Category: การดูแลทารก

6 เดือน มหัศจรรย์ นมแม่ต้องห้ามพลาด
6 เดือน มหัศจรรย์ นมแม่ต้องห้ามพลาด สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกน้อยไปทั้งชีวิต “นมแม่” ถือเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีเยี่ยม ประหยัด และปลอดภัย ถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาวะ (Healthy food & nutrition) ที่สำคัญที่สุด การได้รับนมแม่และการเลี้ยงดูที่เหมาะสมอย่างมีคุณภาพ เป็นรากฐานที่จะพัฒนาให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง พัฒนาการสมวัย และส่งผลดี รอบด้าน แม้ว่านมแม่จะเป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญ แต่กลับพบว่า ประเทศไทยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วน 6 เดือนแรก ต่ำกว่ามาตรฐานโลกเกินครึ่ง พบว่าแม่ยังมีความรู้ไม่ถูกต้องในการให้นมทารกขาดระบบช่วยเหลือแม่หลังคลอด สสส.ผนึก มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ ลุย รณรงค์เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เข้มข้นด้วยสารอาหาร-สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งเป้าเพิ่มเด็กไทยได้รับนมแม่ล้วน 50% ภายในปี 68 […]

แนะวิธีป้องกันดูแลให้ปลอดภัย…เมื่อลูกโดนยุงกัด!
เรียกได้ว่ายุงกับเด็กน้อยเป็นของคู่กันเลยทีเดียว เพราะในเวลาที่กำลังเล่นสนุก เด็ก ๆ มักจะไม่รู้ตัวเมื่อถูกยุงกัด แถมยังไม่สามารถป้องกันตัวเองจากยุงได้อีกด้วย นอกจากนี้ ปัญหายุงกัดนั้นยังนำไปสู่อาการอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งการที่ลูกแพ้ยุง ไหนจะรอยดำที่ทิ้งไว้ให้เห็นเด่นชัด ไหนจะตุ่มที่บวมแดง ดังนั้นการดูแลเจ้าตัวน้อยจากยุงจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับคุณแม่ ขอแนะนำเคล็ดลับในการดูแลเมื่อลูกโดนยุงกัด มาดูกันว่าจะมีวิธีอย่างไรที่ช่วยให้ลูกน้อยห่างไกลจากยุง รวมถึงการดูแลเมื่อยุงกัดลูก ว่าจะใช้อะไรทาบรรเทาอาการได้บ้าง 1. เคล็ดลับป้องกันยุงในบ้าน ‘บ้าน’ นับเป็นสถานที่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเด็กต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากที่สุด และการที่มียุงอยู่ในบ้านก็สามารถทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่สร้างความหงุดหงิด รำคาญใจ และเสี่ยงต่อสุขภาพของคนในครอบครัว ทั้งการเป็นโรคระบาดอย่างไข้เลือดออก หรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมา โดยเฉพาะกับลูกน้อยที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ จึงต้องมีวิธีป้องกันยุงที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อปกป้องดูแลสมาชิกในบ้าน ไม่ให้ลูกโดนยุงกัด มาบอกต่อกัน ดังนี้ ปลูกพืชหรือต้นไม้ที่มีกลิ่นไล่ยุง สำหรับบ้านที่มีบริเวณสนามหญ้า หรือมีพื้นที่ว่างในบริเวณบ้าน วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีไล่ยุงแบบธรรมชาติ ที่ปลอดภัย ไม่ต้องใช้สารเคมี แถมสามารถนำพืชไปใช้ประกอบอาหารหรือทำประโยชน์ต่อไปได้อีกด้วย ซึ่งพืชที่ควรปลูก ได้แก่ ตะไคร้หอม สะระแหน่ โหระพา มะกรูด สำหรับบ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถใช้น้ำมันหอมระเหย หรือเทียนที่มีกลิ่นจากธรรมชาติมาทดแทนกันได้ ปิดบ้านให้มิดชิดป้องกันยุง โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่พลบค่ำเป็นต้นไป […]

โรคเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็ก (SUDDEN INFANT DEATH SYNDROME)
โรคเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (Sudden Infant Death Syndrome) ปัญหาการนอนหลับผิดปกติในเด็กทารกที่พบมากที่สุด คือ ภาวะการหยุดหายใจ โดยแนะนำให้สังเกตอาการโรคจากการหลับในทารกว่าทารกที่เป็นมักจะหายใจแผ่ว หากหายใจแผ่วบ่อยหรือหยุดหายใจ มีอาการตัวเขียว หายใจเสียงดัง ถือว่าเป็นอาการผิดปกติ ต้องนำทารกไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ วิธีการสังเกตทารก คือ หากหายใจเสียงดังทั้งขณะหลับ ขณะตื่น หรือขณะดื่มนม ทารกรายนี้อาจมีปัญหาการนอนหลับผิดปกติ และหากน้ำหนักของทารกไม่ขึ้นตามเกณฑ์ที่สมควร มีอาการดูดนมสำลักบ่อยหรืออาเจียน หรือในรายที่อาการรุนแรง อาจพบอาการตัวเขียว ริมฝีปากคล้ำ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที ปัจจัยเสี่ยงของโรคจากการหลับในทารก ได้แก่ เมื่อทารกที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคจากการหลับในทารก แพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยวัดออกซิเจนขณะเด็กนอนหลับ ถ้าผลออกซิเจนโดยรวมน้อยกว่ามาตรฐาน จะวินิจฉัยในขั้นตอนต่อไป ที่ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ซึ่งมีอุปกรณ์ในการช่วยวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ดูว่าสมองทำงานอย่างไร เกี่ยวข้องกับการหยุดหายใจหรือไม่ สาเหตุของการนอนไม่หลับมาจากอะไร และวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดคืออะไร พ่อแม่ควรฝึกให้ทารกนอนได้ด้วยตนเอง อาจจะนอนบนเปลหรือบนเตียง ทารกควรเรียนรู้ที่จะหลับด้วยตนเองและควรฝึกให้ทารกหลับเช่นนี้ตั้งแต่แรกคลอดให้ทารกสามารถหลับโดยไม่ต้องกล่อม อุ้มแนบตัว หรือทำกิจกรรมอื่นที่อาจขัดการนอนหลับ นอกจากนี้ ยังควรฝึกกิจวัตรการนอนและสิ่งแวดล้อมการนอนที่ดีให้แก่ทารก และลูกน้อย เช่น – ตั้งเวลาการนอนที่เป็นกิจวัตรให้ลูกนอนเป็นเวลา เพื่อให้เรียนรู้ว่าถึงเวลาเข้านอนแล้วและสามารถหลับตามเวลาที่เขาคุ้นเคยได้ […]

การดูแลทารกแรกเกิดหลังคลอด
3. หลังเกิด มีอาการอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ต้องสังเกต และอาจต้องพาลูกมาพบแพทย์ภาวะปกติที่พบได้บ่อย เช่น สะอึก บิดตัว หายใจครืดคราดคล้ายมีน้้ามูกในจมูก อาจไม่ต้องรักษาแต่คุณพ่อคุณแม่ช่วยได้โดย ใช้ลูกยางแดง ช่วยดูดน้้ามูกออก เนื่องจากทารกจะยังสั่งน้้ามูกไม่ได้ แต่หากมีอาการครืดคราดมาก หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่น หอบเหนื่อย เขียว ร่วมด้วย มักต้องพามาพบแพทย์ 4. นอกจากอาการดังกล่าวแล้ว มีภาวะตัวเหลือง ที่ต้องสังเกตร่วมด้วยใช่หรือไม่ใช่แล้วค่ะ ทารกหลังเกิด จะมีอาการตัวเหลืองได้ โดยมักพบในสัปดาห์แรกหลังเกิด การที่ผิวหนังมีสีเหลือง เกิดจากสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” คุณแม่จะสังเกตดูตัวเหลืองได้ โดยดูที่ตา และผิวหนังของลูก ถ้าระดับความเหลืองมากอาจจะเห็นว่าเหลืองทั้งตัว ทำไมเด็กแรกเกิดจึงตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดเม็ดเลือดแดงจะอายุสั้นกว่าเม็ดเลือดแดงของผู้ใหญ่ท้าให้มีการสร้างสาร“บิลิรูบิน”มากขึ้น ประกอบกับตับของเด็กแรกเกิดยังท้างานไม่เต็มที่ท้าให้ขับบิลิรูบินออกได้ไม่หมด(โดยเฉพาะในเด็กที่เกิดก่อนก้าหนดจะพบมีอาการตัวเหลืองได้มาก)

คำแนะนำสำหรับบิดา มารดา ในการดูแลทารกที่บ้าน
การทำความสะอาดร่างกายทารก ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง หลังจากทารกปัสสาวะ หรืออุจจาระ การให้นมและอาหารเสริมแก่ทารก ทารกควรได้รับเฉพาะนมมารดาจนถึงอายุ 6 เดือน หลังจากนั้นถึงจะให้รับประทานอาหารเสริมตามอายุของทารก อาการทั่วไปที่มักพบในเด็กทารก ขี้กลากน้ำนม คือลักษณะผิวหนังที่มีลักษณะเป็นผืนแดงและบางที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เริ่มเป็นที่แก้มทั้ง 2 ข้าง และกระจายไปทั่วใบหน้า การป้องกัน อาการสะอึก อาจพบภายหลังดูดนมเนื่องจากการทำงานของกระบังลม ยังไม่เป็นปกติหรือส่วนยอดของกระเพาะอาหารที่ขยายตัวจากน้ำนมและลมที่กลืนลงกระเพาะ สัมผัสกับกะบังลม หากทำการไล่ลมโดยจับทารกนั่ง หรืออุ้มพาดบ่าสัก 5-10 นาที ภายหลังทารกดูดนมจนอิ่มแล้งยังมีอาการสะอึก ถือว่าเกิดจากกระบังลมทำงานไม่ปกติซึ่งไม่ต้องทำการรักษาใดๆ อาการจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น การถ่ายอุจจาระบ่อย ทารกแรกเกิดที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียว เด็กอาจถ่ายอุจจาระกะปริดกะปรอยขณะดูดนมแม่ บิดตัวหรือผายลมก็จะมีอุจจาระเล็ดออกมาด้วย ทำให้เข้าใจผิดว่าท้องเดินบางครั้งทารกถ่าย 7-10 ครั้งต่อวัน อุจจาระมีสีเหลืองเข้มคล้ายสีทองมีกลิ่นเปรี้ยว สาเหตุจากนมแม่มีนมเหลือง Colostrum เจือปน ช่วยระบายท้อง กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นอาการปกติ […]

ทานอาหารให้เหมาะสมตามช่วงวัย สำหรับทารกแรกเกิด ถึง 1 ปี
การทานอาหารที่เหมาะสมในช่วงวัยแรกเกิด – 1 ปี สำหรับลูกน้อย มีส่วนสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตอย่างมาก หากได้รับอาหารไม่เหมาะสมอาจทำให้ลูกน้อยขาดธาตุเหล็ก น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้ง 4 ด้าน คือ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก สังคม และอารมณ์ การใส่ใจในเรื่องอาหารสำหรับเด็กช่วงวัยนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เน้นนมแม่…ตามคำแนะนำจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยทารกตั้งแต่แรกเกิด – 6 เดือน ควรให้กินนมแม่เป็นอาหารหลัก เพราะมีสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีความรัก ความผูกพัน ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในเด็กแรกเกิด ซึ่งจากผลวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าเด็กที่กินนมแม่จะมีไอคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินประมาณ 7 จุด เพราะการดูดนมแม่สามารถช่วยกระตุ้นสมองของลูกน้อยได้อย่างดี รู้หรือไม่? แม่ชอบกินอาหารซ้ำๆ ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงแพ้อาหาร ในช่วงที่คุณแม่กำลังให้นมลูก แพทย์แนะนำให้กินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นอาหารที่หลากหลาย และไม่จำเป็นต้องงดอาหารใดๆ เพราะการกินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ อาจทำให้ลูกแพ้อาหารชนิดนั้นไปด้วยยกเว้นอาหารที่มีความเสี่ยง เช่น ของหมัก/ดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ปริมาณพลังงานและโปรตีนที่ลูกน้อยควรได้รับ โดยปริมาณพลังงานและโปรตีนที่เหมาะสมนั้น จะขึ้นอยู่กับน้ำหนักและกิจกรรมของลูกน้อย ดังนี้… หลักโภชนาการสำหรับเด็กแต่ละช่วงวัย 6 เดือนแรก […]

เคล็ดลับพาลูกน้อยเที่ยว อย่างไรให้ปลอดภัย
โลกภายนอกเต็มไปด้วยทิวทัศน์ เสียง และสิ่งต่างๆ มากมายให้สัมผัสและสำรวจ การใช้เวลาข้างนอกกับลูกน้อยของคุณสามารถช่วยทั้งพัฒนาการของเขาโดยการทำให้ประสาทสัมผัสของเขาได้ทำงานและช่วยปลูกฝังความรักในธรรมชาติในระยะยาว คุณและลูกน้อยสามารถออกไปข้างนอกได้ทันที กุมารแพทย์หลายคนแนะนำให้เด็กแรกเกิดหลีกเลี่ยงสถานที่พลุกพล่านซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อโรค แต่ตราบใดที่คุณระมัดระวังเป็นอย่างดี การเดินเล่นข้างนอกนั้นเป็นสิ่งดีสำหรับทุกๆ คน โดยเฉพาะกับผู้ปกครองที่กำลังเหนื่อยล้า! เมื่อใดที่อากาศร้อน หนาว และชื้นเกินไปที่จะพาเด็กทารกออกไปข้างนอก? นี่เป็นวิธีการที่ดีที่สุดบางวิธีในการเตรียมตัวสำหรับอากาศหน้าร้อน อากาศชื้น หรืออากาศหนาว ลมและหิมะ ให้กับลูกน้อยของคุณ อากาศหน้าร้อน: ออกไปในเวลาเช้าหรือก่อนพลบค่ำเพื่อหลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่สูงที่สุดของวัน ให้ลูกน้อยของคุณสวมหมวกและใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้ายสีอ่อน หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรงและหาร่มเงา พกขวดสเปรย์น้ำสำหรับคลายร้อนได้อย่างรวดเร็ว แน่นอนว่าการเล่นน้ำในสระว่ายน้ำ ทะเลสาบ หรือลำธารกับลูกน้อยของคุณก็ทำให้สดชื่นได้เช่นกัน! อากาศชื้นหรืออากาศหนาว: แต่งตัวลูกน้อยของคุณด้วยผ้าบางหลายๆ ชั้น หมวกอุ่นๆ ถุงมือ และรองเท้าหรือถุงเท้าที่ป้องกันความเย็น เพื่อให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณจะไม่ร้อนจนเกินไป ทาบมือที่ผิวใต้เสื้อผ้าของเขาและถอดเสื้อบางชั้นหากจำเป็น หลักพื้นฐานสำหรับทารกที่โตขึ้นมาเล็กน้อยและเด็กเล็กคือการแต่งตัวให้พวกเขามากกว่าหนึ่งชั้นกว่าที่ผู้ใหญ่จะสวมใส่ในแบบเดียวกัน ลม: หากลูกน้อยของคุณดูไม่สบายตัว และคุณไม่สามารถกันเขาจากลมได้ พาเขากลับเข้าไปข้างใน หิมะ:เกล็ดหิมะคือเวทย์มนตร์ โดยเฉพาะสำหรับเด็กทารก สวมใส่ชุดกันหิมะให้กับลูกน้อย เพื่อที่เขาจะไม่ได้พลาดความสนุกสนาน คำใบ้: หาชุดกันหิมะที่ร้านมือสอง โอกาสคือชุดต่างๆ อาจถูกใช้ไปเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น ฉันจะป้องกันลูกของฉันจากแสงแดดได้อย่างไร? ดวงอาทิตย์เป็นเพื่อนของเรา ดวงอาทิตย์ทำให้พืชเติบโต ทำให้เราอบอุ่น และช่วยให้เรามองเห็นโลกรอบๆ ตัวเรา นี่เป็นเคล็ดลับบางประการในการช่วยป้องกันลูกน้อยของคุณจากแสงแดด: แต่ธรรมชาตินั้นช่าง…สกปรก! […]

ทำความเข้าใจการนอนของทารกและการกล่อมลูกให้หลับเร็ว
เด็กแรกเกิดจะนอนบ่อย แต่จะนอนครั้งละไม่นาน โชคดีที่ยังมีหลายวิธีที่จะช่วยให้ลูกน้อยวัยแรกเกิดของคุณนอนหลับเป็นเวลา โดยที่มีช่วงเวลาที่สงบเงียบอยู่ด้วยกันที่คุณจะสามารถสัมพันธ์ประสาทรับรู้ของเขา ซึ่งจะนำไปสู่การที่ลูกสามารถนอนหลับได้มากขึ้นและมีพัฒนาการทางสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ช่วงสัปดาห์แรกๆ ในชีวิตของลูกเป็นช่วงของการปรับตัว สำหรับทั้งลูก และตัวคุณเอง ยังเร็วเกินไปที่จะหวังให้การนอนของลูกมีรูปแบบที่แน่นอน เพราะฉะนั้น คุณต้องปรับตัวตามลูก ทารกแรกเกิดจะตื่นนอน – บ่อยมาก ในช่วง 2-3 เดือนแรก ลูกน้อยของคุณจะหลับๆ ตื่นๆ อยู่ตลอดวัน (และตลอดคืน) ทารกแรกเกิดจะนอนหลับรวมๆ กันแล้วหลายชั่วโมง (10-18 ชั่วโมงต่อวัน) และจะนอนเป็นช่วงเท่าๆ กันตลอด 24 ชั่วโมง โดยที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างการนอนกลางวัน และนอนกลางคืนนัก เด็กทารกอาจจะนอนยาวตั้งแต่ 2-5 ชั่วโมง อย่าลืมตอบสนองต่อลูกน้อยของคุณทุกเมื่อที่เขาส่งสัญญาณ เพราะเขาอาจต้องการดูดนม…และเปลี่ยนผ้าอ้อม ทำไมลูกน้อยของคุณถึงตื่นอยู่เรื่อยๆ ทารกแรกเกิดมักจะตื่นขึ้นมาเพราะหิวหรือต้องการให้เปลี่ยนผ้าอ้อม ควรใส่ใจการเปลี่ยนรูปแบบการนอนหลับของลูกน้อยอย่างกะทันหัน เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบอกอาการเจ็บป่วย หรืออยู้ในช่วงเติบโตเร็วเนื่องจากการหิวง่าย โรค SIDS (การเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน) เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ควรให้ลูกนอนหงายอยู่เสมอ อย่านอนคว่ำ ลูกน้อยของคุณควรนอนบนที่นอนแข็ง ไม่ใช่แบบฟูหรือนุ่มเบา อย่าให้มีตุ๊กตาสัตว์แบบมีขน หรือหมอนใกล้ๆ สอนให้รู้จักกลางวันและกลางคืน ช่วงที่ลูกน้อยของคุณนอนหลับในตอนกลางวัน เปิดให้มีแสงและเสียงดังในระบบปกติ […]

การดูแลทารกแรกเกิด 10 วิธี
การดูแลทารกแรกเกิด 10 วิธีดูแลลูกน้อยง่าย ๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เจ้าตัวน้อยใกล้คลอดเข้ามาทุกที สร้างความตื่นเต้นดีใจให้คุณพ่อคุณแม่ไม่น้อยเลย แต่ในความดีใจนั้นก็อาจแฝงความกังวลไว้ด้วย กังวลว่าจะดูแลลูกไม่ดี ไม่รู้ต้องเตรียมอะไรก่อนหลังบ้าง วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอนำวิธีเลี้ยงลูกฉบับ การดูแลทารกแรกเกิด มาฝากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่กันค่ะ 1. ให้กินนมแม่ อาหารดีที่สุดของลูก สำหรับลูกน้อยวัยทารกแล้ว อาหารที่ดีที่สุดของเขาคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารครบถ้วนและยังสร้างภูมิต้านทานโรคต่าง ๆ ให้ลูกแบบที่หาจากนมไหน ๆ ไม่ได้อีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน หลังจากนั้นกินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมอื่น ๆ จนถึงอายุ 2 ปี รับรองลูกน้อยสุขภาพแข็งแรง เติบโตสมวัยแน่นอนค่ะ2. ลูกต้องนอนหลับให้เพียงพอ ทารกแรกเกิด ถึง 6 เดือนแรก เป็นวัยแห่งการนอนหลับ ซึ่งการนอนที่เพียงพอจะส่งผลให้สมองและร่างกายมีพัฒนาการเต็มที่จึงควรให้ลูกวัยนี้นอนหลับวันละ 18-20 ชั่วโมง โดยปกติเขาจะนอนกลางวันมากกว่ากลางคืน ช่วงกลางคืนจะหลับ 3-4 ชั่วโมงแล้วตื่นมากินนม อิ่มแล้วก็นอนต่อ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะดูอิดโรยก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะฉะนั้นเวลาที่ลูกหลับคุณแม่ก็ควรหลับไปพร้อมกับลูกด้วย จะได้มีแรงดูแลลูกอย่างเต็มที่ค่ะ 3. ดูแลสะดือน้อย ๆ ให้สะอาดเสมอ […]

6 วิธีป้องกันการแท้งในไตรมาสแรก!!
6 วิธีป้องกันการแท้งในไตรมาสแรก เมื่อแม่ๆ เริ่มตั้งครรภ์ช่วงไตรมาสแรก(สัปดาห์ที่ 1-13) เป็นช่วงสำคัญที่สุดที่เจ้าตัวอ่อนน้อยๆกำลังฝังตัวและเจริญเติบโต ซึ่ง “การแท้งในไตรมาสแรก” ถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์) • สาเหตุของการแท้งมีหลายสาเหตุ อาจมาจาก (1) โครโมโซมตัวอ่อนผิดปกติตั้งแต่ต้น (2) แม่มีอายุมาก อายุ 35 ปีขึ้นไป (3) ผนังมดลูกบาง มดลูกเย็น เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไม่พอ มดลูกมีปัญหา เช่น เนื้องงอกมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก (4) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำ ไม่สามารถพยุงครรภ์ได้ (5) ภาวะทุพโภชนาการ ทานอาหารไม่เพรยงพอ ทานอาหารไม่มีประโยชน์ ขาดโปรตีน (6) สุขภาพ ความเจ็บป่วยของแม่ •วันนี้ครูก้อยมี 6 วิธีป้องกันการ […]

5 วิธีขจัดความเครียดแม่ท้องเพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์อารมณ์ดี
ความเครียดของแม่ท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความกลัวและความกังวลในช่วงตั้งครรภ์ ความไม่สบายตัว ความปวดเมื่อยร่างกาย อาการเจ็บป่วยต่างๆ ช่วงตั้งครรภ์ แรงกดดันจากคนรอบข้าง รวมถึงความเครียดจากการกลัวการคลอดด้วย ซึ่งความเครียดเหล่านี้ส่งผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์โดยตรง เพราะลูกในท้องจะสัมผัสอารมณ์ของแม่ได้และแสดงอาการออกมาหลายแบบ เช่น ถ้าแม่เครียดมาก นอนไม่หลับ ลูกในท้องก็อาจจะไม่ดิ้น ไม่ขยับตัวเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ไม่ดีเช่นกัน ดังนั้นหากแม่ท้องไม่มีความเครียดทารกในครรภ์ก็จะไม่เครียด รู้สึกผ่อนคลายสบายตัว เขาจะอยากขยับตัวเคลื่อนไหวเหมือนกำลังว่ายน้ำในท้องแม่อย่างสบายใจ ดังนั้นหากแม่ท้องมีความเครียดจะต้องรีบกำจัดด้วย 5 วิธีต่อไปนี้ค่ะ 2. หาคนคุยด้วยการอยู่คนเดียวอาจไม่ใช้ทางออกที่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์เสมอไป หากมีสิ่งที่อึดอัดหรือความกังวลเรื่องต่างๆ ลองหาคนพูดคุยด้วย อย่างเช่น สามี คนในครอบครัว เพื่อนๆ หรือแม้กระทั่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วยกัน วิธีนี้นอกจากจะได้ระบายสิ่งที่กังวล ยังแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอีกด้วย 3. นึกถึงลูกในครรภ์ความเครียดความกังวลทุกอย่างจะผ่อนคลายไปได้ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์นึกถึงความปลอดภัยและทำทุกอย่างเพื่ทารกในครรภ์ สังเกตได้ว่าเมื่อคุณแม่ได้ลูบท้อง ได้พูดคุยกับลูกในท้อง คุณแม่จะผ่อนคลายและนึกถึงทุกครั้งว่าเมื่อไหร่ที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อยเสียที 4. สร้างความสุขให้ตัวเองเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์เครียด บางทีการสร้างความสุขให้ตัวเองก็เป็นทางออกที่ดีนะคะ เช่น การเดินช้อปปิ้งบ้าง การออกไปทานข้าวนอกบ้านกับครอบครัว ซื้อของที่อยากได้มานานแสนนานเป็นรางวัลให้กับตัวเอง วิธีนี้ก็สามารถขจัดความเครียดได้เช่นกัน 5. ปล่อยวางการนั่งสมาธิปล่อยวางความเครียดเป็นสิ่งที่ดีมากต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เมื่อคุณแม่ฝึกนั่งสมาธิบ่อยๆ ลูกน้อยในครรภ์จะได้ความสงบและสบายใจซึ่งส่งผลถึงพัฒนาการที่ดีทั้งด้านสมองและจิตใจ เมื่อลูกลืมตาดูโลกจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงของลูกไปในทางที่ดีแน่นอนค่ะ

วิธีกระตุ้นลูกน้อยให้แข็งแรงและบำรุงสมองตั้งแต่ในครรภ์
มากระตุ้นลูกน้อยให้แข็งแรงและบำรุงสมองตั้งแต่ในครรภ์กันเถอะ เริ่มจากอะไร? สิ่งที่สำคัญที่จะให้ลูกน้อยเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งเรื่องการเรียน การทำงานการใช้ชีวิต ฯลฯ จะประกอบด้วยหลายๆปัจจัย ไม่ว่าเรื่องสภาพแวดล้อมที่ได้รับ หรือแม้แต่ อาหารการกินตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ที่คุณแม่ได้เลือกทาน ว่าอาหารเหล่านั้นมีคุณค่าของสารอาหารมากน้อยแค่ไหน …ทั้งนี้หลักการและวิธีปฏิบัติที่สำคัญที่คุณแม่ควรทำเพื่อกระตุ้นภาวะร่างกายและสมองของลูกน้อยคือ