข้าใจช่วยให้พ่อแม่ฝึกลูกเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ เช่น การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การแต่งตัว แต่ถ้าความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีต่อลูกเป็นความคาดหวังที่มากเกินไป เช่น […]

เลี้ยงลูกให้มีเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ต้องถามตัวเองก่อนค่ะว่า เราอยากสอนลูก (แกมบังคับ) ให้ลูกทำตามที่เราสั่งอย่างเดียวจริงหรือ ห้ามพูดอะไรทั้งสิ้น เพราะคุณพ่อคุณแม่คิดและมั่นใจว่าสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เลือกให้นั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกแล้วแบบนี้จริงหรือ แล้วอย่างนี้ลูกจะฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ และจะเป็นเด็กที่มีเหตุผลได้อย่างไรในอนาคต แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเป็นผู้นำที่ดี ประสบความสำเร็จในชีวิต ต้องติดตามบทความนี้ค่ะ วิธีเลี้ยงลูกให้มีเหตุผล โต้แย้งบนฐานข้อมูลไม่ใช่เถียงแบบใช้อารมณ์ ทำไมต้องเลี้ยงลูกให้เป็นคนที่มีเหตุผล การสอนลูกด้วยการให้เหตุผลกับลูกและโยนให้ลูกไปหาเหตุผลมา (ว่าทำไมถึงอยากทำสิ่งนั้นและไม่อยากทำสิ่งนั้น) ก็เพราะ… “เพราะการอธิบายเหตุผล ที่มาที่ไปให้ลูกได้รู้และเข้าใจ จะทำให้ลูกเป็นเด็กที่รู้จักคิดค่ะ เขาจะรู้ว่าถ้าทำสิ่งนี้แล้วผลคืออะไร ใครได้รับผลกระทบบ้าง” หลักการในการให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการฝึกให้ลูกได้คิด การโต้แย้งไม่ใช่โต้เถียง คุณพ่อคุณแม่ลองหันมาทำตามนี้ดูนะคะ เกณฑ์การตัดสินก็คือ ใครที่ฟังดูแล้วมีน้ำหนักมากกว่า ถูกต้อง และเหมาะสมมากกว่าก็เป็นผู้ชนะไป ซึ่งถ้าลูกชนะ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรภูมิใจที่ลูกรู้จักการคิดวิเคราะห์ และแยกแยะเหตุผลได้อย่างถูกต้อง และเป็นที่ยอมรับ วิธีเลี้ยงลูกให้มีเหตุผล เป็นต้นแบบที่ดีให้ลูก ในทุกครั้งที่เวลาครอบครัวเดินทางไปไหนมาไหน ต้องพบปะผู้คนมากมาย ให้คุณพ่อคุณแม่เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้เกียรติผู้อื่น การทำความเคารพ และความสุภาพ ซึ่งเมื่อลูกมีแบบอย่างที่ดีอยู่ใกล้ ๆ ลูกก็จะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่เองค่ะ เมื่อพ่อแม่ผิดก็ยอมรับผิด ขอโทษ และปรับปรุง เป็นผู้ใหญ่แล้วก็ใช่ว่าจะถูกเสมอไป แต่อยู่ที่ว่าเมื่อรู้ตัวว่าเราทำผิดแล้ว เราต้องยอมรับผิด ไม่อ้างโน่น อ้างนี่ ไม่โทษคนอื่น […]

เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้ทุกข์ใจในภายหลัง
พ่อแม่ทุกคนต่างต้องการให้ลูก ๆ ของตนเติบโตเป็นคนดี มีความสุข มีคุณธรรม แล้วเราจะเลี้ยงดูเด็กให้เป็นอย่างที่คาดหวังได้อย่างไร ความจริงแล้ววิธีการเลี้ยงลูกที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องอาศัยการอบรมในคอร์สที่แพง หรือหนังสือวิชาการอะไรมากมาย เราสามารถเรียนรู้ได้จากการถ่ายทอดความรู้ของผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ดร.หลุยส์ โรจาส มาร์กอส (Luis Rojas Marcos) จิตแพทย์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาและเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกของคณะกรรมการการแพทย์แห่งรัฐนิวยอร์ก ได้เขียนบทความที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูก เรื่องโศกนาฏกรรมเงียบ (A silent tragedy) โดยในบทความได้ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่เป็นผู้ปกครองของเด็กในการนำไปเป็นแนวทางเลี้ยงดูลูกหลานเพื่อไม่ให้ต้องมานั่งทุกข์ใจกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภายหลังไว้ ดังนี้ การปรับวิธีการเลี้ยงดูลูกหลานให้สอดคล้องกับคำแนะนำดังกล่าว อาจช่วยให้คุณได้ลูกหลานที่มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และวันนี้ยังไม่สายเกินไปหากคุณเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการเลี้ยงดูพวกเขาเสียใหม่ ก่อนที่พวกเขาจะเติบโตมาพร้อมกับปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ตามมา และเป็นเหตุให้คุณต้องทุกข์ใจในภายหลัง

เรื่องน่ารู้ของเด็กวัย 1-3 เดือน
ช่วง 3 เดือนแรกตั้งแต่ลูกน้อยกำเนิดมาบนโลกนี้ถือเป็น “ช่วงเวลาปรับตัว” ที่คุณแม่หลายท่านยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่าเกิดทุกความรู้สึกปะปนกันทั้งความสุข สนุก ตื่นเต้น ชื่นใจ สมหวัง ผิดหวัง ท้อแท้ หวาดกลัว และเหน็ดเหนื่อย แต่ทุกความรู้สึกนี้ก็ถูกปูพื้นฐานไว้ด้วยความรักและความตั้งใจที่ดีซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่และคุณลูกปรับตัวและเติบโตไปด้วยกันในทุกๆ วันค่ะ ความพิเศษของการเลี้ยงดูทารกในช่วงวัย 1-3 เดือนก็คือ ร่างกายของลูกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ จึงมีรายละเอียดที่ควรระมัดระวังและใส่ใจหลายอย่าง เรามีเคล็ดลับน่ารู้ที่มักเกิดขึ้นกับเด็กวัย 1-3 เดือนมาฝาก เพื่อให้คุณแม่ได้ทำความรู้จักธรรมชาติของเจ้าตัวน้อย และปรับตัวให้รู้ทันความต้องการด้านต่างๆ ของลูกได้มากที่สุดค่ะ เรื่องการกิน ช่วง 3 เดือนแรกทารกต้องการกินนมบ่อยเป็นพิเศษ สาเหตุเพราะขนาดกระเพาะอาหารที่มีขนาดเล็ก ทำให้ทานนมได้ครั้งละไม่มาก อิ่มง่าย แต่หิวบ่อย ความถี่ของการดื่มนมอาจอยู่ในราวทุก 1-3 ชั่วโมง (แตกต่างกันไปในทารกแต่ละคน) ซึ่งระบบการกินนี้ก็มักจะสัมพันธ์กับระบบการนอนด้วย ทารกมักนอนหลับหลังทานนมอิ่ม และมักจะตื่นเมื่อหิว ฉะนั้น เมื่อลูกยิ่งโต กระเพาะยิ่งจุนมได้มากขึ้น ก็จะส่งผลต่อระยะเวลาการนอนที่ยาวนานขึ้นตามไปตามลำดับด้วยค่ะ เรื่องการอึ คุณแม่มือใหม่หลายท่านตกใจกับการที่ลูกในช่วงวัยนี้ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ และบ่อยครั้งมาก จนดูเหมือนอาการท้องเสียของผู้ใหญ่ แต่นั่นเป็นธรรมชาติที่ปกติของทารกในช่วงวัยนี้ค่ะ การถ่ายเหลวเช่นนี้ไม่ใช่อาการท้องเสีย แต่เป็นเพราะระบบย่อยอาหารและน้ำย่อยของลูกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ลูกจึงถ่ายแทบทุกครั้งหลังทานนม ที่สำคัญ ความถี่ในการถ่ายอุจจาระยังเป็นตัวประเมินว่าลูกทานนมได้ดีหรือไม่อีกด้วยนะคะ โดยเฉพาะเด็กที่ทานนมจากเต้า […]

พ่อแม่กับการสร้างลูกที่มีคุณภาพ
เวทีเสวนา เรื่อง พ่อแม่กับการสร้างลูกที่มีคุณภาพ โดย พญ.พรรณพิมล วิปุลากรรองอธิบดีกรมสุขภาพจิต และ อนุกรรมการขับเคลื่อนงานจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองพญ.นนธนวนัณท์ สุนทรานายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพมหานครคุณมณฑาทิพย์ เหตานุรักษ์พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพมหานครคุณอารีย์รัชต์ ชวกาญจนกิจ : ผู้ดำเนินรายการนักจัดการความรู้อาวุโส งานพัฒนาสมองเพื่อการเรียนรู้ สบร. “พ่อแม่กับการสร้างลูกที่มีคุณภาพ” เป็นเวทีเสวนาวิชาการที่จัดขึ้นในงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “10 ปี การเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง (Brain-Based Learning: BBL)” ที่นำเสนอองค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง ผ่านเวทีเสวนาจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้ที่มีประสบการณ์จริง ร่วมกันบอกเล่าเรื่องราว ประสบการณ์ และวิธีการนำแนวคิดการเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมองไปปรับใช้ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรให้เติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพ โดยมีเนื้อหาสรุปตามหัวข้อเสวนา ดังนี้ บทสรุป ครอบครัวเป็นส่วนสำคัญที่หล่อหลอมอบรมเลี้ยงดูให้เด็กมีศักยภาพในการใช้ชีวิตในสังคม ดังนั้นการเรียนรู้สำหรับพ่อแม่เป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น การทำหน้าที่พ่อแม่ มีความรู้หลายอย่างที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ และควรมีโอกาสได้เรียนรู้ในการทำหน้าที่ของการเป็นพ่อแม่อย่างสมบูรณ์ โรงเรียนพ่อแม่จึงเป็นแหล่งให้ความรู้สำคัญที่พ่อแม่จะนำพาลูกไปสู่พฤติกรรมและพัฒนาการที่ดีของเด็ก เช่น สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก สายใยความผูกพันของพ่อแม่ส่งผลต่อพฤติกรรมของลูกเมื่อเติบโตขึ้น การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับเด็ก ตัวอย่างกิจกรรมจากหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ เรื่อง ลูกฉลาดรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ของ รพ.ส่งเสริมสุขภาพมีขั้นตอน 2 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นเปิดสมอง […]

หลักในการเลี้ยงดูลูก (Principle of Child Rearing)
1) ให้ความรักและแสดงออกซึ่งความรักให้ลูกรู้ (Love; consistently and appropriately shown) เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักลูก แต่คุณพ่อคุณแม่ไทยหลายๆ คนมักจะไม่ค่อยแสดงความรักออกมาอาจเป็นเพราะวัฒนธรรมไทยต่างจากทางตะวันตก อย่างไรก็ตาม การพูดและการแสดงออกอย่างเหมาะสม เช่น โอบกอด ให้ความชื่นชม จะทำให้ลูกรู้ซึ้งซาบซึ้งและมีความสุขกับความรักของพ่อแม่ครับ 2) ครอบครัวที่มีความสุข พ่อและแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน (Happy family; mother and father have a good relationship) ธรรมชาติได้สร้างพ่อและแม่ไว้ให้ร่วมมือช่วยเหลือกันดูแลลูก ลองนึกภาพนะครับ ว่าถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน เถียงกัน ขัดแย้งกันเกือบทุกเรื่อง ชีวิตคู่ในครอบครัวไม่มีความสุข ต่อให้ต่างคนต่างก็รักลูกมาก แต่การเลี้ยงดูคงจะมีคุณภาพดีไปไม่ได้ครับ 3) มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็ก (Understanding of child’s developmental level) พัฒนาการของลูกน้อยและวัยมีความหมายอย่างยิ่งครับ เพราะไม่เพียงแต่บ่งบอกถึงการเจริญเติบโตของสมองเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญในการติดตามภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นเพื่อจะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีครับ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาหาความรู้ สังเกตและจดบันทึกพัฒนาการของลูกรวมถึงพูดคุยปรึกษาปัญหาพัฒนาการกับกุมารแพทย์เมื่อพาลูกมารับวัคซีนป้องกันโรคตามที่แพทย์นัด นอกจากนี้ยังเอาไว้ใช้สำหรับฝึกการช่วยเหลือตนเองของลูกไว้ด้วยครับว่าลูกควรจะทำอะไรได้เองบ้าง เมื่ออายุเท่าไร 4) เลี้ยงดูลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Parent bring up their own children […]

ท้องไม่พร้อม จัดการอย่างไร
ท้องไม่พร้อม (Unplanned Pregnancy) คือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนหรือเตรียมตัวมีบุตรมาก่อน ภาวะท้องไม่พร้อมถือเป็นปรากฏการณ์สำคัญที่ช่วยให้เข้าใจประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ จำนวนประชากรเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้น การไม่คุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ และการวางแผนครอบครัว สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะท้องไม่พร้อมคือการไม่คุมกำเนิดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ โดยฝ่ายชายและฝ่ายหญิงไม่ได้วางแผนจะมีบุตร รวมทั้งไม่หาวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีหลากหลายชนิด การคุมกำเนิดด้วยถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด หรือวิธีคุมกำเนิดอื่น ๆ สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 80-90 ส่วนการคุมกำเนิดถาวรอย่างการทำหมัน สามารถคุมกำเนิดได้มากกว่าร้อยละ 99 อย่างไรก็ตาม ผู้ที่คุมกำเนิดไม่ถูกวิธี เช่น ใช้ถุงยางอนามัยแล้วเกิดรั่ว หรือรับประทานยาคุมกำเนิดไม่สม่ำเสมอ ก็เสี่ยงท้องไม่พร้อมได้ ส่วนผู้ที่เคยประสบภาวะมีบุตรยาก ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรืออยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน ก็สามารถตั้งครรภ์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เช่น ถูกข่มขืน หรือคู่นอนบังคับให้ร่วมเพศโดยไม่สวมถุงยางอนามัย ก็สามารถประสบภาวะท้องไม่พร้อม ภาวะท้องไม่พร้อมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับแม่และเด็กหลายอย่าง เนื่องจากผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนเพื่อเตรียมตัวมีบุตรมาก่อน จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของตนเองและทารกในครรภ์ เช่น หากผู้ตั้งครรภ์ไม่ได้วางแผนมีบุตรแต่เกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ผู้ตั้งครรภ์อาจไม่สามารถรับมือหรือเตรียมตัวฝากครรภ์กับแพทย์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการฝากครรภ์ช้าอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพครรภ์และทารกได้ สัญญาณและวิธีตรวจว่าท้องหรือไม่ ผู้ที่ไม่ได้วางแผนมีบุตรสามารถทราบได้ว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสังเกตจากรอบเดือนที่ขาดไปหรือไม่มาตามปกติ ทั้งนี้ หากรู้สึกคัดเต้านม รวมทั้งคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยซึ่งเป็นอาการแพ้ท้อง ก็แสดงว่าอาจกำลังตั้งครรภ์ โดยอาการแพ้ท้องจะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตาม การตรวจครรภ์จะช่วยระบุผลการตั้งครรภ์ได้อย่างชัดเจน ผู้ที่สงสัยว่าตนเองประสบภาวะท้องไม่พร้อมสามารถตรวจการตั้งครรภ์ด้วยตนเองได้ […]

เข้าใจพัฒนาการลูก จากทารกสู่วัยรุ่น
การเลี้ยงลูก โดยเฉพาะกับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่เลี้ยงเด็กทารกเป็นครั้งแรก ถือเป็นประสบการณ์ที่สร้างความสุขและความท้าทายไปพร้อมๆกัน เด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันตั้งแต่เด็กทารกแรกเกิดไปจนถึงเด็กวัยรุ่น พัฒนาการของเด็กได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ดังนั้นการเลี้ยงเด็กในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะทำให้เด็กพัฒนาศักยภาพตามพันธุกรรมได้อย่างเต็มที่ เราสามารถแบ่งพัฒนาการของเด็กออกเป็น 6 ระยะด้วยกัน คือ เด็กแรกเกิด เด็กวัยทารก เด็กวัยเตาะแตะ เด็กวัยก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียนและเด็กวัยรุ่น เด็กแรกเกิด (Newborn)ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงหนึ่งเดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้ระหว่างคุณพ่อคุณแม่และลูก เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่างๆโดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม กำนิ้วมือหรือนิ้วเท้าเมื่อมีสิ่งของวางบนฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ในระยะนี้ เด็กสามารถเห็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ เช่น ใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่ จำกลิ่นบางอย่างได้ ยิ้มและร้องไห้เพื่อสื่อสารถึงความต้องการ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยใส่ใจว่าเสียงร้องของลูกหมายความว่าอย่างไร เพื่อตอบสนองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ควรสบตา มองหน้า พูดคุยกับลูกในเวลากลางวันเพื่อให้เด็กตื่นอย่างสดชื่นและช่วยพัฒนาทางด้านภาษาให้แก่เด็ก เด็กทารก (Infant)เด็กที่มีอายุระหว่าง 1-12 เดือนจะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ๆ เมื่อเด็กมีอายุ 3-6 เดือนเด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ นั่งศีรษะนิ่ง คอไม่อ่อนพับไปมา(sit with head steady) พลิกคว่ำหงายได้ จดจำใบหน้าของคุณพ่อคุณแม่และคนใกล้ชิดได้ เด็กเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6-9 […]

13 เคล็ดลับการดูแลทารกแรกเกิด
ความท้าทายมีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก วิธีให้อาหารเด็กอย่างเหมาะสม และตัวเลือกอื่นๆ อีกมากมายสำหรับผู้ปกครองในการเลี้ยงลูกให้ดีที่สุด … แนวทางพื้นฐานในการดูแลทารกแรกเกิดกุมารแพทย์บางคนเสนอ “การนัดพบก่อนคลอด” ซึ่งผู้ปกครองสามารถกำหนดแผนการคลอดและการดูแลโดยละเอียดภายใต้คำแนะนำของแพทย์ คำแนะนำทั่วไปบางส่วนมีดังนี้ ตามแนวทางปฏิบัติของสมาคมโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก โรคตับ และโภชนาการแห่งอเมริกาเหนือ (NASPGHAN) ปี 2018 สำหรับภาวะกรดไหลย้อนในเด็ก ขั้นตอนแรกในการลดความถี่ของการไหลย้อนในทารกแรกเกิดคือการหลีกเลี่ยงการให้อาหารมากไป (1)(2) วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการป้อนมากเกินไปคือการลดปริมาณการป้อนแต่ละครั้ง แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มความถี่ในการป้อน มิฉะนั้น ไม่มีทางที่ผิดในการเรอทารก อุ้มลูกน้อยของคุณนั่งบนตักหรือคุกเข่า ประคองหน้าอกและศีรษะของลูกน้อยด้วยมือเดียว ประคองคางของทารกไว้ในอุ้งมือ ใช้มืออีกข้างจับที่ข้อมือตามภาพด้านล่างเพื่อลูบหลังลูกน้อย ตำแหน่งมือเพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณเรอตามที่พ่อแม่หลายๆ คนรายงานว่า เมื่อทารกเรอ เขา/เธอมีโอกาสน้อยที่จะสำรอกหรือกรดไหลย้อน แต่ในความเป็นจริง การเรอบ่อยๆ นั้นเป็นไปได้มาก เพราะจะทำให้ทารกมีเวลามากขึ้นในการประมวลผลการดูดนม ในขณะเดียวกัน การเรอบ่อยจะทำลายปริมาณการให้อาหารแต่ละครั้ง ทำให้มีเวลาย่อยอาหารมากขึ้น เจ้าหน้าที่พยาบาลมักจะสอนวิธีการอาบน้ำฟองน้ำที่ถูกต้องให้กับทารกแรกเกิด การอาบน้ำฟองน้ำทารกครั้งแรกควรเกิดขึ้นที่หรือหลัง 24 ชั่วโมงของชีวิตทารก (ตามระเบียบการของ WHO) เพื่อป้องกันความเครียดจากความเย็น (3) โฆษณา เพื่อลดความเสี่ยงของ SIDS เพิ่มเติม แนวปฏิบัติของ American Academy of Pediatrics (AAP) […]

การดูแลทารกแรกเกิด
การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อน… การตั้งครรภ์เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับทุกคนในครอบครัว เพราะจะมีสมาชิกใหม่ตัวน้อยๆ เพิ่มขึ้นมาในบ้าน คุณแม่ที่กำลัง ตั้งครรภ์ นอกจากจะมีความรู้สึกตื่นเต้นกับวันคลอดที่ใกล้จะมาถึงแล้ว ยังมีความกังวลในเรื่องการดูแลลูกหลังคลอดด้วย โดยเฉพาะคุณแม่มือใหม่และคุณแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกคนเดียว การเตรียมตัวให้พร้อมก่อนถึงวันคลอดจะช่วยลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจในการเลี้ยงดูทารกแรกเกิดได้ ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ช่วงชีวิตนี้เป็นระยะที่มีความสำคัญ เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในครรภ์มารดาออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกครรภ์มารดา ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ โดยหลักแล้ว การดูแลทารกแรกเกิด มีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ สำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่ เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม […]