Author: [email protected]

MDs’ LIFE | ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง
เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

ทัศนะของแพทย์ต่อการทำแท้ง
การที่จะตั้งคำถามแบบนี้ขึ้นมาได้นั้น อาจจะต้องมีคำถามนำมาก่อนหน้านี้ นั่นคือ กว่าจะสร้างแพทย์ได้สักหนึ่งคนนั้น คนคนนั้นจะต้องผ่านการปลูกฝัง อบรม และถูกเพาะบ่มมาจากที่ใดบ้าง ในบริบทพื้นฐานก็คงจะหนีไม่พ้นครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ที่ช่วยกันเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานคนนี้มา โดยที่ไม่รู้หรอกว่าเขาจะกลายมาเป็นหมอในอนาคตหรือไม่ การอบรมสั่งสอนก็เพื่อมุ่งเน้นให้ลูกเป็นคนดีของสังคม และการเป็นคนดีได้นั้น ครอบครัวก็คงได้รับการสืบต่อมาจากสังคม ศาสนาและวัฒนธรรมในชุมชนอีกต่อหนึ่ง แต่จะเห็นว่า สังคมก็ไม่ใช่ว่าจะได้เด็กดีเสมอไปจากการเลี้ยงดูของครอบครัว นั่นก็เพราะว่า เบ้าหลอมที่สำคัญอีกเบ้าหนึ่งก็คือ โรงเรียน คุณครูและเพื่อนพ้อง เราจะเริ่มสูญเสียคนดีไปในช่วงนี้ได้จำนวนหนึ่ง ใช่ไหมครับ สังคมล่ะครับ มีส่วนที่จะกำหนดความดีชั่วได้หรือไม่ คำตอบน่าจะตอบว่า “ใช่” ดังที่เราจะได้เห็นข่าว อ่านหน้าจั่วหัวอยู่แทบทุกวัน ว่าใครดีใครเลว ฝ่ายไหนดีฝ่ายไหนเลว หญิงคนไหนชั่วที่ทิ้งลูก สาวคนไหนเลวที่รีดมารหัวขนออกมาทิ้งในคูน้ำ นั่นจะเห็นการตัดสินความดีความเลวกันจะจะอยู่ทุกวัน ใช่ไหมครับ มาถึงเรื่องของแพทย์(เข้าเรื่องเสียที) เบ้าหลอมที่สำคัญกับการกำหนดตัวตนของหมอแต่ละคนนั้น ส่วนใหญ่จึงตกเป็นภาระของโรงเรียนแพทย์นั่นเอง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็เป็นเพราะว่า เขาเป็นผู้สอน ผู้อบรม ผู้กำหนดกรอบของหลักสูตรการเรียน การวางผังชีวิตทางด้านจริยธรรมทางการแพทย์และการประกอบวิชาชีพ ใช่ไหมครับ แล้วบังเอิญผู้ที่สอนนั้นเป็นครูในใจของลูกศิษย์ หมอคนนั้นก็จะจดจำไปว่า “การทำแท้งเป็นสิ่งผิดจริยธรรม” ถ้าโรงเรียนแพทย์แห่งใดเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์ได้คิดถึงที่มาที่ไปของการตั้งท้องที่ไม่พร้อมเปิดโอกาสให้ได้รับทราบว่า บางครั้งการยุติการตั้งครรภ์ […]

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยายุติการตั้งครรภ์
ยายุติการตั้งครรภ์ เป็นยาที่ใช้หยุดการเจริญเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์สำหรับผู้ที่มีปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยมีอายุครรภ์ไม่เกิน 9 -12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ที่ทำการรักษา โดยตัวยาจะเข้าขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิไม่สามารถฝั่งตัวในผนังมดลูกได้ ทำให้มดลูกเกิดการบีบตัวและขับเนื้อเยื่อออกจากมดลูก ยายุติการตั้งครรภ์ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกและได้รับขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ ไมโซพรอสทอล (Misoprostol) และไมเฟพริสโตน(Mifepristone) ซึ่งยาเหล่านี้เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์เท่านั้น การรับประทานยายุติตั้งครรภ์อาจทำให้มีผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้อาเจียนวิงเวียนศีรษะ ปวดหัว ท้องเสีย มีเลือดออกทางช่องคลอด สตรีในประเทศไทยสามารถยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกต้องภายใต้ประมวลกฎหมายอาญา 305 (1)(2) และมาตรา 276, 277, 282, 283 และ 284 ดังนี้ ประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 1 ว่าด้วย 1. การตั้งครรภ์ที่ครรภ์นั้นส่งผลต่อสุขภาพมารดา ทั้งทางร่างกายแและจิตใจ และ 2. กรณีที่ทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง ภายใต้ข้อบังคับแพทยสภา ระบุว่า ความรุนแรงนั้นส่งผลต่อสุขภาพจิตใจของมารดาประมวลกฎหมายอาญา 305 วรรค 2 ว่าด้วย การตั้งครรภ์นั้นเกิดจากความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอีก 5 มาตรา ดังนี้มาตรา 276 ว่าด้วยการถูกข่มขืนกระทำชำเรามาตรา 277 ว่าด้วยการทำให้เด็กอายุน้อยกว่า […]

“ภาวะแท้งคุกคาม” เรื่องใหญ่ที่เล็กลงได้ หากรักษาทันเวลา!
“ภาวะแท้งคุกคาม” หรือปัญหาการตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อ “การแท้งบุตร” เราสามารถลดความเสี่ยงนี้ได้ หากรู้เท่าทันอาการและรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา พร้อมทั้งอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอจนถึงวันคลอด เพียงเท่านี้ ภาวะแท้งคุกคาม ก็จะไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวสำหรับ “คุณแม่ตั้งครรภ์” อีกต่อไป ภาวะแท้งคุกคาม…คืออะไร? อาการภาวะแท้งคุกคาม คือการมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด แต่ก็มีคุณแม่ตั้งครรภ์จำนวนมากที่สามารถดูแลครรภ์ได้ดีจนอายุครรภ์ครบตามกำหนดคลอด โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในการดูแลของแพทย์ หากมีอาการเหล่านี้..ควรรีบไปพบแพทย์ การมีเลือดออก ถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่หากมีเลือดออกมากขึ้นเรื่อยๆ จนไหลลงมายังขาและมีสีแดงสด รวมไปถึงมีอาการปวดท้องน้อย ปวดบีบเป็นระยะๆ หรือมีอาการปวดหลังและเป็นตะคริวร่วมด้วย อาการเบื้องต้นเหล่านี้คือสัญญาณเตือนว่า คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร คุณแม่ตั้งครรภ์กลุ่มไหน…เสี่ยงต่อภาวะแท้งคุกคาม แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดภาวะแท้งคุกคามจะยังไม่มีการระบุไว้แน่ชัด แต่ก็มีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในระหว่างตั้งครรภ์ การบาดเจ็บบริเวณช่องท้อง การที่คุณแม่มีอายุมากหรือเกิน 35 ปี มีการใช้ สัมผัสกับยา หรือสารเคมีบางชนิด คุณแม่มีน้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน หรือโรคเบาหวาน การดูแลครรภ์ให้มีสุขภาพแข็งแรง เพราะการป้องกันภาวะแท้งคุกคามอาจจะทำได้ยาก แต่พฤติกรรมบางอย่างเหล่านี้ ก็ช่วยให้ครรภ์มีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรงได้ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง และการให้กำเนิดลูกน้อยที่สมบูรณ์ การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในช่วงตั้งครรภ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ! ทั้งนี้ การพูดคุยกับแพทย์ยังช่วยลดระดับความเครียด ลดความวิตกกังวลของคุณแม่ตั้งครรภ์ […]

ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’
ควรใช้คำอย่างไรกัน? เมื่อพูดถึงการ ‘ทำแท้ง’ สรุปพอดแคสต์จาก “กลุ่มทำทาง” ว่าด้วยเรื่อง ‘ภาษา’ ที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมวิธีคิดต่อการทำแท้งในสังคมไทย “ภาษาที่ใช้มันก็สื่อถึงทัศนคติที่มันฝังอยู่ในค่านิยม ในสังคม [ไทย]” นี่เป็นประโยคหนึ่งในพอดแคสต์ของกิจกรรมการพูดคุยในหัวข้อเรื่อง “ ‘การใช้คำ’ เรื่องทำแท้ง” ใน ‘Twitter Space’ เมื่อวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน เพื่อแสดงให้เห็นว่าภาษานั้นก็เป็นเรื่องที่พวกเราควรสนใจเช่นกันเมื่อพูดถึงเรื่องการทำแท้ง ซึ่งผู้ร่วมพูดคุยในพอดแคสต์นี้คือคุณนุ่ม สุไลพร ชลวิไลและคุณชมพู่ สุพีชา เบาทิพย์ จาก คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง กลุ่มที่เคลื่อนไหวเกี่ยวกับการผลักดันกฎหมาย ให้คำปรึกษา และสร้างความรู้เข้าใจเกี่ยวกับการทำแท้งปลอดภัย และคุณเม คุณมี่ คุณหยา จากแอดมิน The Pillow Talks โดยวันนี้เราจะมาสรุปประเด็นต่าง ๆ บางส่วนที่น่าสนใจจากพอดแคสต์นี้ให้อ่านกัน การใช้คำสำคัญอย่างไร? – เพราะภาษาที่ใช้ในการทำแท้งแสดงถึงทัศนคติและค่านิยมที่ฝังลึกในสังคมไทย บางครั้งเวลาเราใช้คำต่าง ๆ พวกนี้ พวกเราไม่ได้ตระหนักถึงความหมายโดยนัยของคำที่ใช้ ซึ่งคำส่วนใหญ่ที่ใช้มันไม่ได้เป็นกลางทางความหมาย แล้วพอใช้กันต่อไปเรื่อย ๆ จึงเกิดความหมายแฝงที่อาจจะกดทับหรือประณามผู้ตั้งครรภ์โดยที่พวกเราไม่รู้ตัว การพาดหัวข่าวของสื่อที่ตีตราผู้ตั้งครรภ์ – […]

แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่
สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” สรุปสาระสำคัญจากเสวนาวิชาการ เรื่อง “แนวทางการใช้การตีความกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ใหม่” ซึ่งจัดโดยศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00-16.00 น. ทาง Facebook Page : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยากร ดำเนินรายการโดย ผู้สรุปสาระสำคัญและเรียบเรียง ศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล : กล่าวว่า สำหรับกฎหมายเรื่องการทำแท้งที่ออกมาใหม่ ตนมองว่าการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ตอบโจทย์สภาพเศรษฐกิจ วัฒนธรรม สังคมทั้งหมด ตลอดจนเฉพาะความคิดต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยศ.ดร. สุรศักดิ์นำเสนอประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ ประเด็นแรก เหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นในการแก้ไขกฎหมาย คือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะเรารู้จักทารกในครรภ์มารดาตั้งแต่แรกเกิด รู้พัฒนาการในทุกช่วงของทารกตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 4 สำหรับประเด็นปัญหาแต่เดิมที่มีการถกเถียงกัน คือกฎหมายไทยอนุญาตให้ทำแท้งเพียง 2 กรณี ได้แก่ กรณีสุขภาพของมารดา และกรณีมารดาถูกกระทำความผิดทางอาญาแล้วตั้งครรภ์ แต่สำหรับกรณีทารกผิดปกติ ก็เคยเป็นประเด็นในการสู้คดี ซึ่งกฎหมายไม่อนุญาตให้ทำแท้ง ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา มีการพยายามแก้ไขโดยเพิ่มเหตุการณ์เรื่องสุขภาพของทารก […]

อันตราย! เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร?
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ หนึ่งในภาวะครรภ์เสี่ยง ที่เกิดจากฮอร์โมนของรกหรือสารเคมีที่ไปยับยั้งการทำงานของอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด มักมีความสี่ยงในผู้ที่ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน เคยคลอดลูกที่มีน้ำหนักเกิน 4,000 กรัม มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน คุณแม่ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ หากไม่ควบคุมอาจทำให้เกิดการช็อกได้ และอาจส่งผลให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตได้ อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ คุณเสี่ยงเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือไม่? อาการเตือนเสี่ยงโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ อันตรายทั้งต่อคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่เกิดเป็นโรคเบาหวานในระหว่างที่ตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเสี่ยงสูญเสียทารกในครรภ์ และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น ควรฝากครรภ์ทันทีเพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัย ป้องกันความเสี่ยง พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ ควบคุมการรับประทานอาหาร การบริโภคน้ำตาล และของหวานอย่างเคร่งครัด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการมีบุตรก่อน และควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน
“ทำแท้ง” ถูกกฎหมาย “สิทธิ – เสรีภาพ” ขั้นพื้นฐาน เด็กเกิดใหม่ ต้องมีคุณภาพ ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – นับเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของสังคมไทยในรอบ 60 ปี เกี่ยวกับการ “ทำแท้งถูกกฎหมาย” หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำสู่การปรับแก้ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่ 28 พ.ศ. 2564 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมความผิดฐานทำแท้งที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2499 เอื้อประโยชน์การทำแท้งได้อย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย ล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกประกาศตั้งครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ รองรับมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายแก้ไขให้เปิดกว้างเพียงใด การทำแท้งยังเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมไทย ทั้งในเรื่องสิทธิเสรีภาพ ศีลธรรม จรรยาบรรณ ฯลฯ สำหรับสาระของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา […]

ลูกกิน ’นมแม่’ พร้อมด้วย ’อาหารตามวัย’
การเตรียมตัวเองและคนรอบข้างให้พร้อม รวมทั้งความตั้งใจที่เข้มแข็ง และเชื่อมั่นว่าร่างกายคุณแม่ถูกสร้างมาเพื่อภารกิจ การเลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์จะดีที่สุด เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นาน 6 เดือน & กินนมแม่พร้อมอาหารตามวัยจนถึง 2 ขวบ หรือ นานกว่านั้น จัดการชีวิตตนเอง & ครอบครัว 1. ปรึกษาและสร้างความเข้าใจกับสามี ญาติพี่น้อง และเพื่อนร่วมงานให้เข้าใจ และขอแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง 2. ณ จุดนี้ คุณพ่อจะเป็นกำลังสำคัญ ทั้งแรงกาย และกำลังใจ ยืนหยัดเคียงคู่คุณแม่ตลอดระยะก่อนและหลังคลอด ชักชวนคุณพ่อให้ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปพร้อมกับคุณแม่ เพื่อให้คุณพ่อเตรียมตัว อาทิ การเข้าไปในห้องคลอดพร้อมกับคุณแม่ในช่วงคลอด การดูแลคุณแม่ระยะหลังคลอด การช่วยให้นมลูกด้วยการป้อนด้วยภาชนะเมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน 3. วางแผนจัดการเรื่องงานบ้าน และเรื่องราวต่างๆ ไว้ล่วงหน้า และต้องหาคนช่วยแบ่งเบาภาระงานบ้าน โดยเฉพาช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด การฝากครรภ์ […]

MDs’ LIFE ความเข้าใจที่ผู้ชายยุคใหม่ควรมีต่อเรื่อง การทำแท้ง
เมื่อเกิดเหตุการณ์การตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์หรือท้องแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ชายควรทำอย่างไร? นี่น่าจะเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ถ้าเกิดขึ้นก็นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ของหลาย ๆ คน เพราะไม่ใช่เรื่องที่สามารถตัดสินใจได้คนเดียว เราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย รวมถึงตกลงกับฝ่ายหญิงให้ลงตัวที่สุดก่อนตัดสินใจทำอะไรต่อ ไม่ว่าจะเป็นตัดสินใจแต่งงาน รับเป็นพ่อของลูก เลี้ยงดูบุตรร่วมกันหรือกระทั่งทำแท้งก็ตาม วันนี้อยากให้ทุกคนได้ลองทำความเข้าใจต่อเรื่อง การทำแท้ง ให้ตรงกับมุมมองของผู้หญิงให้มากขึ้น อย่ามีข้อแม้ในการเริ่มต้นด้วย Safe Sex หากไม่อยากให้ชีวิตดำเนินไปถึงจุดที่คนอื่นถามว่า “ทำไมพลาด” ผู้ชายยุคใหม่ควรเริ่มต้นด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบ Safe Sex และใส่ Condom ตั้งแต่แรกเลย จริงอยู่ว่าวิธีการคุมกำเนิดมีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีชั่วคราวอย่างการใส่ถุงยางอนามัย การนับวัน การกิน ฝังหรือฉีดยาคุมกำเนิด ไปจนถึงคุมกำเนิดแบบถาวรโดยการทำหมัน หากไม่ต้องการมีบุตรแล้ว ซึ่งวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่ฝ่ายชายสามารถรับผิดชอบได้ คือ การใส่ถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่โอเคกับทั้งสองฝ่ายมากกว่าผลักให้ฝ่ายหญิงกินยาคุมอยู่คนเดียว ยาคุมควรเป็นทางเลือกรอง เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่พร้อมจะกินยาคุม เนื่องจากยาคุมก็มีเอฟเฟคกับร่างกายของบางคนได้ การใส่ถุงยางอนามัยขณะมีอะไรกันก็ถือเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรับผิดชอบต่ออีกฝ่ายเช่นกัน คำว่าผู้ชายต้องรับผิดชอบ ไม่เท่ากับแต่งงานเสมอไป หากเกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมา หนึ่งข้อที่ต้องหยิบมาประเมินในการตัดสินใจว่าจะเก็บบุตรไว้หรือให้ฝ่ายหญิงไปทำแท้ง คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับฝ่ายหญิง หากเป็นคนที่คบหากันอยู่หรือมีแพลนจะแต่งงานในอนาคตอยู่แล้ว โอกาสในการทำแท้งอาจไม่สูงเท่าเกิดกับฝ่ายหญิงที่ไม่ได้มีความสัมพันธ์ในระดับที่จริงจังต่อกันครับ แต่ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะอยู่ในสถานะใดกับเรา สิ่งที่ต้องทำ คือ Take responsibility ในส่วนที่ตัวเองสามารถทำได้ให้มากที่สุด อย่าผลักภาระและการตัดสินทั้งหมดไปให้เธอ แต่ผู้ชายต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การต้องรับผิดชอบเมื่อผู้หญิงท้องไม่ได้เท่ากับต้องแต่งงานเสมอไป เพราะไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่มีทัศนะว่า […]

ทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีความผิด มีเหตุผลอะไรบ้าง เช็กกฎหมายยุติการตั้งครรภ์
การทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ นับเป็นประเด็นที่ผู้คนต่างพากันจับตามองและให้ความสนใจ เนื่องจากมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการประกาศ เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 ประกาศฉบับนี้ได้กำหนดให้หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ถือเป็นความผิดทางอาญา แต่หญิงนั้น ต้องได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ ซึ่งทางสำนักงานกิจการยุติธรรม เองก็ได้ออกมาเปิดเผยข้อกฎหมายแบบละเอียดสำหรับหญิงที่จำเป็นต้องการทำแท้ง หรือการยุติการตั้งครรภ์ สำหรับ 5 เหตุผลทำแท้งตามกฎหมาย ไม่มีความผิด ถ้าทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหญิงยินยอมดำเนินการตามข้อบังคับแพทย์สภา 1. มีครรภ์ต่อไปแล้วจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกาย/จิตใจ2. มีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ3. มีความเสี่ยงมาก/มีเหตุผลทางการแพทย์ที่เชื่อได้ว่าถ้าคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง4. อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ และหญิงยืนยันทำแท้ง5. อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขประกาศกำหนดฯและหญิงยืนยันทำแท้ง ทั้งนี้ หากหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน […]

“ทำแท้งปลอดภัย” แอกใหญ่ของผู้หญิงที่ยังไม่ถูกปลด
สถานพยาบาลไฟสลัวในตึกแถวเก่า ๆ ย่านชานเมือง อบอวลไปด้วยด้วยกลิ่นเหม็นสาบและคราบสกปรก มีเสียงร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดของหญิงสาวดังกึกก้องจากห้องตรวจ สร้างความหวาดหวั่นให้กับหญิงสาวคนอื่นที่นั่งรออยู่ด้านนอก นี่คือภาพจำของ “การทำแท้ง” ที่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักของสังคมไทย บวกกับทัศนคติและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งที่ไหลเวียนอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง “ผีเด็ก” ที่ติดตามผู้หญิงที่เคยทำแท้ง หรือความเชื่อที่ว่าผู้หญิงที่เคยทำแท้ง “ทำอะไรก็ไม่เจริญ” เพราะบาปกรรมจากการฆ่าลูก รวมทั้งกฎหมายที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้ง ทำให้ทุกครั้งที่พูดถึงการทำแท้ง คนทั่วไปมักคิดถึงภาพความน่ากลัวและการกระทำที่ไร้ศีลธรรมเสมอ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ห้ามการทำแท้งในทุกกรณี แต่ประเด็นการทำแท้งก็จุดกระแสการถกเถียงในสังคมได้เสมอ ขณะที่ฝ่ายหนึ่งไม่ต้องการให้แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง และยกเรื่องศีลธรรมขึ้นมาอ้าง อีกฝ่ายก็มองไปถึงเรื่องของความจำเป็นในชีวิตและสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง อีกทั้งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะทำให้ผู้หญิงมีทางเลือกที่ดีต่อทั้งตัวเองและสังคม ที่จริงแล้ว กฎหมายทำแท้งและทัศนคติของคนต่อเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ และจะทำได้อย่างไร Sanook คุยกับ “กลุ่มทำทาง” กลุ่มอาสาสมัครที่ทำงานให้คำปรึกษาผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม และทำงานขับเคลื่อนเรื่องการทำแท้งปลอดภัยมานานกว่า 10 ปี เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ “กลุ่มทำทาง” เพื่อ “สิทธิการทำแท้ง” ของผู้หญิง ย้อนกลับไปในปี 2553 ข่าวการพบซากทารกมากกว่า 2,000 ศพ ในบริเวณวัดไผ่เงินโชตนาราม กรุงเทพฯ เป็นข่าวดังที่ทั้งสะเทือนใจคนไทยและส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อระดับศีลธรรมของคนในสังคม ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ “กลุ่มทำทาง” ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมและต้องการเข้าถึงบริการทำแท้งที่ปลอดภัย แม้จะก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาต้องต่อสู้กับแรงเสียดทานของสังคมต่อเรื่องการทำแท้งที่รุนแรง […]